Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80617
Title: Association between Ambient Fine Particulate Matter and Hospital Admissions for Ophthalmic Diseases in Upper Northern, Thailand: A Time-stratified, Case-crossover Study
Other Titles: ความสัมพันธ์ระหว่างฝุ่นละอองขนาดเล็กและการเข้ารับการตรวจโรคตาและส่วนประกอบของตาในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ประเทศไทย : การศึกษาแบบไทม์-สตราติฟายด์ เคส-คอร์สโอเวอร์
Authors: Nichaphan Kasikam
Advisors: Sitthichok Puangthongthub
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Subjects: ฝุ่น -- ผลกระทบทางสรีรวิทยา
ตา -- โรค -- ไทย (ภาคเหนือ)
Dust -- Physiological effect
Eye -- Diseases -- Thailand, Northern
Issue Date: 2020
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Fine particulate matter poses problematic worldwide pollution and has been a major health concern in upper northern Thailand. The eye and its adverse effects are one of the most obvious complaints as a frontline organ is directly exposed especially when ambient PM₂.₅ is acute. Yet, epidemiological studies to investigate the acute association between PM2.5 and the eye and adnexa diseases have been lacking. This work analyzed inpatient cases (n = 192,545) of the eye and adnexa diseases (code H00 - H59) in 118 hospitals across 9 upper north provinces of Thailand, 2016 to 2020, given by the Information and Communication Technology Center, Ministry of Public Health. For PM₂.₅ exposure assessment, 15 monitoring stations of the Pollution Control Department were acquired for air pollutants and meteorological indicators. Their hourly measurements were then aggregated to daily average lagged days 0 - 7 and were assigned to their neighborhood hospitals for inpatient exposure. A time-stratified casecrossover design controlling for the day of the week and season trend and multivariate conditional logistics regression adjusted for PM₁₀, O₃, temperature, and relative humidity were performed by the R® program. The associations were analyzed and stratified for the season, sex, age, and sub-diseases. The association of PM₂.₅ exposure below the daily standard was also examined. Results showed significant correlation coefficients of PM₂.₅ and others: PM₁₀, O₃, and relative humidity at 0.92 (p < 0.001), 0.71 (p < 0.001) and -0.62 (p < 0.001) respectively. Adjusted odds ratios and their confidence intervals (ORs and CIs) disclosed statistically significant risk for the increase in PM₂.₅ level per interquartile range (IQR) rising of 26 μg/m³. An increase in PM₂.₅ was found associated with the increment of the eye and adnexa inpatient visits (1.04, 95% CI: 1.02 - 1.07, p < 0.001, lag 6). The association was riskiest in the hot (1.23, 95% CI: 1.17 - 1.29, p < 0.001, lag 6) following by the wet raining season (1.10, 95% CI: 1.08 - 1.12, p < 0.001, lag 0) and no positive association observed in the cold season. For the subgroup, risks of the eye and adnexa diseases were slightly higher in males (1.05, 95% CI: 1.03 - 1.07, p < 0.001, lag 6) than females and also in younger cases (≤65 y) (1.05, 95% CI: 1.01 - 1.09, p = 0.010, lag 6) than older cases (>65y). Sub-disease risks were elevated significantly such as disorders of refraction and accommodation (1.63, 95% CI: 1.16 - 2.29, p = 0.005, lag 6), conjunctivitis (1.34, 95% CI: 1.21 - 1.48, p < 0.001, lag 2), keratitis (1.22, 95% CI: 1.00 - 1.47, p = 0.043, lag 6), other diseases of the eye and adnexa (1.13, 95% CI: 1.01 - 1.25, p = 0.026, lag 1), cataract (1.05, 95% CI: 1.02 - 1.09, p = 0.003, lag 6), and blindness (1.03, 95% CI: 1.02 - 1.05, p < 0.001, lag 6). For age-sub disease analysis, the increased risk was observed for glaucoma (aged > 50y, 1.10, 95% CI: 1.00 - 1.21, p = 0.040, lag 1) and strabismus (aged < 50y, 95% CI: 1.01 - 1.62, p = 0.038, lag 7). For exposure below the PM₂.₅ standard, there was no threshold for exposure level to PM₂.₅. Thus, PM₂.₅ exposure prevention is essential to alleviate the vulnerability of the upper-northern population. Stratified risk result is an indication for PM2.5 abatement strategy development in upper northern Thailand for the season- and identified sensitive population-specificity. Future research is still in great need for bettering control of other co-pollutants when more available and for estimating other inpatient risk factors.
Other Abstract: ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM₂.₅) ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศทั่วโลก รวมถึงภาคเหนือตอนบน ประเทศไทย ในขณะเดียวกัน แม้ว่าดวงตาจะเป็นอวัยวะที่สัมผัสกับมลพิษทางอากาศโดยตรงและผลกระทบต่อสุขภาพ สามารถแสดงให้เห็นได้ชัดเมื่อ PM₂.₅ เพิ่มขึ้นอย่างเฉียบพลัน งานวิจัยเกี่ยวกับ PM₂.₅ ที่เกี่ยวข้องกับโรคตาและ ส่วนประกอบของตาในประชากรไทยยังคงไม่ได้รับการสืบค้น ข้อมูลการเข้ารับการตรวจของผู้ป่วยโรคตาและ ส่วนประกอบของตา (รหัส H00-H59) จากโรงพยาบาล 118 แห่ง ใน 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบนของประเทศ ไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ. 2563 โดยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงสาธารณสุข (n = 192,545) ถูกวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับการได้รับค่าเฉลี่ยรายวัน PM₂.₅ ตั้งแต่ 0 ถึง 7 วันให้หลัง (lag 0- 7) จากสถานีวัดฝุ่นที่ใกล้โรงพยาบาลมากที่สุด จากทั้งหมด 15 สถานีตรวจวัดมลพิษทางอากาศและตัวชี้วัด อุตุนิยมวิทยารายชั่วโมง โดยกรมควบคุมมลพิษ ความสัมพันธ์ดังกล่าวถูกวิเคราะห์ตามฤดูกาล เพศ อายุ และ โรคย่อยตาและส่วนประกอบของตา โดยวิธีทางสถิติการออกแบบแบบแบ่งช่วงของเวลาและแบบจำลองการ ถดถอยโลจิสติกแบบหลายตัวแปรและมีเงื่อนไขซึ่งปรับค่าด้วย PM₁₀, O₃, อุณหภูมิ และ ความชื้นสัมพัทธ์ ดำเนินการโดยโปรแกรม R® การศึกษานี้ยังได้วิเคราะห์หาความสัมพันธ์เมื่อได้รับ PM₂.₅ ระดับต่ำกว่า มาตรฐานคุณภาพอากาศของไทยด้วย ผลการศึกษาพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญของ PM₂.₅ และตัวแปรอื่นๆ ได้แก่ PM₁₀, O₃ และความชื้นสัมพัทธ์ มีค่าเท่ากับ 0.92 (p < 0.001), 0.71 (p < 0.001) และ -0.62 (p < 0.001) ตามลำดับ ความเสี่ยงที่ตัดผลจากตัวแปรอื่นและระดับนัยยะสำคัญ (ORs and CIs) ถูกคำนวณว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยยะสำคัญกับความเข้มข้นรายวันของ PM₂.₅ ที่เพิ่มขึ้น 26 μg/m³ ต่อช่วงพิสัยระหว่างควอไทล์ (IQR) การเพิ่มขึ้นของความเข้มข้นของ PM₂.₅ มีความสัมพันธ์อย่างมี นัยสำคัญกับการเพิ่มขึ้นของการเข้ารับการตรวจของผู้ป่วยโรคตาและส่วนประกอบของตา (1.04, 95% CI: 1.02 - 1.07, p < 0.001, lag 6) ปริมาณความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นพบในช่วงฤดูร้อน (1.23, 95% CI: 1.17 - 1.29, p < 0.001, lag 6) และฤดูฝน (1.10, 95% CI: 1.08 - 1.12, p < 0.001, lag 0) และไม่พบความเสี่ยง ใด ๆ ระหว่างฤดูหนาว ความเสี่ยงต่อโรคตาและส่วนประกอบของตาควรคำนึงถึงอย่างมากในประชากรผู้ชาย (1.05, 95% CI: 1.03 - 1.07, p < 0.001, lag 6) และประชากรที่อายุน้อยกว่า 65 ปี (1.05, 95% CI: 1.01 - 1.09, p = 0.010, lag 6) ความเสี่ยงของโรคตาและส่วนประกอบของตาหลายโรคควรได้รับการสนใจ ทั้งความ ผิดปกติของสายตาและการเพ่งมอง (1.63, 95% CI: 1.16 - 2.29, p = 0.005, lag 6), เยื่อบุตาอักเสบ (1.34, 95% CI: 1.21 - 1.48, p < 0.001, lag 2), กระจกตาอักเสบ (1.22, 95% CI: 1.00 - 1.47, p = 0.043, lag b 6), โรคตาอื่น ๆ (1.13, 95% CI: 1.01 - 1.25, p = 0.026, lag 1), ต้อกระจก (1.05, 95% CI: 1.02 - 1.09, p = 0.003, lag 6), และตาบอด (1.03, 95% CI: 1.02 - 1.05, p < 0.001, lag 6) การวิเคราะห์อายุและโรค ย่อยพบความเสี่ยงที่เพิ่มของโรคต้อหิน (aged > 50y, 1.10, 95% CI: 1.00 - 1.21, p = 0.040, lag 1) และ ตาเหล่ (aged < 50y, 95% CI: 1.01 - 1.62, p = 0.038, lag 7) การวิเคราะห์กรณีที่ PM₂.₅ ต่ำกว่ามาตรฐาน ชี้ให้เห็นว่าผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM₂.₅ ยังคงมีอยู่ การป้องกันและลดการรับสัมผัส PM₂.₅ แม้ว่า PM₂.₅ มี ความเข้มข้นต่ำเป็นเรื่องสำคัญ ผลจากการศึกษานี้เสนอแนะว่าควรบังคับใช้มาตรการลดการรับสัมผัส PM₂.₅ ให้มีประสิทธิภาพและใช้ได้จริงมากขึ้นตามช่วงเวลาและกลุ่มประชากรที่เหมาะสมในบริเวณภาคเหนือตอนบน ของประเทศไทย การวิจัยทางระบาดวิทยาสำหรับมลพิษทางอากาศและโรคตาและส่วนประกอบของตายังควรได้รับการศึกษามากขึ้นในอนาคต
Description: In Partial Fulfillment for the Degree of Bachelor of Science Department of Environmental Science, Faculty of Science, Chulalongkorn University Academic Year 2020
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80617
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-ENVI-008 - Nichaphan Kasikam.pdf52.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.