Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81043
Title: | ศิลปะภาพถ่าย: อัตลักษณ์บนเรือนร่าง |
Other Titles: | Fine art photography: the identity on body |
Authors: | เอกอมร ภัทรกิจพงศ์ |
Advisors: | กมล เผ่าสวัสดิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยเชิงสร้างสรรค์หัวข้อ ศิลปะภาพถ่าย: อัตลักษณ์บนเรือนร่าง มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะผ่านการหยิบยืมภาษาและวิธีการแสดงออกจากผลงานศิลปะป๊อป อาร์ต (Pop Art) และกระแสเคลื่อนไหวทางศิลปะกลุ่ม เดอะ พิคเจอร์ส เจเนอเรชั่น (The Pictures Generation) และ2. เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่นำอัตลักษณ์ของแบรนด์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกจากสินค้าบนเรือนร่าง มาใช้ในการสำรวจและทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบความหมายและคุณค่าเชิงสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของแบรนด์ ที่มีบทบาทความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมบริโภคร่วมสมัย การสร้างสรรค์ผลงานมีกรอบคิดมาจากการทบทวนแนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมบริโภคแบรนด์ และวัฒนธรรมทางสายตา นำมาสู่แนวความคิดในการใช้อัตลักษณ์ที่มองเห็นได้ (graphical identity) ของแบรนด์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกมาแสดงออกทางศิลปะ ภายใต้เนื้อหาที่กำหนดขึ้นจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับที่ผู้วิจัยพบเห็นในชีวิตประจำวัน และการลงพื้นที่สำรวจตลาดนัดกลางคืนเซฟวัน จังหวัดนครราชสีมา แนวทางการสร้างสรรค์ผลงานเป็นรูปแบบการหยิบยืม (Appropriation) ภาษาและวิธีการแสดงออกทางศิลปะจากป๊อป อาร์ต (Pop Art) และกระแสเคลื่อนไหวทางศิลปะกลุ่ม เดอะ พิคเจอร์ส เจเนอเรชั่น (The Pictures Generation) ซึ่งมีส่วนช่วยในการสื่อสารเนื้อหาและถ่ายทอดแนวคิด จากกระบวนการสร้างสรรค์ทำให้ได้ผลงานศิลปะจากสื่อภาพถ่ายและโปรแกรมตกแต่งภาพในคอมพิวเตอร์ จำนวน 4 ชุด โดยผลงานได้สะท้อนและเน้นย้ำให้เห็นถึงสาระสำคัญเกี่ยวกับกลิ่นอาย (aura) ของแบรนด์ที่ปรากฏขึ้นในการรับรู้ผ่านการทำงานของ รูปร่าง รูปทรง สี ตัวอักษร ตลอดจนลวดลายบางอย่าง เผยให้เห็นแง่มุมความสัมพันธ์กับรูปแบบการใช้เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับที่มีรูปลักษณ์ให้การสื่อสารถึงแบรนด์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกในบริบทของสังคมไทยที่คุ้นชิน นอกจากนี้ จากกระบวนการสร้างสรรค์ทำให้ได้ข้อค้นพบจากการนำสีอัตลักษณ์ของแบรนด์มาแสดงออก ซึ่งให้ผลทางการรับรู้แตกต่างไปจากรูปแบบผลงานศิลปะแนวนามธรรมที่มักอิงอยู่กับการรับรู้ตามหลักทฤษฎีสีหรือจิตวิทยาสี แสดงให้เห็นถึงการขยายขอบเขตการแสดงออกด้วยสีในงานศิลปะที่เชื่อมโยงอยู่กับวัฒนธรรมบริโภคและการรับรู้ต่ออัตลักษณ์ของแบรนด์ |
Other Abstract: | This research on the topic of Fine Art Photography: The Identity on Body has the following purposes: 1. to study ways to create works of art through appropriation of language and expressions from pop art and The Pictures Generation art movement and 2. to create works of art that draw on world-renowned brand identity from body products to explore and understand the brand's cultural symbolic meanings and values towards the brand’s role and relationship with contemporary consumer culture. The concept of creativity comes from rethinking brand consumer culture and visual culture, bringing to mind the use of the world-renowned brand's graphical identity, expressed through art under the content established by analyzing and synthesizing information about the styles of clothing and accessories that the researcher encounters in daily life and field trips to Save One Night Market, Nakhon Ratchasima Province. The approach to creating works is a form of language appropriation and artistic expressions from Pop Art and The Pictures Generation art movement, which help to communicate content and convey ideas. Through the creative process, 4 sets of artworks from photographic media and computer image editing programs have been produced. The works reflect and emphasize the essence of the brand's aura that is perceived through work. Certain forms, shapes, colors, characters and motifs reveal aspects of their relationship with the use of apparel and accessories that look to communicate a world-renowned brand that is familiar in the context of a brand. In addition, from the creative process, findings were obtained by expressing the color of the brand's identity which produces different perceptions from abstract art forms that are often based on theoretical perceptions of color or color psychology. This demonstrates the expansion of color expression in art that is linked to consumer culture and brand identity awareness. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | ศิลปกรรมศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81043 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1013 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2021.1013 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5986848335.pdf | 12.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.