Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80418
Title: ปริมาณปรอทตามลำดับชั้นความลึกในดินตะกอนบริเวณดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม
Other Titles: Mercury content in sediment cores from Don Hoi Lot, Samut Songkram Province
Authors: สุริยพงศ์ คำโสภา
Advisors: ชวลิต เจริญพงษ์
เพ็ญใจ สมพงษ์ชัยกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ตะกอนแม่น้ำ -- ปริมาณปรอท
ดอนหอยหลอด (สมุทรสาคร)
River sediments -- Mercury content
Don Hoi Lot (Samut Songkram)
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ดอนหอยหลอดเป็นสันดอนที่ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นพื้นที่ รองรับน้ำทิ้งจากชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม ส่งผลให้มลพิษต่าง ๆ รวมถึงปรอทอาจเกิดการตกค้างและ สะสมบริเวณสันดอนก่อนไหลลงสู่อ่าวไทยตอนบน การศึกษาในครั้งนี้มุ่งเน้นศึกษาการกระจายตัวของปรอท และประเมินระดับการปนเปื้อนของปรอทตามลำดับความลึกของชั้นดินตะกอน โดยเก็บตัวอย่างในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2563 จำนวน 9 สถานี ประกอบด้วยสถานีในทิศตะวันตกเฉียงใต้ (SW) ของปากแม่น้ำแม่กลอง จำนวน 3 สถานี และในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (NE) ของปากแม่น้ำแม่กลองจำนวน 6 สถานี วิเคราะห์ ปริมาณรวมของปรอทในดินตะกอน (total mercury, T-Hg) ด้วยเทคนิค thermal decomposition atomic absorption spectrophotometry รวมถึงวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพดังนี้ ปริมาณปรอทที่สกัดได้พร้อมกับ การสกัดซัลไฟด์ระเหยในสภาวะกรด (simultaneously-extracted mercury, SE-Hg) ด้วยเทคนิค wetchemical preparation atomic absorption spectrophotometry ปริมาณซัลไฟด์ที่ระเหยในสภาวะกรด (acid volatile sulfide, AVS) ด้วยเทคนิค purge and trap (colorimetry) และปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ใน ดินตะกอน (organic carbon, OC) ด้วยเทคนิค Pregl-Dumas ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยของปริมาณ OC ในทิศ SW และทิศ NE ของปากแม่น้ำแม่กลอง มีค่าร้อยละ 0.31±0.12 และ 0.59±0.22 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ย ของปริมาณ AVS ในทิศ SW และทิศ NE ของปากแม่น้ำแม่กลอง เท่ากับ 21.90±21.32 และ 10.39±10.78 ไมโครกรัมต่อกรัม น้ำหนักแห้ง ปริมาณ T-Hg ตามลำดับชั้นความลึกในดินตะกอนบริเวณดอนหอยหลอด อยู่ ในช่วง 0.013 ถึง 0.11 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม น้ำหนักแห้ง โดยมีค่าเฉลี่ยในทิศ SW และทิศ NE ของปากแม่น้ำ แม่กลอง เท่ากับ 0.027±0.071 และ 0.047±0.024 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม น้ำหนักแห่ง ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยของ ปริมาณ SE-Hg ในทิศ SW และทิศ NE ของปากแม่น้ำแม่กลอง เท่ากับ 0.0046±0.0029 และ 0.0024±0.0013 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม น้ำหนักแห่ง ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละของปริมาณปรอทรวม เท่ากับร้อยละ 17.0 และ 5.1 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ดัชนีการสะสมเชิงธรณี (Igeo) ของปรอท บ่งชี้ว่าดินตะกอนตามลำดับชั้น ความลึกบริเวณดอนหอยหลอด ปากแม่น้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ยังไม่จัดอยู่ในสภาวะที่เรียกว่ามีมลพิษของปรอท
Other Abstract: Don Hoi Lot is a delta situated at the mouth of Mae-Klong River which receives its water from watershed areas with densely populated residential areas, intense agricultural lands and industrial estates. As a result, Don Hoi Lot may act as a conduit and an area of deposition for various pollutants including mercury flowing out into the upper Gulf of Thailand. This study aimed at assessing the mercury distribution in different sediment layers of the intertidal zone of Don Hoi Lot and evaluating the potential ecological risk of mercury contamination therein. Sediment samples were collected on August 23, 2020 at 9 statins. 6 of which were located northeast (NE) of the river mouth whereas the remainder were on the southwest (SW) side. Total mercury (T-Hg) analysis via thermal decomposition atomic absorption spectrophotometry found that overall the T-Hg content was in the range of 0.013 - 0.11 mg/kg dw. The T-Hg values in the SW stations (0.027±0.071 mg/kg dw) were lower than those from the NE stations (0.047±0.024 mg/kg dw). Simultaneously-extracted mercury (SE-Hg) as determined concurrently with acid-volatile sulfide (AVS) and measured by wet-chemical preparation atomic absorption spectrophotometry showed that the values for the SW and NE stations were 0.0046±0.0029 mg/kg dw (17.0% of T-Hg) and 0.0024±0.0013 mg/kg dw (5.1% of T-Hg), respectively. This marked difference in the mercury content from the two stations may be attributed to the different sedimentary characteristics including the amount of organic carbon (OC) content (measured via Pregl-Dumas analysis) and AVS (measured colorimetrically). The percent OC content on the SW side (0.31±0.12) was lower than that on the NE side (0.59±0.22) whereas the AVS showed the opposite trend with the SW side (21.90±21.32 μg/g dw) having the higher value than the NE side (10.39±10.78 μg/g dw). Since Don Hoi Lot is an important harvest area for razor clams and other commercial bivalves, it is imperative to assess whether the amount of mercury found in this study posts any risk to consumers. Geoaccumulation index (Igeo) value of <0 indicated sediment samples taken in Don Hoi Lot in this study were still unpolluted with respect to mercury.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80418
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-MARINE-022 - Suriyapong Kumsopar.pdf47.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.