Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7942
Title: การสร้างมาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม : รายงานการวิจัย
Other Titles: Development of nursing standard for breast cencer patient
Authors: พวงทิพย์ ชัยพิบาลสฤษดิ์
Email: Puangtip.C@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: เต้านม -- มะเร็ง
การพยาบาล
ผู้ป่วย -- การดูแล
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โครงการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างมาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมตามค่านิยมของผู้ป่วย แพทย์ และพยาบาล รูปแบบการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบวิจัยและพัฒนา เริ่มจากการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการดำเนินการกลุ่มสนทนา 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยจำนวน 11 คน กลุ่มแพทย์จำนวน 10 คน และกลุ่มพยาบาลจำนวน 13 คน จากนั้นได้วิเคราะห์เนื้อหาและค่านิยมจากกลุ่มสนทนาทั้ง 3 กลุ่ม แล้วนำมาสกัดเป็นมาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม ก่อนและหลังการผ่าตัด และได้นำไปพัฒนาบทวีดีทัศน์ จำนวน 3 ม้วน คือ 1) การตรวจเต้านมด้วยตนเอง 2) การออกกำลังกายภายหลังผ่าตัดเต้านม 3) การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม พร้อมได้ทดสอบความตรง ความเที่ยงและประสิทธิภาพของวีดิทัศน์ด้วย ได้มีการพัฒนาคู่มือการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรงมะเร็งเต้านม และคู่มือการปฏิบัติตนสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม พร้อมได้ทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มละ 20 คน และปรับปรุงให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า 1. จากกลุ่มสนทนา กลุ่ม 1 พบว่าผู้ป่วย 11 คน มีประเด็นหลัก 11 ประการ 1. เต้านมเป็นสัญลักษณ์ของเพศหญิง 2. การรู้ว่าตนเป็นโรคมะเร็ง 3. การแสวงหาความช่วยเหลือและข้อมูล 4. โรคมะเร็งเป็นกรรมพันธุ์ 5. การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดเต้านม 6. การปฏิบัติตนภายหลังผ่าตัดเต้านม 7. การได้รับเคมีบำบัด 8. การได้รับรังสีรักษา 9. รายรับรายจ่าย 10. เพศสัมพันธ์ 11. ข้อเสนอแนะ 2. จากกลุ่มสนทนา กลุ่ม 2 พบว่าแพทย์ 10 คน ผู้ให้การรักษามีประเด็นหลัก 9 ประการ 1. การวินิจฉัยโรคและความจำเป็นที่ต้องผ่าตัดเต้านม 2. การรักษาก่อนผ่าตัดเต้านม 3. การรักษาภายหลังผ่าตัดเต้านม 4. การรักษาด้วยเคมีบำบัด 5. การรักษาด้วยรังสี 6. ค่าใช้จ่าย 7. การป้องกันและการค้นพบโรคมะเร็งเต้านม 8. บทบาทของพยาบาล 9. ข้อเสนอแนะ 3. จากกลุ่มสนทนา กลุ่ม 3 พบว่าพยาบาล 13 คน ผู้ให้การดูแลมีประเด็นหลัก 6 ประเด็น 1. การพยาบาลแบบองค์รวม 2. กระบวนการพยาบาล 3. รูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 4. การพยาบาลชีวจิตสังคม 5. การวิจัยเพื่อเพิ่มคุณภาพการพยาบาล 7. ข้อเสนอแนะ 4. ในการสร้างมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมครั้งนี้ ประกอบด้วย 7 มาตรฐาน คือ 1) การประเมินปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย 2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล 3) การวางแผนการพยาบาลและการปฏิบัติการตามแผน 4) การวางแผนการจำหน่ายและการปฏิบัติตามแผน 5) การประเมินผลการพยาบาล 6) การบันทึกทางการพยาบาล และ 7) การให้ข้อมูลและการเคารพสิทธิของผู้ป่วย 5. มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม คู่มือในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม และคู่มือการปฏิบัติตนสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม ได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ และกลุ่มเป้าหมายกลุ่มละ 20 คน 6. ในด้านประสิทธิภาพของวีดีทัศน์นั้นพบว่า เป็นสื่อที่ให้ความรู้ได้ดีมาก มีความเหมาะสมและเป็นที่น่าพอใจ แต่มีปัญหาหลายขั้นตอนในการดำเนินงานการผลิตและทดสอบประสิทธิภาพโดยเฉพาะในด้านความคิดเห็นที่เกี่ยวกับความเปิดเผย อวัยวะเต้านมพร้อมใบหน้าของผู้แสดง 7. ประสิทธิภาพของวีดิทัศน์ ทั้ง 3 ม้วนอยู่ในระดับดีมาก คือ คะแนนแบบทดสอบหลังชมวีดีทัศน์สูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนชมวีดิทัศน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับ .001 ทั้ง 3 ม้วน นอกจากนี้กลุ่มเป้าหมายยังมีความชื่นชมในวีดิทัศน์ในด้านการดำเนินเรื่อง การอธิบาย และ การสามารถนำไปปฏิบัติได้
Other Abstract: This research project aims at the development of nursing standard for breast cancer patient. The nursing standards are extracted from the values of breast cancer patients, physicians and nurses. This study was conducted with 3 focus groups. The members of the first focus group were 11 patients, the members of the second of focus group were 10 physicians, and the members of the third group were 13 nurses. The analysis of values expressed from the 3 focus groups were used to develop 3 videotapes. The videotapes are breast self examination, exercise after mastectomy, and nursing standard for before and after mastectomy. The videotapes were revised after being validated for content, reliability, and efficiency. Guidelines for nurses and for mastectomy patients were also developed. For the efficiency of both guidelines, the tests were conducted with 20 samples each. All participants were very pleased about the usefulness and the appropriateness of each guideline. The first focus group mentioned 11 values or issues: the breast as a symbol of femininity, feeling upon being diagnosed with cancer, seeking help and information, the idea / belief that cancer is hereditary, preparing for breast surgery, arranging for post surgery, chemotherapy, radiotherapy, income and expense, sexuality, and recommendations. The second focus group mentioned 9 issues: diagnosis and necessity for surgery, treatment before mastectomy, treatment after mastectomy, chemotherapy, radiotherapy, expenses, prevention and screening of breast cancer, nursing roles, and recommendation. The last focus group mentioned 6 issues; holistic nursing care, nursing process, model of nursing practice for breast cancer, bio-psycho-social nursing, research to enhance quality of nursing care, and recommendations. The development of the nursing standard for breast cancer patient in this study, consists of 7 standards: 1) assessment of problems and needs of the patient. 2) nursing diagnosis, 3) nursing care plan and intervention according to the plan, 4) discharge planning and intervention according to the plan, 5) nursing evaluation. 6) nursing record, and 7) provide information and respect the patient’s right. The efficiency of the 3 video-tapes were reflected statistically significant increase in the score of post-test in comparing to the pre-test at the level of .001. The target groups were also very pleased bout the plots, explanations and applications.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7942
ISBN: 9741324138
Type: Technical Report
Appears in Collections:Nurse - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
poungtip.pdf10.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.