Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81048
Title: ลวดลายจิตรกรรมและประติมากรรมประดับเรือนเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
Other Titles: Decorative ornaments of paintings and sculptures in Chaophraya Abhaibhubejhr
Authors: บุระเฉลิม ยมนาค
Advisors: จีราวรรณ แสงเพ็ชร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่อง จิตรกรรมและประติมากรรมประดับเรือนเจ้าพระยาอภัยภูเบศร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบ พัฒนาการ ความเป็นมา และกระบวนการเชิงช่าง ตลอดจนความหมายเชิงสัญลักษณ์ของลวดลายจิตรกรรมประดับเรือนเจ้าพระยาอภัยอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี โดยอาศัยวิธีการศึกษาจากหลักการตกแต่งสถาปัตยกรรมแบบยุโรป ผนวกกับการเปรียบเทียบลวดลายประดับของอาคารแบบยุโรปในประเทศไทยเพื่อกำหนดอายุ และทราบถึงระบบของการประดับตกแต่งที่มีความสัมพันธ์กับบริบทของตัวอาคารซึ่งจากการศึกษาพบว่า ลวดลายประดับภายในเรือนเจ้าพระยาอภัยภูเบศรนั้นมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับลวดลายประดับของอาคารแบบยุโรปที่ร่วมสมัยกันภายในประเทศไทย ทั้งรูปแบบและวิธีการเชิงช่าง อาทิเช่น เรือนพระยาศรีธรรมาธิราชที่มีลวดลายจิตรกรรมประดับ ซึ่งปรากฏลวดลายในกลุ่มผลไม้และพืชพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ผล และใบองุ่น โดยเป็นกลุ่มลวดลายที่ปรากฏในเรือนเจ้าพระยาอภัยภูเบศรในตำแหน่งห้องส่วนกลางของชั้นหนึ่งเช่นเดียวกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องกับบริบทของห้องและอาคารในลักษณะเดียวกัน ทั้งยังมีเทคนิคทางงานจิตรกรรมในการสร้างลวดลายที่คล้ายคลึงกัน คือ การใช้เทคนิคแม่พิมพ์ลายฉลุ(Stencil) เป็นต้นแบบสำหรับการสร้างลวดลายด้วยการลงสีบนแม่พิมพ์ ทั้งในลักษณะของการประคบและการทาสีเพื่อให้ลวดลายฉลุปรากฏขึ้นยังบริเวณที่ต้องการ ลวดลายจิตรกรรมประดับของเรือนเจ้าพระยาอภัยภูเบศรเกือบทั้งหมดล้วนเป็นลายฉลุแบบ “วิกตอเรียน(Victorian)” ลายดอกไม้ช่วงผนังเหนือซุ้มประตู ณ ห้องโถงกลางชั้น 2 ปรากฏลายแบบ “อาร์ตนูโว(Art Nouveau)” ซึ่งสร้างขึ้นด้วยเทคนิคภาพพิมพ์ลายฉลุ นอกจากนี้ลวดลายประติมากรรมประดับยังปรากฏความสำคัญ โดยเฉพาะบริเวณหน้าจั่วของอาคาร ซึ่งประดับตกแต่งด้วยลวดลายพืชสมุนไพรอันสะท้อนถึงความเป็นตัวตนของท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศร พร้อมทั้งยังเป็นเสมือนจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการผลักดันให้เรือนแห่งนี้แปรสภาพมาเป็นโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรในภายหลังอีกประการหนึ่ง
Other Abstract: The objective of this research is to study the pattern, development, background, technical process, and symbolic meaning of the decorative painting patterns of ChaoPhraya Abhai Abhaibhubejhr building in Prachinburi. The study method was derived from the principles of European architectural decoration as well as the comparison of the decorative patterns of European architecture in Thailand, particularly on the age specification. Moreover, the understanding of the decorative system, related to the building context is also included in the research. According to the study, the decorative patterns in the ChaoPhraya Abhaibhubejhr building were found that they closely correlate to the decorative motifs of contemporary European buildings in Thailand. It is not only the forms but also the craftsmanship methods. For instance, Praya Srithammathirat Residence, has fruits and plant patterns in decorative paintings such as grapes and grape leaves, which also appear in the first-floor hallway of the ChaoPhraya Abhaibhubejhr building. This connection demonstrates the similarities in the interior, architecture, and painting techniques. Using the stencil technique is a model for creating patterns on painting, by stamping and also painting to make the pattern appears in the desired area. Most of the decorative paintings of Chao Phraya Abhaibhubejhr's house are Victorian floral stencil patterns. On the second floor, the floral pattern above the arch of the chamber room has the Art Nouveau pattern which was created with the stencil technique. In addition, the herb's patterns also appear on the decorative sculpture of the building’s gable which ChaoPhraya Abhaibhubejhr was particularly interested in. Lastly, it was one of the starting points that influenced the transformation of the building to become the present ChaoPhraya Abhaibhubejhr Hospital.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทัศนศิลป์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81048
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.628
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.628
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280042635.pdf12.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.