Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7979
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยุพิน อังสุโรจน์-
dc.contributor.authorขนิษฐา แสงไตรรัตน์นุกูล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-09-05T04:28:12Z-
dc.date.available2008-09-05T04:28:12Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741424507-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7979-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลประจำการห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมี 2 กลุ่ม คือ พยาบาลหัวหน้าห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรม และพยาบาลประจำการห้องผ่าตัด สูตินรีเวชกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามสมรรถนะของพยาบาลประจำการห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรม ลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิและทดสอบความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยง .98 นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ตัวประกอบด้วยวิธีตัวประกอบหลักหมุนแกนแบบออโธกอนอล ด้วยวิธีแวริแมกซ์ นำผลที่ได้ไปสร้างเป็นแบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลประจำการห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรม จำนวน 3 ชุด แต่ละชุดต่างกันที่ผู้ประเมิน ได้แก่พยาบาลประจำการประเมินตนเอง หัวหน้าห้องผ่าตัด และพยาบาลผู้ร่วมงาน โดยใช้แนวคิดการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบ 360 องศา นำข้อมูลที่ได้มาหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และหาความสอดคล้องของแบบประเมินระหว่างผู้ประเมิน ผลการวัยสรุปได้ดังนี้ 1. แบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลประจำการห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรม ประกอบด้วย 8 ตัวประกอบบรรยายด้วย 61 ตัวแปร สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 71.48 ได้แก่ 1) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมการพยาบาลผ่าตัด บรรยายด้วย 12 ตัวแปร 2) ด้านการสื่อสารและจริยธรรมวิชาชีพการพยาบาล บรรยายด้วย 14 ตัวแปร 3) ด้านทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วยผ่าตัดทางสูตินรีเวชกรรม บรรยายด้วย 8 ตัวแปร 4) ด้านการบริหารความเสี่ยงในห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรม บรรยายด้วย 6 ตัวแปร 5) ด้านการดูแลความปลอดภัยของผู้ป่วยผ่าตัด บรรยายด้วย 4 ตัวแปร 6) ด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยผ่าตัดทางสูตินรีเวชกรรม บรรยายด้วย 4 ตัวแปร 7) ด้านการประสานงานและมนุษยสัมพันธ์ บรรยายด้วย 4 ตัวแปร และ 8) ด้านการบริหารจัดการ บรรยายด้วย 9 ตัวแปรทั้ง 8 ตัวประกอบ 61 ตัวแปรนี้ นำมาสร้างเป็นแบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลประจำการห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรม 2. พยาบาลประจำการห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรม มีสมรรถนะโดยรวมจากการประเมินตนเอง จากากรประเมินโดยหัวหน้าห้องผ่าตัด และจากการประเมินโดยผู้ร่วมงานอยู่ในระดับมาก ([x-bar] = 4.03, 3.61 และ 4.05 ตามลำดับ) และระหว่างการประเมินด้วยตนเองกับการประเมินโดยหัวหน้าห้องผ่าตัดสูติ นรีเวชกรรม ไม่มีความสัมพันธ์กัน (r = .20)ระหว่างการประเมินด้วยตนเองกับการประเมินโดยพยาบาลผู้ร่วมงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .30) และระหว่างการประเมินโดยหัวหน้าห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรมกับการประเมินโดยพยาบาลผู้ร่วมงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .40)en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to develop the competency scale of staff nurses, in obstetric and gynecological operating room. The sample was 282 of head nurses and staff nurses. The instrument was a 5-rating scale questionnaire about competency of staff nurses in obstetric and gynecological operating room. Content validity and reliability were conducted. Cronbach's alpha coefficient was .98. The data were analyzed using Principal Components Extraction and Orthogonal Rotation with Varimax Method. To develop the competency scale, 360 degree assessment was introduced, the research assessed Pearson's correlation coefficient and agreement among evaluators who were self, head nurse, and staff nurses in governmental hospitals, Bangkok Metropolis. Research findings were as follows: 1. Eight significant factors of staff nurses competency in obstetric and gynecological operating room were identified. These factors were described by 61 items that accounted for 71.48% of the total variance. The eight factors were 1) Information Technology and Innovation, 2) Communication and Ethics. 3) Resuscitation skill, 4) Risk Management, 5) Patient Safety, 6) Health Promotion, 7) Coordination and Human Relationship, and 8) General Management. The competency scale of staff nurses in obstetric and gynecological operating room was developed from these 8 factors, 61 items. 2. The result of the assessment by self, head nurse, and colleagues was high. ([x-bar] = 4.03, 3.61, and 4.05, respectively) the result between the assessment by self and head nurse was not related, the assessment by self and colleagues was positively related (r = .30), and the assessment by head nurse and colleagues was positively related (r = .40)en
dc.format.extent1498205 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectพยาบาลห้องผ่าตัดen
dc.subjectการพยาบาลสูติศาสตร์en
dc.titleการพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลประจำการห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรมen
dc.title.alternativeThe development of competency assessment scale of staff nurses in obstetric and gynecological operating roomen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาลes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisoryupin.a@chula.ac.th-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kanitta.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.