Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79367
Title: การออกแบบลวดลายเรขศิลป์สำหรับบรรจุภัณฑ์ขนมพื้นบ้านจากอัตลักษณ์ทางศิลปกรรมจังหวัดสงขลา 
Other Titles: Graphic pattern for packaging of local dessert from the artistic identity of Songkhla province
Authors: ปวัลยา ขวัญแดง
Advisors: เพิ่มศักดิ์ สุวรรณทัต
วิไล อัศวเดชศักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Subjects: การออกแบบกราฟิก
บรรจุภัณฑ์อาหาร
ศิลปกรรม -- ไทย -- สงขลา
Graphic design
Food containers
Art -- Thailand -- Songkhla
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเรื่องการออกแบบลวดลายเรขศิลป์สำหรับบรรจุภัณฑ์ขนมพื้นบ้านจากอัตลักษณ์ทางศิลปกรรมจังหวัดสงขลา โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการของงานวิจัย ดังนี้ 1. เพื่อศึกษารูปแบบวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดสงขลา 2.เพื่อหาองค์ประกอบของโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ และการออกแบบลวดลายเรขศิลป์ 3.เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ขนมพื้นบ้านของจังหวัดสงขลา ให้เป็นที่น่าสนใจของกลุ่มเป้าหมายเจนเนอเรชั่นวาย ขั้นตอนและวิธีการวิจัย โดยการเก็บข้อมูลจากวัฒนธรรมและศิลปกรรมของจังหวัดสงขลา เอกสาร งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และบทความอินเตอร์เน็ต นำข้อมูลประมวลผลการวิเคราะห์ สร้างแบบสอบถามประกอบกับสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบต่อไป ผลการวิจัยนี้สามารถชี้ให้เห็นได้ ดังนี้ 1.) วัฒนธรรมและศิลปกรรมของจังหวัดสงขลาที่สามารถนำมาออกแบบลวดลายเรขศิลป์ การที่ต้องการสื่อ (Concept) ดั้งเดิมแบบประเพณีไทย ร่วมสมัยแบบสงขลา บุคลิกภาพของงานคือ  มีวัฒนธรรม (Culture) ดูเป็นธรรมชาติ (Natural) ลึกลับน่าค้นหา (Mysterious) ดูมีค่า (Precious) 2.) แนวทางในการหาองค์ประกอบของโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ และการออกแบบลวดลายเรขศิลป์สำหรับขนมพื้นบ้าน 3.) ลวดลายเรขศิลป์ ที่สามารนำไปประยุกต์ใช้กับบรรจุภัณฑ์ขนมพื้นบ้านในประเพณีต่างๆ และเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ลวดลายและบรรจุภัณฑ์สำหรับประเพณีตายายย่านและประเพณีแต่งงานกับนางไม้
Other Abstract: The objective of this research is to study. Graphic Pattern for Packaging Of Local Dessert From the Artistic Identity of Songkhla Province. The Key Objective are: 1.) To study the cultural style that is the identity of Songkhla Province. 2.) To find the components of the packaging structure and graphic design. 3.) To develop the packaging of local snacks in Songkhla Province to be interesting to the Generation Y target group. Research procedures and methods. By collecting data from culture and arts of Songkhla Province, documents, research papers, theses and Internet articles. Take the data to process the analysis. Create a questionnaire and interview an expert. In order to obtain the information used in the further design. The results of this research can be pointed out as follows: 1.) Culture and arts of Songkhla Province that can be used to design graphic arts. The Concept is Culture, Natural, Mysterious, Precious. 2.) Guidelines for determining the composition of the packaging structure and designing graphic patterns for local dessert. 3.) Art pattern that can be applied to the packaging of local dessert in various traditions and suitable for the target group, such as patterns and packaging for the tradition of Tayayyan and the Taengngan Kap nangmi.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นฤมิตศิลป์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79367
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.644
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.644
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280021435.pdf9.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.