Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79616
Title: A ubiquitous mooc instructional design model based on cognitive dissonance for enhancing higher education students’ cross–cultural competence
Other Titles: รูปแบบการออกแบบยูบิควิตัสมูคโดยใช้วิธีทำให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดเพื่อส่งเสริมสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต
Authors: Boonrat Plangsorn
Advisors: Jaitip Na-songkhla
Lara M. Luetkehans
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Education
Subjects: MOOCs (Web-based instruction)
Instructional systems -- Design
Cross-cultural studies
มูกส์ (การเรียนการสอนผ่านเว็บ)
ระบบการเรียนการสอน -- การออกแบบ
การศึกษาข้ามวัฒนธรรม
Issue Date: 2017
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The research objectives of this study were (1) to study undergraduate students’ opinions in designing a ubiquitous MOOC, (2) to develop a ubiquitous MOOC instructional design model based on cognitive dissonance for enhancing higher education student’s cross–cultural competence (U-MOOC model), and (3) to study the effects of a ubiquitous MOOC instructional design model based on cognitive dissonance for enhancing higher education student’s cross–cultural competence. This study used the research and development research methodology divided into three phases: survey research, U-MOOC model development, and experimental research. The samples of survey phase were 410 undergraduate students recruited from eight government universities. The participants of experiment phase were 30 undergraduate students. The research instruments comprised three questionnaires; undergraduate students’ opinions in designing a ubiquitous MOOC, experts’ opinions about cross-cultural communication content, and experts’ opinions about the U-MOOC model; cross-cultural competence scale; and interview protocol. The research findings were summarized as follows: 1. Undergraduate students’ opinions in designing a ubiquitous MOOC included three concepts; u-learning, massive open online course (MOOC), and instructional design of ubiquitous MOOC for enhancing cross–cultural competence. The highest average score was instructional design of ubiquitous MOOC for enhancing cross–cultural competence, followed by MOOC and u-learning, respectively. 2. The developed U-MOOC model consisted of six steps: (1) Define online learning objectives, (2) Analyze U-MOOC environment needs, (3) Develop U-MOOC learning activity plan, (4) Develop U-MOOC, (5) Deliver to multi-cultural learners, and (6) Assess learners’ learning. 3. The effects of U-MOOC model indicated that student’s cross–cultural competence between pretest and posttest were statistically significant difference (p < .05). In addition, an exploration of the enhancing higher education student’s cross–cultural competence in ubiquitous MOOC instructional model were divided into three parts; ubiquitous MOOC learning, cognitive dissonance, and recommendations for ubiquitous MOOC.
Other Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตเกี่ยวกับการออกแบบยูบิควิตัสมูค (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการออกแบบยูบิควิตัสมูคโดยใช้วิธีทำให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดเพื่อส่งเสริมสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต และ (3) เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการออกแบบยูบิควิตัสมูคโดยใช้วิธีทำให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดเพื่อส่งเสริมสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต  การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการวิจัยด้วยการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ การพัฒนารูปแบบการออกแบบยูบิควิตัสมูค และการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างในระยะสำรวจ คือ นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต จำนวน 410 คน จากมหาวิทยาลัยของรัฐ 8 แห่ง สำหรับกลุ่มตัวอย่างในระยะทดลอง คือ นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบยูบิควิตัสมูค แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเนื้อหาการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม แบบวัดสมรรถนะข้ามวัฒนธรรม และแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตเกี่ยวกับการออกแบบยูบิควิตัสมูค มี 3 ส่วนได้แก่ ด้านยูเลิร์นนิ่ง ด้านมูค และด้านการออกแบบยูบิควิตัสมูคเพื่อส่งเสริมสมรรถนะข้ามวัฒนธรรม สำหรับด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการออกแบบยูบิควิตัสมูคเพื่อส่งเสริมสมรรถนะข้ามวัฒนธรรม รองลงมา คือ ด้านมูค และด้านยูเลิร์นนิ่ง ตามลำดับ 2. รูปแบบการออกแบบยูบิควิตัสมูคฯ ที่พัฒนาขึ้น มี 6 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ระบุวัตถุประสงค์การเรียนรู้แบบออนไลน์ (2) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่จำเป็นของยูบิควิตัสมูค (3) พัฒนาแผนกิจกรรมการเรียนรู้ในยูบิควิตัสมูค (4) พัฒนายูบิควิตัสมูค (5) นำบทเรียนไปใช้กับผู้เรียนต่างวัฒนธรรม และ (6) ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน 3. ผลของรูปแบบการออกแบบยูบิควิตัสมูคฯ พบว่า ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของนักศึกษาระหว่างก่อนและหลังการทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ ในการศึกษาการพัฒนาสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของนักศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบยูบิควิตัสมูค แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ การเรียนแบบยูบิควิตัสมูค การขัดแย้งทางความคิด และข้อเสนอแนะของยูบิควิตัสมูค
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2017
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Educational Technology and Communications
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79616
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.192
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.192
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5484269127.pdf8.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.