Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80599
Title: การกระตุ้นซ้ำด้วยลิแกนด์ของ Toll-like receptor ชนิดต่าง ๆ ต่อการตอบสนองของแมโครฟาจ
Other Titles: Repeated stimulation by various Toll-like receptors drive specific Patterns of Tolerance on Macrophage response
Authors: วรัทยา แสงชัยสุคนธ์กิจ
Advisors: ธนาภัทร ปาลกะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: แมคโครฟาจ
ภูมิคุ้มกันด้านเซลล์
Macrophages
Cellular immunity
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ภาวะ tolerance เป็นภาวะความทรงจำที่พบได้ในแมโครฟาจ ซึ่งนำไปสู่การตอบสนองที่ เปลี่ยนแปลงไปต่อการได้รับเอ็นโดท็อกซิน (endotoxin) ซ้ำๆ หรือเป็นเวลานาน โดยภาวะ tolerance จะ เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ถูกกระตุ้นด้วยลิแกนด์ของ Toll-like receptor (TLR) ชนิดต่างๆ ดังนั้นภาวะ tolerance จึง มีบทบาทในการจำกัดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อของเจ้าบ้าน ซึ่งเป็นผลมาจาก pro-inflammatory cytokine ที่ผลิตขึ้น ปัจจุบันมีงานวิจัยมากมายที่ได้ศึกษาผลของภาวะ tolerance ที่เกิดจากการที่เซลล์ถูก กระตุ้นด้วยลิแกนด์ TLR4 แต่ยังไม่มีงานวิจัยที่ศึกษาผลของภาวะ tolerance ที่เกิดจากการที่เซลล์ถูกกระตุ้น ซ้ำด้วยลิแกนด์ TLRs ชนิดต่างๆ งานวิจัยนี้จึงศึกษาผลของการกระตุ้นซ้ำด้วยลิแกนด์ TLRs ชนิดต่างๆ ได้แก่ TLR4 ที่มีลิแกนด์เป็น Lipopolysaccharides (LPS), TLR2 ที่มีลิแกนด์เป็น Pam3CysSerLys4 (Pam3CSK4), TLR3 ที่มีลิแกนด์เป็น Polyinosinic-polycytidylic acid (poly(I:C)) และ TLR9 ที่มีลิแกนด์ เป็น CpG Oligodeoxynucleotide (CpG) ต่อการผลิตไซโตไคน์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ และตรวจวัดระดับ การแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับภาวะ tolerance ใน Hoxb8 แมโครฟาจ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการกระตุ้น แมโครฟาจซ้ำด้วยลิแกนด์ TLRs ชนิดต่างๆ ได้แก่ TLR2, TLR3, TLR4 และ TLR9 เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ส่งผล ให้มีการผลิต TNF-α และ IL-6 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับแมโครฟาจที่ได้รับการ กระตุ้นเฉียบพลัน ยกเว้นการกระตุ้นแมโครฟาจครั้งที่ 1 ด้วย CpG แล้วกระตุ้นครั้งที่ 2 ด้วย LPS ที่ส่งผลให้มี การผลิต IL-6 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นว่าภาวะ tolerance ในแมโครฟาจเกิดขึ้นเมื่อถูก กระตุ้นซ้ำด้วยลิแกนด์ของ TLRs ชนิดต่างๆ ได้แก่ TLR2, TLR3, TLR4 และ TLR9 ยกเว้นการกระตุ้นด้วย TLR9 แล้วตามด้วย TLR4 ที่ส่งผลให้มีการผลิตไซโตไคน์เพิ่มขึ้นหรือไม่เกิดภาวะ tolerance งานวิจัยนี้จึง แสดงให้เห็นว่าแม้ว่าโดยทั่วไปการกระตุ้นซ้ำด้วยลิแกนด์ TLRs ชนิดต่างๆ จะสามารถลดระดับการแสดงออก ของไซโตไคน์ที่ทำให้เกิดการอักเสบในเซลล์ที่เกิดภาวะ tolerance ได้ แต่ไม่ใช่ไซโตไคน์ทุกชนิดที่จะถูกลดการ แสดงออก และยังมีรูปแบบการแสดงออกของไซโตไคน์ที่หลากหลายผ่านการถูกกระตุ้นด้วย TLRs ชนิดต่างๆ อย่างจำเพาะในภาวะ tolerance ข้อมูลในงานวิจัยนี้จึงอาจเป็นพื้นฐานสำหรับการใช้ประโยชน์ในอนาคตเพื่อ พัฒนาแนวทางการรักษาโรคที่เกิดจากภาวะ tolerance ที่เกิดจากการกระตุ้นโดย TLR จำเพาะต่อการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
Other Abstract: Tolerance is an immunological memory of macrophages that leads to an altered response to repeated or chronic exposure to endotoxin. Tolerance is induced by all toll-like receptor (TLR) ligands which induce a multi-component inflammatory response. The physiological role of tolerance is to limit the potential damage to host tissue that may otherwise result from prolonged production of pro-inflammatory cytokines. However, tolerance induced by the TLR4 ligand lipopolysaccharide (LPS) is by far the best studied. Remarkably, a comparative analysis of tolerance induced by different TLR ligands has not previously been reported. Here, this study shows a comparative analysis of TLR tolerance by investigating cytokine secretion and gene expression of Hoxb8 mouse macrophages tolerized with TLR4 ligand Lipopolysaccharides (LPS), TLR2 ligand Pam3CysSerLys4 (Pam3CSK4), TLR3 ligand Polyinosinic-polycytidylic acid (poly(I:C)) a n d TLR9 ligand CpG Oligodeoxynucleotide (CpG). This study identifies that repetitive stimulation of Hoxb8 mouse macrophages with TLR2, TLR3, TLR4 and TLR9 for both 24-hour periods caused a reduction in TNF-α and IL-6 production compared to cells that were not exposed initially to any TLR ligands. Only TLR9 followed by TLR4 stimulation increased the level of IL-6. Thus, TLR tolerance in Hoxb8 mouse macrophages occurs after repetitive stimulation with TLR2, TLR3, TLR4 and TLR9 except from TLR9 followed by TLR4 stimulation which does not cause tolerance, but enhances cytokine production. However, our analysis demonstrates that although each TLR ligand generally represses pro-inflammatory cytokine expression in tolerant cells, all cytokines are not universally tolerized and there is a highly diverse patterns of cytokine expression distinguished TLR-specific tolerance. These data provide a basis for the future exploitation of TLR-specific tolerant states to achieve therapeutic re-programming of the innate immune response.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80599
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-MICRO-031 - Varattaya Sa_2563.pdf24.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.