Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80191
Title: การรับรู้และพฤติกรรมการตอบสนองต่อฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (PM2.5) : กรณีศึกษากลุ่มมอเตอร์ไซค์รับจ้างในเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Perception and response behavior of pm 2.5 : a case study of motorcycle taxi workers in Din Daeng district, Bangkok
Authors: ศรัณณ์พักตร์ แก้วเพชร
Advisors: อุ่นเรือน เล็กน้อย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ต่อปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (PM2.5) กลุ่มผู้ประกอบอาชีพขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร รวมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะต่อการส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวกต่อปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5  ดำเนินการศึกษาโดยใช้เทคนิควิจัยเชิงปริมาณ มีขนาดกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 312 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ดังต่อไปนี้ ผลการศึกษาการรับรู้ของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพกลุ่มผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร มีระดับการรับรู้มาก และรับรู้ว่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่มีค่าเกินมาตรฐานที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ซึ่งรู้ว่าตนเองเป็นทั้งผู้รับและผู้ปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (PM2.5)  โดยผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ รู้ว่าพื้นที่ดินแดงมีค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน ส่งผลต่อการตรวจเช็คค่าฝุ่นก่อนออกจากบ้านมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01 แต่ไม่มีการใส่หน้ากาก N95 โดยผลการศึกษาด้านความรู้ทำให้ทราบว่ากลุ่มผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างยังขาดความรู้ได้เรื่อง 1) การใส่หน้ากากอนามัย 2 ชิ้นไม่สามารถจะช่วยป้องกันฝุ่น PM2.5 ได้ 2) การตรวจเช็คค่าฝุ่นผ่านแอพพลิเคชั่น 3) ความหมายของค่า AQI (ประเทศไทย) 4) เรื่องดำเนินชีวิตประจำวันสามารถช่วยลดปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 สำหรับผลการศึกษาผลกระทบและการสนองทั้ง 4 ด้าน สูงที่สุดคือ 1) ด้านเศรษฐกิจในกลุ่มผู้ที่รับรู้ต่อฝุ่นละอองมีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจจากการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการตรวจเช็คสุขภาพในกลุ่มผู้ที่รับรู้ต่อฝุ่นละออง รองลงมาคือ 2) ด้านสุขภาพมีผลกระทบทางด้านสุขภาพมีอาการ เจ็บคอ ไอ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล และอาการผื่นคันตามผิวหนัง และอาการตาแดง และ 3) ด้านสังคมมีการดำเนินชีวิตของประชาชนยุ่งยากมากขึ้นในระดับมาก สุดท้ายคือ 4) ด้านการป้อนกันมีเช็คค่าฝุ่นก่อนออกจากบ้าน และข้อเสนอแนะต่อการสร้างพฤติกรรมเชิงบวก มาตรการช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ ที่กลุ่มผู้ขับขี่ต้องการให้ส่งเสริมมากที่สุดคือ การช่วยลดค่าใช้จ่ายการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องยนต์ (รัฐช่วยออกคนละครึ่ง) รองลงมา ควรมีการให้ความรู้ที่เกี่ยวของกับฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในเรื่อง 1)การให้ความรู้ในการใส่หน้ากาก 2) การเช็คค่าฝุ่นผ่านแอพพลิเคชั่น 3) ความรู้เรื่อง ค่า AQI โดยกลุ่มที่ควรให้ความสำคัญมากที่สุดจากการศึกษาพบว่ามี 4 กลุ่มที่ไม่มีการรับรู้เรื่องของฝุ่นได้แก่ 1.กลุ่มผู้มีรายได้ต่อเดือน 10,001-15,000 2. กลุ่มที่มีระดับการศึกษามัธยมต้น-ปลาย 3.กลุ่มผู้ไม่ใส่หน้ากาก N95 4.กลุ่มผู้ที่มีโรคทางเดินหายใจ  ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางและไม่มีการรับรู้ต่อปัญหาฝุ่น จึงเป็นสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญเพราะกลุ่มผู้ขับขี่ดังกล่าวมีการใช้ชีวิตในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่นที่อันตรายโดยไม่มีวิธีการป้องกันตนเองอย่างถูกต้องอาจส่งผลเสียในเรื่องสุขภาพในระยะสั่นและระยะยาวต่อไป
Other Abstract: The purpose of this study is the perception of the problem of small particulate matter 2.5 microns (PM2.5) among motorcycle taxi drivers in Din Daeng District, Bangkok. Included making recommendations on promoting positive behaviors on the problem of dust (PM 2.5). This study uses the approach of technic in quantitative research. There was a total sample size of 312 people. The data were analyzed by statistical percentage, mean, standard deviation, and chi-square. The results of this study show that the perceived level of the small dust particles 2.5 microns (PM2.5) of motorcycle taxi drivers in Din Daeng District, Bangkok is very high. They also recognize that small dust particles 2.5 microns (PM2.5) exceed the standards and it was harmful to health and know that they are both recipients and emitters of the small dust particles 2.5 microns (PM2.5). Motorcycle taxi drivers know that the Din Daeng area has PM2.5 dust levels that exceed the standard, it was affecting the statistically significant level of dust check before leaving home at .01, but they still not wear N95 masks. The results of knowledge studies show that the group of motorcycle taxi drivers still lack knowledge of 1) Wearing two pieces of masks can't help prevent PM2.5 dust 2) Checking the dust value via the app 3) Meaning of AQI (Thailand) 4) Daily life can help reduce the problem of PM2.5 dust For the results of the study of impacts and responses in all four areas, the highest was 1) The economic aspect of those who perceived particulate matter had an economic impact from the increase in health check-up costs among those exposed to particulate matter. 2) The health aspect that affects symptoms such as sore throat, cough, sneezing, stuffy nose, runny nose, and skin rash, and red-eye symptoms 3) The social aspect, people's lives were more difficult at a high level; finally, 4) The protect aspect, they had to check the dust before leaving home. About the suggestions for creating positive behaviors Measures to help from government agencies that the most important for the group of drivers is helping to reduce engine oil change costs (The state helps out half each) Secondly, there should be knowledgeable about dust particles as small as 2.5 microns (PM2.5) in the subject of (1) educating on wearing masks. (2) Checking the dust value through the application (3) Knowledge of AQI value, In part of The group that should be the most important from the study found that there were four groups with no perception of dust (1) Monthly income group 10,001-15,000 (2) Groups with middle-high school education (3) People who do not wear N95 masks (4.) People with the respiratory disease which is a group that is fragile and has no awareness of dust problems This is why it is important to note that such drivers living in dangerous dusty areas without proper self-protection, it can be detrimental to your health in the short and long term.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พัฒนามนุษย์และสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80191
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.775
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.775
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6187280520.pdf3.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.