Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81046
Title: | การออกแบบเรขศิลป์สำหรับเศรษฐกิจขี้เกียจ : กรณีศึกษาธุรกิจบริการส่งอาหาร |
Other Titles: | Graphic design for the lazy economy : a case study of the food delivery business |
Authors: | พชร บุตตะโยธี |
Advisors: | อารยะ ศรีกัลยาณบุตร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เศรษฐกิจขี้เกียจเป็นธุรกิจแนวใหม่ ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่ต้องการความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต สามารถเก็บแรงหรือเวลาไว้ไปทำอย่างอื่นได้ ถือเป็นแรงผลักดันที่ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ต้องปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ธุรกิจที่เป็นกระแสสำคัญในปัจจุบันนี้คือ ธุรกิจบริการส่งอาหาร (Food Delivery) ทว่าธุรกิจนี้ยังมีช่องว่างทางการตลาดที่ยังไม่คลอบคลุมพฤติกรรมของคนไทยบางส่วนที่ยังคงต้องการความสะดวกสบายมากกว่าเดิม งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นการออกแบบเรขศิลป์สำหรับเศรษฐกิจขี้เกียจ กรณีศึกษาธุรกิจบริการส่งอาหาร โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อหากลยุทธ์สำหรับธุรกิจในเศรษฐกิจขี้เกียจ กรณีศึกษาธุรกิจบริการส่งอาหาร 2) เพื่อหาแนวทางการออกแบบแอปพลิเคชันสำหรับเศรษฐกิจขี้เกียจ กรณีศึกษาธุรกิจบริการส่งอาหาร 3) เพื่อหาแนวทางการออกแบบโฆษณาสำหรับเศรษฐกิจขี้เกียจ กรณีศึกษาธุรกิจบริการส่งอาหาร โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพรูปแบบ Practice Based Research ในการทำงานสร้างสรรค์โดยให้การปฏิบัติเป็นเครื่องมือนำไปสู่ความรู้ใหม่ การวิจัยครั้งนี้มี 2 ด้านที่ผู้วิจัยศึกษา คือ 1. ด้านการออกแบบแอปพลิเคชัน 2. ด้านการออกแบบโฆษณา โดยวิธีวิจัยด้านการออกแบบแอปพลิเคชัน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) เก็บรวบรวมวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 2) สร้างเครื่องมือในการวิจัยครั้งที่ 1 3) เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ครั้งที่ 1 ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 3 ท่าน และเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์กลุ่มย่อย (Focus group) โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 16 ท่าน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 8 ท่าน แบ่งกลุ่มตามเพศ 4) สร้างเครื่องมือในการวิจัยครั้งที่ 2 5) เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ครั้งที่ 2 จากผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มตัวอย่างเดิม ด้วยวิธีการเดิม ส่วนวิธีวิจัยด้านการออกแบบโฆษณา ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) เก็บรวบรวมวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 2) สร้างเครื่องมือในการวิจัย 3) เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 3 ท่าน และเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์กลุ่มย่อย (Focus group) โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 16 ท่าน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 8 ท่าน แบ่งกลุ่มตามเพศ ผลการศึกษาด้านกลยุทธ์พบว่าจุดขายสำคัญคือ 1) มีบริการช่วยคิดคัดเลือกเมนูอาหารอัตโนมัติ 2) มีบริการสั่งอาหารหลายมื้อได้ในครั้งเดียว 3) มีบริการจัดส่งที่ผู้ใช้ปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ ผลการศึกษาด้านประชากรพบว่ากลุ่มเป้าหมายหลักคือคนใน Generation Y มีพฤติกรรมรักสบาย ต้องการบริการที่สะดวกสบาย ประหยัดแรง ประหยัดเวลา ผลการศึกษาแนวทางในการออกแบบเรขศิลป์ด้านการออกแบบแอปพลิเคชันพบว่า แนวโน้ม Soft shadows เป็นแนวโน้มที่เหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือแนวโน้ม Mixing photography with graphics และ Glassmorphism ซึ่งกลุ่มเพศชายพึงพอใจกับแนวโน้ม Mixing photography with graphics มากกว่า ในขณะที่กลุ่มเพศหญิงพึงพอใจกับแนวโน้ม Glassmorphism มากกว่า ลำดับถัดมาที่มีความเหมาะสมในการนำไปใช้งานต่อได้ คือแนวโน้ม 3D Graphics ส่วนแนวโน้ม Brutalism และ Geometric เป็นแนวโน้มที่ไม่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและธุรกิจนี้ ผลการศึกษาแนวทางในการออกแบบเรขศิลป์ด้านการออกแบบโฆษณาพบว่า จุดจับใจด้านความคุ้มค่าในการซื้อและการทำงาน (Price or Value appeal) เป็นจุดจับใจที่เหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือจุดจับใจด้านอารมณ์ขัน (Humor appeal) ลำดับถัดมาคือจุดจับใจด้านความเป็นตัวเอง (Ego appeal) และจุดจับใจด้านประสาทสัมผัส (Sensory appeal) ซึ่งกลุ่มเพศชายพึงพอใจกับจุดจับใจด้านความเป็นตัวเอง (Ego appeal) มากกว่า ในขณะที่กลุ่มเพศหญิงพึงพอใจกับจุดจับใจด้านประสาทสัมผัส (Sensory appeal) มากกว่า ส่วนจุดจับใจด้านความกลัวหรือความโกรธ (Fear or Anger appeal) และจุดจับใจด้านเพศ (Sex appeal) เป็นจุดจับใจที่ไม่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและธุรกิจนี้ |
Other Abstract: | Lazy economy is a new marketing originated from consumer behavior with the need for convenience in life and the ability to save energy and time to do other things. It is the driving force that makes businesses to adapt themselves to meet the changing consumption. The main trend business today is food delivery business, but it still has a gap in the market that does not cover the behavior of some Thai people who still need more convenience. This research focuses on graphic design for the lazy economy: a case study of food delivery business. The objectives are as follows: 1) To find strategies for businesses in the lazy economy: a case study of food delivery business. 2) To come up with guidelines for designing applications for the lazy economy: a case study of food delivery business. 3) To find out how to design an advertising for a lazy economy: a case study of food delivery business. The research method is by using a qualitative research model of practice-based research in creative work by using practice as a tool to discover the new knowledge. This research has 2 aspects studied by the researcher which are 1. Application design 2. Advertising design. The application design research method consists of 5 steps as follows: 1) collect and review literature. 2) research instrument development for phase 1. 3) collect and analysis data for phase 1 by in-depth interview of 3 experts and collect data from focus group interview by using method of purposive sampling of 16 people, divided into 2 groups of 8 people each by gender. 4) develop instrument for phase 2. 5) collect and analyst data for phase 2 by the same method with the same experts and sampling. The finding for the business strategy in term of the key selling point was 1) automatic menu selection assistance. 2) multiple meals order at one time. 3) user-adjustable delivery services. The result of the demographic study found that the main target group is people in Y generation who needed a more comfortable lifestyle and convenience with energy and time-saving services. A study of graphic design trends found that soft shadows trend was the most appropriate trend followed by mixing photography with graphics trend and Glassmorphism trend. Males were more preferred with mixing photography with graphics, while females were more preferred with the Glassmorphism trend. The next preferred trend is the 3D Graphics trend, while the Brutalism and Geometric trends were not suitable for this target group and the business. The results of the study for graphic design guidelines in advertising design found that price or value appeal is the most appropriate attraction. followed by humor appeal, followed by ego appeal and sensory appeal. Males were more satisfied with ego appeals, while females were more satisfied with sensory appeals than fear or anger. Sex appeal are not suitable for the target group and this business. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นฤมิตศิลป์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81046 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.645 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2021.645 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6186721835.pdf | 11.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.