Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80448
Title: การตรวจหาอนุภาคโลหะหนักที่ปนเปื้อนในเลือด ปัสสาวะ และเส้นผม ของผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับธาตุโลหะหนักในประเทศไทย
Other Titles: Study of metal particle contamination in blood, urine, hair of occupational-related population with high risk contamination in Thailand
Authors: อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์. ภาควิชากายวิภาคศาสตร์
Subjects: เลือด -- ปริมาณโลหะหนัก
ปัสสาวะ -- ปริมาณโลหะหนัก
ผม -- ปริมาณโลหะหนัก
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การตรวจวัดปริมาณโลหะหนักและธาตุสารพิษในร่างกายของผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงได้รับธาตุโลหะหนักสะสมในร่างกายเป็นประเด็นสำคัญที่ควรตระหนักและให้ความสำคัญ ณ ปัจจุบันการตรวจวัดปริมาณโลหะหนักในร่างกายยังนิยมใช้สารน้ำอย่าง เลือด และ ปัสสาวะ ซึ่งบ่งชี้ปริมาณที่มีอยู่ในร่างกายและปริมาณที่ถูกขับออกจากร่างกาย โดยที่ผ่านมาการทดสอบหาธาตุโลหะหนักในเส้นผมเริ่มได้รับความสนใจและทำการศึกษากันมากขึ้น เนื่องจากเป็นตัวอย่างที่สามารถบ่งชี้การสะสมในร่างกายได้ดีกว่าตัวอย่างสารน้ำจากร่างกาย งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาหาปริมาณโลหะหนัก 8 ธาตุ ประกอบด้วย สารหนู (As) ตะกั่ว (Pb) ปรอท (Hg) แคดเมียม (Cd) โครเมียม (Cr) แมงกานีส (Mn) โคบอลต์ (Co) และ นิกเกิล (Ni) จากตัวอย่างเลือด ปัสสาวะ และเส้นผมของกลุ่มอาสาสมัครที่ทำงานอยู่ในโรงพิมพ์ จำนวน 85 คน โดยตัวอย่างเลือด ปัสสาวะ และเส้นผมจะผ่านกระบวนการย่อยจนได้ตัวอย่างเป็นของเหลว และตรวจวัดปริมาณธาตุ ด้วยเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ธาตุ Inductively Coupled Plasma Optical Emission Spectrometry (ICP-OES) ผลการศึกษาพบว่าตรวจพบโลหะหนักในตัวอย่างปัสสาวะและเส้นผม แต่ไม่พบธาตุโลหะหนักในเลือด ตรวจพบธาตุ Ni มากที่สุดทั้งในปัสสาวะและเส้นผม โดยพบอาสาสมัครที่มีธาตุ Ni ในปัสสาวะและเส้นผมร้อยละ 98.82 และ 94.12 ตามลำดับ ในปัสสาวะตรวจพบธาตุ Pb, Mn, Cd, Co, Cr และ Hg รองลงมาตามลำดับ ในเส้นผมพบจำนวนอาสาสมัครที่ตรวจพบธาตุ As, Cr, Cd และ Pb รองลงมาตามลำดับ และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณโลหะหนักที่ตรวจพบในปัสสาวะและเส้นผม ทั้งนี้ยังต้องมีการศึกษาหาค่าอ้างอิงของประชากรที่อยู่ในสภาวะแวดล้อมปกติในบริเวณที่มีความใกล้เคียงกันในอนาคต เพื่อนำมาใช้อ้างอิงในการบ่งชี้ปริมาณการสะสมที่เป็นอันตรายต่อร่างกายต่อไป
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80448
Type: Technical Report
Appears in Collections:Med - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Med_Amornpun Sereema_2018.pdf697.21 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.