Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8073
Title: โพรโทคอลเพื่อเพิ่มสมรรถนะการควบคุมการเข้าถึงตัวกลางในโครงข่ายแอดฮอก
Other Titles: Protocols for improving performance of media access control in ad hoc network
Authors: สมเกียรติ พรชัยวิวัฒน์
Advisors: วาทิต เบญจพลกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Watit.B@chula.ac.th
Subjects: โปรโตคอลเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบสื่อสารไร้สาย
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอกลไกการควบคุมการเข้าถึงตัวกลางในโครงข่ายแอดฮอก เพื่อเพิ่มค่าวิสัยสามารถของโครงข่ายให้สูงขึ้น ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้เสนอกลไกการเข้าถึงตัวกลาง 3 กลไกประกอบด้วย กลไกแรกเป็นการจัดแถวคอยในโครงข่ายแอดฮอก ซึ่งได้พัฒนามาจากกลไกที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการประทับตราเวลา กลไกที่สองเป็นการกำหนดความกว้างของหน้าต่างการช่วงชิงมี 4 วิธี คือ การกำหนดความกว้างของหน้าต่างการช่วงชิงตามจำนวนแพ็กเกตในบัฟเฟอร์ของโนดที่พิจารณา การกำหนดความกว้างของหน้าต่างการช่วงชิงตามอัตราส่วนของจำนวนการส่งแพ็กเกตของโนดที่พิจารณาและของโนดถัดไป การกำหนดความกว้างของหน้าต่างการช่วงชิงตามจำนวนแพ็กเกตในบัฟเฟอร์ของโนดที่พิจารณาและของโนดถัดไป การกำหนดความกว้างของหน้าต่างการช่วงชิงตามจำนวนแพ็กเกตในบัฟเฟอร์ของโนดที่พิจารณา ของโนดก่อนหน้าและของโนดถัดไป โดยกลไกการกำหนดความกว้างของหน้าต่างการช่วงชิงทั้ง 4 วิธี มีเป้าหมายเดียวกัน คือ เพื่อลดจำนวนแพ็กเกตที่ถูกดร็อป เนื่องจากบัฟเฟอร์ล้นในโนดถัดไป ส่วนในกลไกที่สามเป็นกลไกในการลดเวลารอคอยในการส่งแพ็กเกต ซึ่งในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอกลไกวิธีการลดเวลารอคอยในการส่งแพ็กเกต 2 วิธี คือวิธี Fast Decreasing Backoff และวิธี Conditional Renewal Backoff โดยผลการทดสอบที่ได้แสดงให้เห็นว่าเมื่อนำกลไกต่างๆนำมาใช้ร่วมกันอย่างเหมาะสมจะทำให้สมรรถนะของการทำงานดีขึ้น เช่น การนำกลไกการกำหนดความกว้างของหน้าต่างการช่วงชิงตามจำนวนแพ็กเกตในบัฟเฟอร์ของโนดที่พิจารณาและของโนดถัดไปร่วมกับการใช้กลไกการลดค่าเวลารอคอยในการส่งแพ็กเกตจะส่งผลให้ได้ค่าอัตราส่วนการส่งแพ็กเกตข้อมูลสำเร็จที่สูงสุด โดยที่ค่าประวิงเวลาเฉลี่ยจากปลายถึงปลายต่ำกว่าแบบแผนการเข้าถึงตัวกลางตามมาตรฐาน IEEE 802.11 และมีค่าความยุติธรรมของการส่งแพ็กเกตที่ใกล้เคียงกับกลไกอื่นๆ
Other Abstract: This thesis proposes new media access control mechanisms in ad hoc network. The objective of the proposed mechanisms is to improve the throughput of network. There are three mechanisms of media access that are proposed in this thesis. The first mechanism is packet queuing in ad hoc network that is developed from a time-stamp based mechanism. The second mechanism consists of four approaches of contention window assigning: assign contention window according to the number of packets in each node, the sent ratio of the number of sent packets of each node and that of next node, the number of packets in buffer of considered node and in that of next considered node and the number of packets in buffer of considered node, previous and next considered node. The objective of these approaches is to reduce the number of drop packets in next node because of buffer overflow. The third mechanism consists of two approaches of reducing waiting time mechanisms: Fast Decreasing Backoff (FDB) and Conditional Renewal Backoff (CRB). Simulations results reveal that when choosing these algorithms to work together appropriately. The performance will increase e.g. assigning the contention window according to the number of packets in buffer of considered node and in that of next considered node and waiting time reduction mechanism gives the highest data delivery ratio while the averaged end-to-end delay is shorter than that with IEEE 802.11 media access control and the fairness is close to other mechanisms.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8073
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1382
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1382
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somkiat.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.