Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79369
Title: การออกแบบเรขศิลป์เพื่อเปลี่ยนสภาพนอน-เพลสโดยใช้แนวคิดพลเมืองโลกร่วมกับทุนทางวัฒนธรรมไทย กรณีศึกษาเมืองพิมาย
Other Titles: Graphic design to transform non-place by using cosmopolitanism concept with Thai cultural capital: a case study of Phimai district
Authors: จนัธ เที่ยงสุรินทร์
Advisors: อารยะ ศรีกัลยาณบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Subjects: การออกแบบกราฟิก
ทุนทางวัฒนธรรม
Graphic design
Cultural capital
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งใช้ระเบียบวิธีการวิจัยที่ใช้การปฏิบัติเป็นฐาน ก่อนการลงมือปฏิบัติผู้วิจัยได้ทบทวรรณกรรม ทฤษฎีนอน-เพลส (สถานที่ไม่มีตัวตน) ทุนทางวัฒนธรรม พลเมืองโลก และการออกแบบเรขศิลป์ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงปริมาณอันจะช่่วยต่อยอดการวิพากษ์ผลงานออกแบบในขั้นต่อไปได้ดียิ่งขึ้น ผู้วิจัยจึงทำการวิเคราะห์เนื้อหาภาพโดยใช้ผลงานที่ได้รับรางวัลสาขาการสร้างสถานที่และอัตลักษณ์ของ SEGD (2020-2016) ปฏิบัติการทำงานสร้างสรรค์ประกอบไปด้วย (1) การออกแบบร่างและการสัมภาษณ์นักออกแบบเรขศิลป์มืออาชีพจำนวน 3 ท่าน (2) โปรเจกชันแมปปิง ณ สถานที่จริงในเมืองพิมายจำนวน 3 จุดพร้อมการสัมภาษณ์ (N=21) (3) ต้นแบบองค์ประกอบเรขศิลป์พร้อมแบบสอบถามออนไลน์ (N=99) (4) อัตลักษณ์เชิงภาพสำหรับแบรนด์เพื่อสถานที่พร้อมการเวิร์กชอปการออกแบบร่วมกันกับผู้เข้าร่วมจำนวน 2 กลุ่ม (N=7 และ N=8) การลงมือปฏิบัติสิ้นสุดลงในขั้นตอนการออกแบบขั้นสุดท้ายเพื่อจัดทำแบรนด์เมืองพิมาย ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่า (1) เนื้อหาเชิงพลเมืองโลกควรมุ่งความสนใจไปที่การที่อดทนต่อคนเชื้อชาติอื่นอย่างผู้ดี และ/หรือ การตอบสนองต่อภัยคุกคามโลกแบบเอาจริงเอาจัง (2) สไตล์ซอฟต์ป๊อปได้รับคะแนนนิยมสูงอย่างมีนัยสำคัญจากผู้ถูกสัมภาษณ์ (3) คนที่เป็นพลเมืองโลกก็เป็นคนช่างเลือกเช่นกัน ดังนั้นนักออกแบบควรเผื่อทางเลือกไว้เสมอเพื่อให้เขาเหล่านั้นไปผสมเอาเองตามชอบใจ (4) งานเรขศิลป์ที่ผสมผสานกับนิทรรศการและเฟอร์นิเจอร์มีแนวโน้มสูงที่จะแก้ภาวะนอน-เพลส (5) การสร้างความเป็นสถานที่ด้วยสื่อดิจิทัลเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ไปเสียแล้ว ผู้จัยมีข้อโต้แย้งว่าแนวคิดเรื่องอัตลักษณ์ในทฤษฎีนอน-เพลสของมาร์ก ออเชนั้นมีปัญหา ในบทสุดท้ายจะเป็นการอภิปรายเรื่องการนำแนวคิดรื้อสร้างมาใช้กับการสร้างความเป็นสถานที่
Other Abstract: This is a qualitative reseach with practice-based research approach. Before practicing, theory of non-places, cultural capital, cosmopolitanism, and graphic design have been reviewd. Visual analysis of graphic design samples collected from SEGD placemaking & Identity award (2020-2016) is conducted to gain quantitative data to support further critical design process. Creative practices are including of (1) preliminary design and interview of 3 professional graphic designers, (2) Three of on-site projection mapping installations at Phimai and interview (N=21), (3) graphic elements prototype and online questionaire (N=99), and (4) visual identity for place branding and co-design workshop with 2 groups (N=7 and N=8). The last stage of practice is a final design proposal: Phimai City Branding. Results show (1) that cosmopolitnaism content should focus on elite ethnic tolerance and/or reflexive response to global risks, (2) soft pop style receives significantly high score from interviewees, (3) cosmopolitansm people are also choosers so designer should always provide choices they can mix and match by themselves (4) graphic design integrated with exhibition and furniture has a great potential to solve non-places symptom 5) digital placemaking is becoming a must. Researcher argues that definition of identity in Marc Auge's non-places is problematic. Deconstructivism approach for placemaking is discussed in last section.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ศิลปกรรมศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79369
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1016
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.1016
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6281006235.pdf21.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.