Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80419
Title: ปรอทในเนื้อเยื่อปลาทูลังที่จับจากอ่าวไทยและปริมาณแนะนำสำหรับบริโภค
Other Titles: Mercury in mackerels caught in Gulf of Thailand and the recommended amount for consumption
Authors: ศิวนาถ แพ่งพันธ์
Advisors: สุจารี บุรีกุล
เพ็ญใจ สมพงษ์ชัยกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ปลาทู -- ปริมาณปรอท
ปลาทู -- อ่าวไทย
Mackerels -- Mercury content
Mackerels -- Gulf of Thailand
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ตัวอย่างปลาทู 109 ตัวอย่างที่จับจากอ่าวไทยด้วยเรือประมงพื้นบ้านและเรือประมงพาณิชย์ในพื้นที่จังหวัดชุมพรและประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 6 มิถุนายน จำนวน 71 ตัว และวันที่ 7 ตุลาคม 2563 จำนวน 38 ตัว นำมาวัดขนาด ชั่งน้ำหนักและแยกชนิดโดยใช้สัดส่วนระหว่างความยาวตรงรอยเว้าครีบหางและความลึกลำตัว ได้เป็นปลาลัง (Restrelliger kanagurtu) จำนวน 96 ตัว และปลาทู (Restrelliger brachysoma) จำนวน 13 ตัว จากนั้นตัดชิ้นส่วนกล้ามเนื้อใต้ครีบหลัง มาสับละเอียดและย่อยด้วยกรดไนตริกและสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต นำไปวิเคราะห์หาความเข้มข้นปรอทด้วยเทคนิค Cold Vapor Atomic Absorption Spectrophotometry (CVAAS) ระดับปรอทในเนื้อเยื่อปลาลังและปลาทูมีค่าความเข้มข้นเฉลี่ยเท่ากับ 0.011±0.007 และ 0.013±0.005 ไมโครกรัม/กรัม นน.เปียก ตามลำดับ และมีช่วงความเข้มข้นของปรอทระหว่าง 0.001-0.022 และ 0.005-0.022 ไมโครกรัม/กรัม นน.เปียก ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ทางสถิติไม่พบค่าความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P>0.05) ระหว่างระดับความเข้มข้นของปรอทกับชนิดของปลาและฤดูกาล แต่พบมีความสัมพันธ์กับความยาวลำตัวปลาและน้ำหนักตัวอย่างปลาทั้งหมดมีค่าความเข้มข้นปรอททั้งหมดไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานปรอทในเนื้อเยื่อปลา ของ Joint FAO/WHO Expert Committee on Food Additives (JECFA, 2015) คือมีค่าไม่เกิน 0.5 ไมโครกรัม/กรัม นน.เปียก ทั้งนี้ค่าสัดส่วนความเสี่ยงอันตราย (HQ) มีค่าน้อยกว่า 1 จึงไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพผู้บริโภคปลาทูและลังที่จับจากอ่าวไทยและปริมาณแนะนำสำหรับการบริโภคอย่างปลอดภัยต่อสัปดาห์ สำหรับคนไทยและคนทั่วไปที่มีนำหนักเฉลี่ย 50 และ 60 กิโลกรัมมีค่าเท่ากับ 1.84 และ 2.21 กิโลกรัม ตามลำดับ
Other Abstract: One hundred and nine mackerels were collected in the Gulf of Thailand by local and commercial fisheries in Chumphon and Prachuap Khiri Khan Provinces on June 6, and on October 7, 2020, totaling 71 and 38, respectively. Size, length, and bodyweight measured and classified using ratio of folk length and body depth into Indian mackerel (Restrelliger kanagurtu) 96 samples, and short mackerel (Restrelliger brachysoma) 13 samples. Flesh muscle near dorsal fin was dissected, and homogenized. Later, digested with nitric acid and potassium permanganate solution and analyzed using by Cold Vapor Atomic Absorption Spectrophotometry (CVAAS) technique. Mean concentration of total mercury (T-Hg) in Indian mackerels and short mackerel were 0.011+0.007 and 0.013+0.005 with the concentrations ranged between 0.001 - 0.022 and 0.005 - 0.022 μg/g wet weight, respectively. The correlation between concentration with different species and sampling season was not observed statically (P> 0.05). However, there was a relationship between T-Hg with fish size and weight. Overall, samples contained T-Hg less than the permissible level for edible fish (0.5 μg/g wet weight) from the guideline of Joint FAO/WHO Expert Committee on Food Additives (JECFA, 2015). The hazardous quotient (HQ) value for all samples were less than 1 indicating no consumption risk associated with mackerels caught in the Gulf of Thailand. The recommended safely weekly intake amount for the average person weighing 50 and 60 kg are to 1.84 and 2.21 kg, respectively.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80419
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-MARINE-020 - Siwanath Pangpunth.pdf36.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.