Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78951
Title: ผลของการใช้สารยับยั้งเอนไซม์ Histone deacetylase และ Histone methyltransferase ร่วมกัน ต่อเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากดวงตาจากผู้ป่วยโรค ตาโปนจากไทรอยด์
Other Titles: Combined inhibition of Histone deacetylase and Histone methyltransferase inhibitor in orbital fibroblast from Graves’ ophthalmopathy patients
Authors: วิสุทธิยา เปลา
Advisors: ศิตา วีรกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ตาโปน
เซลล์สร้างเส้นใย
สารยับยั้งเอนไซม์
Exophthalmos
Fibroblasts
Enzyme inhibitors
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: Graves’ ophthalmopathy (GO) หรือโรคตาโปนจากไทรอยด์ เป็นโรคภูมิคุ้มกันต่อต้านเนื้อเยื่อตนเองซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดอาการตาโปน เซลล์ที่มีบทบาทสำคัญในการเกิดโรคคือเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากดวงตา การรักษาในปัจจุบันใช้ยา steroid และการผ่าตัดเป็นหลัก ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงและไม่จำเพาะต่อโรค โดยจากการศึกษาพบว่ากระบวนการ Epigenetics ชนิด Histone modification มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรค GO ในงานวิจัยนี้จึงศึกษาการใช้กระบวนการ Histone modification เป็นเป้าหมายใหม่ในการรักษาโรค โดยศึกษาเอนไซม์ Histone deacetylase (HDAC) และเอนไซม์ Histone methyltransferase (HMT) จากผลการทดลองในงานวิจัยก่อนหน้าแสดงให้เห็นว่าเมื่อกระตุ้นเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากดวงตาด้วย PDGF-BB จะมีระดับการแสดงออกของ mRNA ยีน HDAC ชนิด HDAC4 และยีน HMT ชนิด Enhancer of zeste homolog 2 (EZH2) และ Protein arginine methyltransferase 5 (PRMT5) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ในงานวิจัยนี้จึงสนใจศึกษาผลของการใช้สารยับยั้งเอนไซม์ HDAC และ HMT ร่วมกัน ต่อการทำงานของเซลล์ไฟโบรบลาสต์ (fibroblast activity) ได้แก่ การเพิ่มจำนวนของเซลล์ การสร้าง cytokine ชนิด IL-6 และ hyaluronan ในเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากดวงตาของผู้ป่วยโรคตาโปนจากไทรอยด์ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการใช้สารยับยั้ง Tasquinimod และ DZNeP ร่วมกันไม่เป็นพิษต่อเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากดวงตา เมื่อเปรียบเทียบสภาวะที่ถูกกระตุ้นโดย PDGF-BB กับสภาวะที่กระตุ้นด้วย PDGF-BB ร่วมกับการใช้สารยับยั้งทั้งสองชนิดร่วมกันพบว่า มีแนวโน้มลดการแบ่งตัวของเซลล์ (P=0.0540) แต่ไม่ลดการผลิต IL-6 (P=0.6768) และ hyaluronan (P=0.9164) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่เมื่อเปรียบเทียบสภาวะที่ถูกกระตุ้นโดย PDGF-BB กับสภาวะที่กระตุ้นด้วย PDGF-BB ร่วมกับการใช้สารยับยั้ง Tasquinimod และ GSK591 ร่วมกัน พบว่าไม่มีความแตกต่างของระดับ IL-6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.1668) อย่างไรก็ตามจากผลการทดลองทั้งหมดในการใช้สารยับยั้งเอนไซม์ HDAC และ HMT ร่วมกัน แสดงให้เห็นว่าการลดระดับการทำงานของเซลล์ไฟโบรบลาสต์ในดวงตาไม่แตกต่างกับการใช้สารยับยั้ง Tasquinimod DZNeP หรือ GSK591 เพียงอย่างเดียว ดังนั้นการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้สารยับยั้งเหล่านี้ หรือการใช้การยับยั้ง HDAC และ HMT ชนิดอื่นร่วมกัน อาจนำไปสู่การพัฒนาแนวทางการรักษาโรค GO ที่มีประสิทธิภาพต่อไป
Other Abstract: Graves' ophthalmopathy (GO) is an immune disease targeting self-tissue, which is the cause of proptosis. The cells that play an important role in the disease are orbital fibroblasts. Current treatments for this disease are steroid drugs and surgery, which may cause side effects and not specific. Previous studies showed that histone modification, an epigenetic process, plays an important role in GO. In this research, Histone deacetylase (HDAC) and Histone methyltransferase (HMT), important enzymes in histone modification are used as new targets for the GO treatment. Previous research showed that the expression level of HDAC4, Enhancer of zeste homolog 2 (EZH2) and Protein arginine methyltransferase 5 (PRMT5) mRNA in orbital fibroblast increased significantly after stimulated with PDGF-BB (P<0.05). This research focused on the effects of the combination of HDAC and HMT inhibitors on fibroblast activities including orbital fibroblast proliferation, production of IL-6 and hyaluronan in the orbital fibroblasts from GO patients. The results showed that the combination of Tasquinimod and DZNeP inhibitors showed no toxicity to orbital fibroblasts. When comparing the conditions of PDGF-BB with PDGF-BB in the presence of both inhibitors, there was a trend of reduction in cell proliferation (P=0.0540) but not on IL-6 (P=0.6768) and hyaluronan (P=0.9164). When compared the conditions stimulated by PDGF-BB with PDGF-BB in the presence of Tasquinimod and GSK591 inhibitors showed no significant difference in IL-6 levels (P=0.1668). However, all results showed that there is no difference in the reduction of fibroblast activities from the combination of HDAC and HMT inhibitors when comparing with use of Tasquinimod, DZNeP or GSK591. Further study using combination of these inhibitors or other HDAC and HMT inhibitors may lead to the novel effective treatment for GO.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78951
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-MICRO-034 - Wisuttiya Peala.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.