Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79371
Title: ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง : จิตวิญญาณ ลีลา อารมณ์ “ขนมสงขลา” สวีทสำหรับวงวินด์ออนซอมเบิล
Other Titles: Doctoral music composition: spirit, characters, expression of “Songkhla sweets” the suite for wind ensemble
Authors: ดรุณี อนุกูล
Advisors: วีรชาติ เปรมานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Subjects: การแต่งเพลง
วงเครื่องลม
Composition ‪(Music)‬
Wind ensembles
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: จิตวิญญาณ ลีลา อารมณ์ “ขนมสงขลา” สวีทสำหรับวงวินด์ออนซอมเบิล เป็นบทประพันธ์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากรสชาติและสีสันที่หลากหลายของขนมพื้นบ้านสงขลาจำนวน 5 ชนิด ได้แก่ ขนมการอจี้ ขนมม่อฉี่ ขนมบอก ขนมดู และขนมเดือนสิบ เทคนิคและวิธีการสร้างสรรค์ใช้การผสมผสานวัฒนธรรมระหว่างดนตรีตะวันตกและตะวันออก ซึ่งนำเอาเอกลักษณ์อันโดดเด่นของท่วงทำนอง ลีลาจังหวะ ของรองเง็งศิลปะการแสดงพื้นเมืองของชาวไทยมุสลิมมาประยุกต์พัฒนาสร้างสรรค์ในมิติทางดนตรี เช่น การสร้างพื้นผิวของบทเพลง การดำเนินแนวประสาน การเรียบเรียงเสียงวงดนตรี  เป็นต้น บทประพันธ์ประกอบไปด้วย 7 ท่อนที่มีเอกภาพโดดเด่น ได้แก่ ท่อนที่ 1 อารัมภบท ท่อนที่ 2 ทองงาม ท่อนที่ 3 ขาวละมุน ท่อนที่ 4 หอมไม้ ท่อนที่ 5 นิลกาฬ ท่อนที่ 6 บุญบูชา และ ท่อนที่ 7 บทส่งท้าย แต่ละท่อนมีความยาว 3-6 นาที ทั้งสวีทมีความยาวรวม 30 นาที
Other Abstract: Doctoral Music Composition: Spirit, Characters & Expression of “Songkhla Sweets” the Suite for Wind Ensemble is the creative and intergrated music composition inspired by the 5 typically tasty and colourful sweets of Songkhla namely; Garorji, Mochi, Bok, Doo and Dueansib. The imaginative technique and innovative method are created a highly crafted design by combining and transforming Western and Eastern cultural arts into a dramatic and unique character. The traditionally melodic motif and the folk rhythmic patterns of ‘Rong-Eng’, the Thai Muslim performing art has been implemented in exploring a formative music dimension. In the meantime, the sound texture, harmonic progression, orchestration, and etc. were plaving an important role in sharping the entire 7 movements: I Prologue, II Thong Ngam, III Khao Lamun, IV Hom Mai, V Nillakan, VI Bunbucha and VII Finale as a unique suite outstandingly. By the time each characterizing movement is approximate 3–6 minutes duration, the total performance is 30 minutes.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ศิลปกรรมศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79371
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1020
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.1020
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6281012035.pdf27.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.