Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79123
Title: ทุนทางสังคมกับการดำเนินธุรกิจร้านอาหารในช่วงภัยพิบัติ  กรณีศึกษา ร้านอาหารหาบเร่แผงลอยในย่านเยาวราชในช่วงการระบาดของโรค COVID-19  
Other Titles: Social capital and restaurant business continuity during disaster: a case study of street food vendors in Yaowarat district during the COVID-19 pandemic
Authors: พรพิมล โสรีกุล
Advisors: สุธี อนันต์สุขสมศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Subjects: แผงลอย -- ไทย -- เยาวราช (กรุงเทพฯ)
หาบเร่
ทุนทางสังคม
ร้านอาหาร -- การจัดการธุรกิจ
ร้านอาหาร -- ไทย -- เยาวราช (กรุงเทพฯ)
Vending stands -- Thailand -- Yaowarat (Bangkok)
Social capital (Sociology)
Restaurants -- Business management
Restaurants -- Thailand -- Yaowarat (Bangkok)
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินธุรกิจและรูปแบบห่วงโซ่อุปทานของโครงข่ายกิจกรรมของร้านอาหารหาบเร่ แผงลอยในเมืองในช่วงเกิดภัยพิบัติโรคระบาด วิเคราะห์บทบาททุนทางสังคมในการดำเนินธุรกิจในช่วงภัยพิบัติโรคระบาดในเมือง และเสนอแนะแนวทางในการดำเนินธุรกิจร้านอาหารหาบเร่แผงลอยในช่วงภัยพิบัติโรคระบาดในเมือง โดยใช้พื้นที่ย่านเยาวราชเป็นพื้นที่ศึกษา ข้อมูลหลักของงานวิจัยเป็นข้อมูลปฐมภูมิจากแบบสอบถามจากผู้ค้าหาบเร่แผงลอยในพื้นที่บริเวณถนนเยาวราชช่วงเย็นจำนวน 58 ร้าน ระเบียบวิธีวิจัยหลักของงานวิจัยนี้คือการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การประเมินระดับทุนทางสังคมและการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมของผู้ประกอบการร้านอาหารหาบเร่แผงลอยในเยาวราช การศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการร้านอาหารหาบเร่ แผงลอยในพื้นที่เยาวราชช่วงการระบาดของโรค COVID-19 ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขลักษณะของร้านค้าตามมาตรการของภาครัฐที่กำหนดไว้ และการปรับการดำเนินธุรกิจโดยลดจำนวนวัตถุดิบลงเพื่อให้สอดคล้องต่อระยะเวลาขายและจำนวนผู้บริโภคที่น้อยลง ส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจในเยาวราช นอกจากนั้น ผลการวิเคราะห์รูปแบบการใช้พื้นที่แสดงให้เห็นว่า การปรับเวลาในการดำเนินธุรกิจส่งผลกระทบอย่างมากในกระบวนการตั้งร้าน ปิดร้าน และเก็บของ ผลการประเมินทุนทางสังคมของร้านค้าในพื้นที่เยาวราชพบว่า ถึงแม้ว่าผู้ประกอบการร้านอาหารหาบเร่แผงลอยมีระดับทุนทางสังคมปานกลาง ธุรกิจร้านค้าหาบเร่ แผงลอยในเยาวราชมีความเข้มแข็งพอที่จะสามารถผ่านวิกฤติไปได้ เนื่องจากมีระดับมิติบรรทัดฐานที่สูง รวมถึงความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งระหว่างสมาชิกในร้านค้าเอง ร้านค้าใกล้เคียง และภาครัฐ (สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์) ผ่านเครือข่ายทางสังคมของกลุ่มร้านค้าแบบพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นหลัก ส่งผลให้เกิดการเพิ่มความเข็มแข็งของทุนทางสังคมในเยาวราชได้ นอกจากนี้ผู้วิจัยเสนอแนะว่า แนวคิดทุนทางสังคมยังสามารถนำมาใช้ร่วมกับหลักการของการจัดการการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ (area-based business continuity management) และหลักการมีส่วนร่วมที่สามารถสร้างความร่วมมือและความเข้าใจระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ตามบริบทของพื้นที่ ทำให้การแก้ปัญหาในพื้นที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เกิดภัยพิบัติ
Other Abstract: This research has objectives to examine business operations and supply chains of the activities of street food vendors in an urban area during a pandemic, to analyze the role of social capital in business operations during a pandemic, and to recommend guideline for street food vendor on business operations during an urban pandemic by using Yaowarat district as a case study. The primary data of this study are primary data from questionaries of 58 street food vendors operating their business in the evening in the Yaowarat district. The principal research methodologies in this research are descriptive statistical analysis, social capital assessment, and social network analysis of street food vendors. The study finds that the street food vendors in the Yaowarat area during the COVID-19 pandemic give priority to governmental measures on public safety of a restaurant and change their business operations by reducing the number of raw materials according to shorter business hours and lower numbers of customers affecting the supply chains of businesses in Yaowarat. In addition, the analysis of spatial use pattern shows that the change in business hours significantly affect the setting, closing, and storing processes of a food stall. The results of the social capital assessment of the Yawarat district show that even though the street food vendors have a medium level of social capital, the street food vendor business can continue their business during the crisis because of their high level of norms and strong relationships among members within a food stall, nearby stalls, and government (Samphanthawong District Office) via social network of friendship contributing to strengthening social capital of Yaowarat.  In addition, the author suggests that the concept of social capital can combine with the concept of area-based business continuity management to create more participation and understanding among stakeholders and the context of the area making problem-solving in the area more efficient, especially during disasters.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังและออกแบบเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79123
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.617
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.617
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270020525.pdf9.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.