Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/800
Title: | ผลกระทบความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่อการจ้างงาน กรณีศึกษาการพัฒนากำลังคนเพื่อความสามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์: รายงานผลการวิจัย |
Authors: | ศิริเชษฐ์ สังขะมาน |
Email: | ssiriche@chula.ac.th |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสังคม |
Subjects: | อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การจ้างงาน (ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์) ความพอใจในการทำงาน |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยที่เพิ่มขีดความสามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการใช้แรงงานทดแทนและความพึงพอใจในงาน เนื่องจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยมีอัตราการเติบโตอย่างเห็นได้ชัด แต่การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและโครงสร้งการผลิตกำลังคนทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการกำลังคนได้ การศึกษาแบ่งเป็นสองขั้นตอน โดยขั้นแรกเป็นการศึกษาความเป็นไปได้ของการทดแทนวิศวกรด้วยช่างเทคนิค โดยการศึกษาหลักสูตรการศึกษาของวิศวกรและช่างเทคนิคใน 2 กลุ่มวิชา คือ วิชาพื้นฐานทั่วไปและวิชาชีพอิเล็กทรอนิกส์ และวิเคราะห์เอกสารและสัมภาษณ์แบบเจาะลึกบุคลากรในสายงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อศึกษาปัจจัยการทดแทนวิศวกรในด้านเทคโนโลยีการผลิต การลงทุนและลักษณะการแข่งขันการตลาด รวมถึงศึกษาความแตกต่างของลักษณะงานระหว่างวิศวกรและช่างเทคนิคจากการทำงานจริง เพื่อตรวจสอบว่าช่างเทคนิคสามารถทำหน้าที่แทนวิศวกรได้มากน้อยเพียงใด มีปัจจัยใดเอื้อหรือเป็นอุปสรรคในการทดแทนวิศวกรด้วยช่างเทคนิคหรือไม่ และศึกษามาตรการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาความรู้และความสามารถของช่างเทคนิค จากการศึกษาพบความแตกต่างที่สำคัญระหว่างวิศวกรและช่างเทคนิคในด้านการศึกษา คือ การศึกษาในระดับโรงเรียนทำให้วิศวกรมีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ และมีความรู้พื้นฐานทางวิศวกรรมแบบครอบคลุมหลายสาขามากกว่าช่างเทคนิค และการเรียนเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ของวิศวกรเน้นการเรียนรู้ในเชิงทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติ ส่วนช่างเทคนิคจะเรียนรู้ด้านการปฏิบัติมากกว่า แต่พบว่าช่างเทคนิคที่มีประสบการณ์และได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติมแล้วมีความเป็นไปได้ในการทำหน้าที่ทดแทนวิศวกรได้ด้วยการฝึกอบรมให้ช่างเทคนิคมีความรู้ภาษาอังกฤษและความรู้ทางวิศวกรรมในเชิงทฤษฎี ขั้นที่สองเป็นการศึกษาความพึงพอใจในงานของวิศวกรและช่างเทคนิค โดยการศึกษาจากข้อมูลคุณลักษณะประชากรตัวอย่าง คือ อายุ รายได้ และอายุงานมาหาความสัมพันธ์กับตัวแปรตาม คือ ความพึงพอใจในงาน โดยการวิเคราะห์ความถดถอยพบว่า ไม่มีค่าสหสัมพันธ์ที่เป็นนัยสำคัญทางสถิติระหว่างตัวแปร จึงสรุปได้ว่า อายุ รายได้ และอายุงาน ไม่สามารถนำมาทำนายระดับความพึงพอใจในงานได้ และเมื่อใช้ตัวแปรเพศและระดับการศึกษาเพื่อหาความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงาน โดยการวิเคราะห์ค่าสถิติ Chi-square พบว่าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างตัวแปรเช่นกัน จึงสรุปได้ว่าตัวแปรเพศและระดับการศึกษาไม่มีความเกี่ยวข้องกับระดับความพึงพอใจในงาน แต่จากการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาพบว่ากลุ่มประชากรตัวอย่างมีความพึงพอใจในงานในระดับพอใจ 74.2 % และพอใจมาก 21.1 % สรุปได้ว่าาประชากรตัวอย่างมีความพึงพอใจในงานที่ทำอยู่ในระดับสูงมากคือ 95.4% และมีผู้ไม่พึงพอใจในงานเท่ากับ 4.6% ผลการศึกษาพบว่า มีปัจจัยเอื้อหลายประการในการทดแทนวิศวกรด้วยช่างเทคนิค กล่าวคือ การนำช่างเทคนิคเข้ามาทดแทนวิศวกรมีข้อได้เปรียบหลายด้าน ได้แก่ 1) เกณฑ์อายุโดยเฉลี่ยของช่างเทคนิคในวัยทำงานมีค่าต่ำกว่าวิศวกร 2) อายุงานในบริษัทของช่างเทคนิคโดยเฉลี่ยสูงกว่าวิศวกร 3) อัตราค่าจ้างแรงงานโดยเฉลี่ยของช่างเทคนิคต่ำกว่าวิศวกรหนึ่งหมื่นบาทต่อคนต่อเดือน และ 4) ความพึงพอใจในงานของช่างเทคนิคสูงกว่าวิศวกรโดยเฉลี่ย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/800 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Social Research - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sirichet(Electronic).pdf | 7.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.