Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7929
Title: ผลของสารลดแรงตึงผิวต่อการย่อยสลายทางชีวภาพ ของพอลิไซคลิกแอโรแมติกไฮโดรคาร์บอนในดิน
Other Titles: Effect of surfactants on biodegradation of polycyclic aromatic hydrocarbons in soil
Authors: รุจา สารคุณ
Advisors: สุเทพ ธนียวัน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: fscisth@chulkn.car.chula.ac.th
Subjects: สารลดแรงตึงผิว
การย่อยสลายทางชีวภาพ
โพลิไซคลิกอะโรมาติคไฮโดรคาร์บอน
ดิน
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของสารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์ (Brij 35 และ SDS) สารลดแรงตึงผิวชีวภาพ (แรมโนลิปิดที่ผลิตโดย Pseudomonas aeruginosa สายพันธุ์ A41 และเซอร์แฟคติน ที่ผลิตโดย Bacillus subtilis สายพันธุ์ BBK1) และแบคทีเรียที่สามารถสร้างสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ (P. aeruginosa สายพันธุ์ A41 และ B. subtilis สายพันธุ์ BBK1) ต่อการย่อยสลายฟลูออรีน ฟีแนนทรีน และไพรีน โดยกลุ่มแบคทีเรีย STK ในระบบสเลอรีที่มีอัตราส่วนดินต่อน้ำ 1:8 (กรัม/มล.) พบว่าการเติม Brij 35 ที่มีความเข้มข้น 15 เท่า ของค่า Apparent Critical Micelle Comcentration (ACMC) ซึ่งค่า ACMC นี้เป็นความเข้มข้นที่น้อยที่สุดที่ก่อให้เกิดไมเซลล์ในสารละลายดิน โดยเติมร่วมกับกลุ่มแบคทีเรีย STK พบว่าสามารถเพิ่มการย่อยสลายฟลูออรีนได้ดีกว่าการไม่เติมสารนี้ และมีประสิทธิภาพมากกว่าการเติม SDS แรมโนลิปิด เซอร์แฟคติน P aeruginosa สายพันธุ์ A41 และ B. subtilis สายพันธุ์ BBK1 ทั้งนี้ความสามารถในการย่อยสลายดังกล่าว สอดคล้องกับการเจริญของกลุ่มแบคทีเรีย STK นอกจากนี้ยังพบว่าการเติม SDS แรมโนลิปิด เซอร์แฟคติน P. aeruginosa สายพันธุ์ A41 และ B. subtilis สายพันธุ์ BBK1 ไม่ส่งเสริมการย่อยสลายฟีแนนทรีน และไพรีนอีกด้วย ในแง่ของความสามารถในการชะ PAHs ออกจากดิน พบว่าสารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์ Brij 35 และ SDS สามารถชะฟลูออรีน ฟีแนนทรีน และ ไพรีนออกจากดินสู่วัฎภาคน้ำได้มากกว่าสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ สำหรับการเติม P. aeruginosa สายพันธุ์ A41 และ B. subtilis สายพันธุ์ BBK 1 ลงในระบบ พบว่าสามารถสร้างสารลดแรงตึงผิวได้เล็กน้อยระหว่างการทดลอง โดยทำให้มีค่าแรงตึงผิวของสารละลายลดลงจาก 60 มิลลินิวตันต่อเมตร เป็น 47 และ 45 มิลลินิวตันต่อเมตร ตามลำดับ ทำให้มีการชะฟลูออรีน ฟีแนนทรีนและไพรีนออกจากดินสู่วัฏภาคน้ำได้
Other Abstract: The present study was conducted to pursue the effects of synthetic surtactants (Brij 35 and sodium dodecyl sulfate of SDS), biosurfactants (rhamnolipid from Pseudomonas aeruginosa strain A41 and surfactin from Bacillus subtilis strain BBK1) on fluorene phenanthrene and pyrene degradation by STK consortium in soil slurry (ratio of soil 1 g: water 8 ml.). Brij 35 was employed at concentration 15 times of apparent critical micelle concentration or ACMC value (critical micelle concentration of soil suspension) along with STK consortium. The results indicated that Brij 35 could enhance biodegradation of fluorene better than SDS, rhamnolipid, surfactin, P. aeruginosa strain A41 and B. subtilis strain BBK1, all of which did not promote on phenanthrene and pyrene degradation. Moreover, SDS and Brij 35 could solubilized PAHs from soil to aqueous phase better than biosurfactants in which surface tension in soil slurry was reduced from 60 to 47 in case of P. aeruginosa strain A41 and 60 to 45 in case of B. subtilis strain BBK1. The results indicated that biosurfactant-producers were able release biosurfactants into aqueous phase according to solubilized PAHs from soil to aqueous phase.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7929
ISBN: 9741428766
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rutja.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.