Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79319
Title: Synthesis and investigation of tetraaminophthalocyanines for electrocatalytic reduction reaction of carbon dioxide
Other Titles: การสังเคราะห์และทดสอบประสิทธิภาพการเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาของเตตระอะมิโนพทาโลไซยานีนสำหรับปฏิกิริยารีดักชันของคาร์บอนไดออกไซด์
Authors: Teedhat Trisukhon
Advisors: Patchanita Thamyongkit
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Subjects: คาร์บอนไดออกไซด์
รีดักชัน (เคมี)
เคมีไฟฟ้า
Carbon dioxide
Reduction (Chemistry)
Electrochemistry
Issue Date: 2019
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: In this work, synthesis and investigation on homogeneous catalytic activities for electrochemical reduction (ECR) of carbon dioxide (CO₂) of amino-functionalized Co(II)-, Ni(II)-, and Cu(II)- phthalocyanines were described. Current enhancement under CO₂-saturated condition observed by cyclic voltammetry indicated involvement of all complexes in the ECR of CO₂. Chronoamperometry applying potential of ‒1.6 V vs. Ag/AgCl QRE for 2 h, followed by product analysis by gas chromatography showed that amino-functionalized Co(II)-, Ni(II)-, and Cu(II)-phthalocyanines yielded hydrogen gas (H₂) with %Faradaic efficiency (%FE) of 32%, 35% and 39%, respectively. However, only amino-functionalized Co(II)- and Ni(II)- phthalocyanines yielded carbon monoxide (CO) with %FE of 1.6% and 0.2%, respectively. The results indicated that it is promising to further develop Co(II)-phthalocyanine-based electrocatalytic system for the production of CO while the Cu(II)-phthalocyanine-based one seems to be suitable for H₂ evolution. Keywords:
Other Abstract: งานวิจัยนี้ได้สังเคราะห์และศึกษาความสามารถในการเร่งปฏิกิริยารีดักชันเชิงเคมีไฟฟ้าของคาร์บอนไดออกไซด์แบบเอกพันธ์ของสารประกอบโคบอลต์ (II)-, นิกเกิล (II)-และ คอปเปอร์ (II)-พทาโลไซ-ยานีนที่ถูกปรับปรุงโครงสร้างด้วยหมู่อะมิโน การเพิ่มขึ้นของกระแสไฟฟ้ารีดักชันภายใต้ภาวะอิ่มตัวด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ที่ศึกษาด้วยวิธีไซคลิกโวลแทมเมตทรีแสดงถึงการมีส่วนร่วมของสารเชิงซ้อนทุกชนิดในกระบวนการรีดักชันเชิงเคมีไฟฟ้าของคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อทำการให้ศักย์ไฟฟ้า -1.6 โวลต์เทียบกับขั้วไฟฟ้าอ้างอิงซิลเวอร์/ซิลเวอร์คลอไรด์ชนิดควอไซ เป็นระยะเวลา 2 ชั่วโมงด้วยเทคนิคโครโนแอมเปอโรแมทรี และวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโตกราฟี พบว่าโคบอลต์ (II)-, นิกเกิล (II)-และคอปเปอร์ (II)-พทาโลไซยานีนให้แก๊สไฮโดรเจนเป็นผลิตภัณฑ์โดยมีประสิทธิภาพฟาราเดย์เท่ากับ 32%, 35% และ 39% ตามลำดับ แต่มีเพียงโคบอลต์ (II)-, นิกเกิล (II)-พทาโลไซยานีนเท่านั้นที่ให้แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นผลิตภัณฑ์ด้วยประสิทธิภาพฟาราเดย์เท่ากับ 1.6%, 0.2% จากผลการทดลองสรุปได้ว่าระบบปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมีโดยมีโคบอลต์ (II)-พทาโลไซยานีนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยามีแนวโน้มในการผลิตแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์สูงที่สุด ในขณะที่ระบบปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมีโดยคอปเปอร์ (II)-พทาโลไซยานีนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเหมาะสำหรับการสังเคราะห์แก๊สไฮโดรเจน
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79319
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-CHEM-028 - Teedhat Trisu.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.