Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80988
Title: การพัฒนาเครื่องมือประเมินคุณภาพชีวิตประจำวันโดยผู้ป่วยหรือผู้ดูแลเพื่อการบริบาลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย
Other Titles: Development of a daily quality of life assessment tool by patients or caregivers for end-stage cancer patient.
Authors: พรทิพย์ ปรีชาไชยวิทย์
Advisors: จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องมือการรายงานผลเกี่ยวกับภาวะสุขภาพด้วยตนเองสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง (PROMs-TCP) และทดสอบความตรงและความเที่ยงของเครื่องมือ PROMs-TCP 2) การพยากรณ์สถานะสุขภาพด้วยแบบจำลอง Markov การศึกษาประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การพัฒนาเครื่องมือใช้เทคนิคการทบทวนวรรณกรรม ร่วมกับการประชุมกลุ่มย่อย ในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และกลุ่มพยาบาลที่ปฏิบัติงานในคลินิกดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง และทดสอบความถูกต้องของเนื้อหาโดยการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ 2) การทดสอบความตรงและความเชื่อถือได้ของเครื่องมือ โดยเก็บข้อมูลนาน 10 วัน ในอาสาสมัคร จำนวน 169 ราย ตรวจสอบความถูกต้องตามเกณฑ์ ความตรงเชิงจำแนก ความไวต่อการเปลี่ยนแปลง และความน่าเชื่อถือภายในและภายนอก 3) การพยากรณ์สถานะสุขภาพด้วยแบบจำลอง Markov ผลการศึกษาพบว่า เครื่องมือประเมินคุณภาพชีวิตโดยผู้ป่วยหรือผู้ดูแลเพื่อการบริบาลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย หรือเครื่องมือการรายงานผลเกี่ยวกับภาวะสุขภาพด้วยตนเองสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง (PROMs-TCP) ประกอบด้วย 6 ข้อคำถาม ความถูกต้องของเนื้อหารายข้อคำถาม (I-CVI) อยู่ระหว่าง 0.8 ถึง 1 และความถูกต้องของแบบสอบถามทั้งฉบับ (S-CVI) เท่ากับ 0.97 ความสัมพันธ์ระหว่าง PROMs-TCP และ Palliative care Outcome Scale (POS) อยู่ในระดับปานกลางถึงสูง (r = -0.7 ถึง -0.8) เครื่องมือ PROMs-TCP มีจุดตัดที่ 4 คะแนน คัดกรองสถานะสุขภาพไม่ดี ภายใต้พื้นที่ใต้โค้ง Receiver Operating Characteristic (ROC) เท่ากับ 0.91 (95% CI 0.90, 0.93) ความไวร้อยละ 76.91 ความจำเพาะร้อยละ 88.67 การทดสอบความเชื่อถือได้ของเครื่องมือ พบว่ามีความสอดคล้องภายในอยู่ในระดับดี ค่า Cronbach’s alpha coefficient = 0.85 ความสอดคล้องภายนอกระหว่างผู้ป่วยกับผู้ดูแล และระหว่างผู้ป่วยกับพยาบาลที่ให้การดูแล อยู่ในระดับปานกลางถึงดี (Cohen's Weighted Kappa = 0.76 ถึง 0.83) และการเปลี่ยนแปลงของคะแนนในแต่ละช่วง T0-T1 ระหว่าง PROMs-TCP กับ POS มีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับปานกลาง โดยมีค่า r ระหว่าง 0.5 - 0.7 และมีขนาดของการเปลี่ยนแปลงทั้งแบบประเมิน PROMs-TCP และ POS อยู่ในระดับต่ำ Effect size (ES) = 0.36 และ 0.33 ตามลำดับ การพยากรณ์สถานะสุขภาพด้วยแบบจำลอง Markov พบว่ากลุ่มผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองที่บ้านจะเสียชีวิตเร็วกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลที่โรงพยาบาล แต่มีคุณภาพชีวิตดีกว่า สรุป เครื่องมือ PROMs-TCP มีความเหมาะสมสำหรับการตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง
Other Abstract: The purpose of this study was to developed and validated a simple Patient-Reported Outcome Measures for Terminally ill Cancer Patients Receiving Palliative Care (PROMs-TCP) and forecasting health status with the Markov model. The study consists of three steps as follows: 1) The development of a tool using literature review techniques together with focus groups among experts. and a group of nurses working in a palliative care clinic and testing content validity by expert’s assessment 2) testing the validity and reliability by conducting longitudinal study for ten days on 169 participants, confirm with criterion-related validity, Discriminant validity, sensitivity to change and internal and external reliability 3) predicting health status with the Markov model. The study results showed A new PROMs-TCP 6-item quality-of-life questionnaire was developed. The CVI of the instrument at the item-level (I-CVI) were between 0.8 to 1 and at the scale-level average agreement (S-CVI) was 0.97. Patients' responses to the PROMs-TCP revealed moderate-to-high correlations with Palliative care Outcome Scale (POS) (r = -0.7 to -0.8). Moreover, PROMs-TCP cross cutting score is 4 for unwell health status by Area under the Receiver Operating Characteristic curve (AUC) shown 0.91 (95% CI 0.90, 0.93) with sensitivity of 76.91%, specificity of 88.67%. Good internal consistency reliability (Cronbach's α = 0.85) was shown. External consistency between patient and caregiver and between the patient and the nurse providing care, it was moderate to good agreement (Cohen's Weighted Kappa = 0.76 to 0.83). Finally, score changing at T0-T1 between PROMs-TCP and POS found in low level with effect size (ES) score at 0.36 and 0.33 respectively. Forecasting health status with the Markov model found that those with advanced cancer who received palliative care at home died faster than those who received hospital care. but had better quality of life. CONCLUSIONS: The PROMs-TCP tool is appropriate for the health screening of terminally ill cancer patients receiving palliative care.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80988
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.549
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.549
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5874757830.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.