Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79380
Title: | นวัตกรรมการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจจากสิ่งไร้มูลค่าทางการเกษตรสู่การสร้างสรรค์อัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ด้วยแนวคิดการออกแบบข้ามวัฒนธรรม |
Other Titles: | The innovation in economic value-added from agricultural leftovers to creation of lifestyle fashion product brand identity using cross cultural design concept |
Authors: | สุระเกียรติ รัตนอำนวยศิริ |
Advisors: | พัดชา อุทิศวรรณกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Subjects: | การออกแบบแฟชั่น สิ่งทอ ของเสียทางการเกษตร Fashion design Agricultural wastes |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้เป็น การวิจัยแบบผสมผสานที่มีวิธีการระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ควบคู่กับการสร้างสรรค์ผลงานผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ วัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษา และสร้างแนวทางการสร้างสรรค์สิ่งทอจากนวัตกรรมสิ่งทอจากสิ่งไร้มูลค่าทางการเกษตร ได้แก่ เศษไผ่ และไหมข้าวโพดด้วยแนวคิดนวัตกรรมสิ่งทอ, แฟชั่นไลฟ์สไตล์, การออกแบบข้ามวัฒนธรรม, ทุนวัฒนธรรมสิ่งทอพื้นถิ่นชาวไทลื้อ(Circular Economy) 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์จากทุนทางวัฒนธรรมสิ่งทอชาวไทลื้อสู่ความเป็นสากล ด้วยแนวคิดการออกแบบข้ามวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ วิธีการดำเนินการวิจัย การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้วยเทคนิคเดลฟาย(Delphi Technique) 1) สร้างสรรค์สิ่งทอด้วยนวัตกรรมสิ่งทอจากงานวิจัย ได้แก่ เศษไผ่, ไหมข้าวโพด และฝ้าย ในอัตราส่วน 2:2:6 และนำไปเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ด้วยแบบสอบถามปลายปิด วิเคราะห์เพื่อหาความเหมาะสมสำหรับการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ 2) การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้วยเทคนิคเดลฟาย เกี่ยวกับพฤติกรรมการเลือกใช้สินค้าแฟชั่น, สินค้าแฟชั่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสินค้าแฟชั่นจากทุนทางวัฒนธรรมสิ่งทอ จำนวน 5 ท่าน จากนั้นนำผลที่ได้วิเคราะห์ข้อมูลอีกครั้งด้วยเทคนิคเปเปอร์ดอลล์ดาต้าเซท(Paper Doll Data Set) เพื่อหาองค์ประกอบทางการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์แฟชั่นที่สอดคล้องกับกลุ่มผู้บริโภค และ 3) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มประชากรคนเมืองเจนเนอเรชั่นวาย (Gen Y) อายุ 22 - 42 ปี ที่อาศัยอยู่ในบริเวณจังหวัดกรุงเทพมหานครของประเทศไทย จำนวน 200 คน วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภค ได้แก่ ด้านข้อมูลทั่วไปของผู้บริโภค, ด้านวิถีการดำเนินชีวิต, ด้านพฤติกรรมการเลือกใช้สินค้าแฟชั่น, ด้านพฤติกรรมการเลือกใช้สินค้าแฟชั่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และด้านพฤติกรรมการเลือกใช้สินค้าแฟชั่นจากทุนทางวัฒนธรรมสิ่งทอ จากการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล พบว่า 1) สิ่งทอต้นแบบ ประกอบด้วย เศษไผ่, ไหมข้าวโพด และฝ้าย ในอัตราส่วน 2:2:6 มีความเหมาะสมสำหรับการผลิตเป็นสินค้าแฟชั่นไฟล์สไตล์ในระดับมากที่สุด 2) แนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์อย่างยั่งยืน ด้วยแนวคิดการออกแบบข้ามวัฒนธรรมจากทุนทางวัฒนธรรมสิ่งทอพื้นถิ่นสู่ความเป็นสากล ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 2.1) นวัตกรรมสิ่งทอ (Textile Innovation) 2.2) ระดับนวัตกรรมการออกแบบเพื่อความยั่งยืน(Levels Of Design Innovation For Sustainability) 2.3) กลุ่มเป้าหมาย(Target) ได้แก่ 2.3.1) กลุ่มผู้นำแฟชั่นกับทุนวัฒนธรรมสิ่งทอแบบภักดีต่อสิ่งแวดล้อม 2.3.2) กลุ่มผู้นิยมกระแสแฟชั่นกับทุนวัฒนธรรมแบบใส่ใจสิ่งแวดล้อม 2.3.3) กลุ่มผู้นิยมแฟชั่นเรียบง่ายกับทุนวัฒนธรรมสิ่งทอแบบใส่ใจสิ่งแวดล้อม 2.4) วัฒนธรรม (Culture) และ 2.5) ผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์(Fashion and lifestyle products) ได้แก่ 2.5.1) สินค้าแฟชั่น 2.5.2) สินค้าไลฟ์สไตล์ และ 2.5.3) แนวโน้มกระแสนิยม(Trend) |
Other Abstract: | This research used a mixed approach including qualitative, quantitative and fashion lifestyle product design. The objective of the research is (1) to find the sustainable fashion lifestyle product design guideline from agricultural waste such as bamboo waste and corn silk with circular economy concept. (2) To find the sustainable fashion lifestyle product identity development guideline with cross cultural design concept using Thai-Lue cultural textile capital in Nan province towards international market. The research processes consisted of (1) Designing the innovative textile from research such as bamboo waste, corn silk, and cotton in the quantity of 2:2:4 and collecting qualitative data with 3 experts with the close-ended questionnaire to find fashion and lifestyle product development suitability. (2) Collecting qualitative data on fashion product consumption, environmental-friendly fashion products, and culturally relevant fashion products from 5 experts. The data is analyzed using the paper doll data set technique to obtain the most suitable fashion design elements for the target consumers. (3) Quantitative data collection using an online questionnaire on the 200 generation Y population in Bangkok city, aged 22-42 years. The data is then analyses in terms of general consumption, lifestyle, fashion product consumption, eco-friendly fashion product consumption, culture-related fashion products. The study found that (1) the textile prototype includes bamboo waste corn silk, and cotton in the quantity of 2:2:4 is the most suitable for developing into fashion and lifestyle products. (2) The sustainable fashion lifestyle product identity with a cross-cultural design concept for the international market includes 5 components: (2.1) textile innovation, (2.2) sustainable design innovation level, (2.3) target groups: (2.3.1) fashion leader with strong environmental concern and cultural textile, (2.3.2) fashion follower with environmental concerned and cultural textile, (2.3.3) minimal fashion with environmental concerned and cultural textile, (2.4) culture, and (2.5) trend. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | ศิลปกรรมศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79380 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1028 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2021.1028 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6281041135.pdf | 32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.