Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80369
Title: Global talent competitiveness index: the implication of 6 GTCI pillars on Singapore, Malaysia, and Thailand’s real GDP per capita to promote talent development
Other Titles: ดัชนีชี้วัดศักยภาพการแข่งขันด้านทรัพยากรมนุษย์โลก: ผลกระทบของ 6 ดัชนีชี้วัดศักยภาพการแข่งขันด้านทรัพยากรมนุษย์โลกระหว่างประเทศสิงคโปร์ ประเทศมาเลเซีย และประเทศไทย กับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวเพื่อพัฒนาความสามารถของทรัพยากรมนุษย์
Authors: Jintatat Chaiyapuck
Advisors: Chadatan Osatis
Other author: Chulalongkorn University. College of Population Studies
Issue Date: 2021
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: This study aims to examine the implications of the Global Talent Competitiveness Index (GTCI) against real GDP per capita. Specifically, the study aims to show the relationship between 6 GTCI variables between Singapore, Malaysia, and Thailand and explore the significance and the implications of the GTCI index in the innovation-driven economies. The conceptual framework can be elaborated through 6 GTCI indices. The first four indices in the input model are: (1) enabling and impeding talent attraction and institutional development; (2) attracting talents; (3) growing talent through formal education, lifelong learning, and access to growth opportunities; and (4) retaining talents through the support of sustainability and lifestyle in the input model. On the other hand, the two variables in the output model are: (5) vocational and technical skills and (6) global knowledge skills. This is a time-series data, and the data sets were collected from the Global Talent Competitiveness Index with a focus on Singapore, Malaysia, and Thailand from 2013 to 2021, accounting for the total of an 8-year period.  The study found that the GTCI indices of the input model; (3) grow was statistically significant and had a negative correlation; and (5) vocational and technical skills were statistically significant and positively correlated with Thailand’s real GDP per capita. On the other hand, the vocational and technical skills, and global knowledge skills were the variables in the GTCI output model that were statistically significant and had a positive relationship with Singapore’s real GDP per capita. Essentially, the result of this study illustrates that Thailand needs to prioritize its ability to grow its talent competitiveness as it has a direct negative impact on Thailand’s real GDP per capita. After the comparative examination between Singapore, Malaysia, and Thailand, the study found the correlation between GTCI indices and real GDP per capita should be examined based on each respective country’s context so that appropriate policy could be designed and matched with the condition of talent development. The Thai government should prioritize the development of vocational and technical education and global knowledge skills so that the country can expand its talent supply to match the demand of the market in the innovation-driven economic system.
Other Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของ 6 ดัชนีชี้วัดศักยภาพการแข่งขันด้านทรัพยากรมนุษย์โลก ที่ส่งผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของ 6 ดัชนีชี้วัดศักยภาพการแข่งขันด้านทรัพยากรมนุษย์โลก โดยศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเทศสิงคโปร์ ประเทศมาเลเซีย และประเทศไทย เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจถึงความสำคัญ และผลกระทบของการแข่งขันด้านทรัพยากรมนุษย์ต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญต่อการสร้างนวัตกรรม กรอบแนวคิดของการศึกษาในครั้งนี้ ผู้วิจัยเลือกใช้ 6 ดัชนีชี้วัดศักยภาพการแข่งขันด้านทรัพยากรมนุษย์โลก ประกอบด้วย 1) ปัจจัยส่งเสริมภายในประเทศที่เกี่ยวข้องกับบริบทแวดล้อมทางกฎหมาย ด้านการตลาด ด้านธุรกิจและแรงงาน (Enable)  2) การดึงดูดแรงงาน (Attract) 3) การพัฒนาแรงงานในมิติของการศึกษา การเรียนรู้ตลอดชีวิต และการเข้าถึงโอกาสในการประสบความสำเร็จ (Grow) 4) การรักษาฐานแรงงานในมิติของการดำเนินชีวิตและความยั่งยืน (Retain) ในโมเดลปัจจัยนำเข้า และ อีก 2 ตัวแปรในโมเดลผลลัพธ์ ได้แก่ 5) ทักษะสายเทคนิค (Vocational and Technical Skills) และ 6) ความรู้ความสามารถระดับสูงของแรงงาน (Global Knowledge Skills) การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบผลการเก็บข้อมูลที่ได้จากสำรวจดัชนีชี้วัดศักยภาพการแข่งขันด้านทรัพยากรมนุษย์โลก โดยใช้การวิเคราะห์ทางสถิติ ผ่านวิธีการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ของประเทศสิงคโปร์ ประเทศมาเลเซีย และประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลระหว่างปี พ.ศ. 2556 -  พ.ศ. 2564 รวมทั้งสิ้น 8 ปี ผลของการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า ดัชนีชี้วัดศักยภาพการแข่งขันด้านทรัพยากรมนุษย์โลกในหัวข้อที่ 3) การพัฒนาแรงงานในมิติของการศึกษา (Grow) มีความสัมพันธ์ทางลบ และ หัวข้อที่ 5) ทักษะสายเทคนิค (Vocational and Technical Skills) มีความสัมพันธ์ทางบวกและ มีผลกระทบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวของประเทศไทย สำหรับประเทศสิงคโปร์ ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่า ดัชนีชี้วัดศักยภาพการแข่งขันด้านทรัพยากรมนุษย์โลกในหัวข้อที่ 5) ทักษะสายเทคนิค (Vocational and Technical Skills) และหัวข้อที่ 6) ความรู้ความสามารถระดับสูงของแรงงาน (Global Knowledge Skills)  มีความสัมพันธ์ทางบวก และมีนัยสำคัญทางสถิติกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวของประเทศสิงคโปร์ จากการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยควรให้ความสำคัญกับ การพัฒนาแรงงานในมิติของการศึกษาโดยเร็วที่สุด เนื่องจากปัจจัยดังกล่าวมีผลกระทบโดยตรงกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวของประเทศไทยในเชิงลบ จากการวิเคราะห์และเปรียบเทียบความเหมือนความต่างของ ประเทศสิงค์โปร ประเทศมาเลเซีย และประเทศไทย พบว่า ความความสัมพันธ์ของ 6 ดัชนีชี้วัดศักยภาพการแข่งขันด้านทรัพยากรมนุษย์ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว ต้องคำนึงถึงบริบทของแต่ละประเทศเป็นสำคัญ ดังนั้น เพื่อการสร้างสรรค์นโยบายอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รัฐบาลไทยควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษาในด้านทักษะสายเทคนิค และความรู้ความสามารถระดับสูงของแรงงาน เพื่อที่จะเพิ่มจำนวนแรงงานให้ตรงต่อความต้องการทางทรัพยากรมนุษย์ในระบบเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญต่อการสร้างนวัตกรรม
Description: Independent Study (M.A.)--Chulalongkorn University, 2021
Degree Name: Master of Arts
Degree Level: Master’s Degree
Degree Discipline: Population Policy and Human Development
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80369
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.104
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2021.104
Type: Independent Study
Appears in Collections:Pop - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6484001051.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.