Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81082
Title: | การเปรียบเทียบตัวแปรทางชีวกลศาสตร์ของการชกหมัดตรงระหว่างการชกด้วยท่ายืนแบบเท้านำเท้าตามและแบบเท้าขนานกันในนักมวย |
Other Titles: | A comparison of biomechanical variables in straight punch between punching with lead and rear foot stance and parallel stance in boxers |
Authors: | ภุชงค์ ศรีเพียงจันทร์ |
Advisors: | ชัยพัฒน์ หล่อศิริรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบตัวแปรทางชีวกลศาสตร์ของการชกหมัดตรงระหว่างการชกหมัดตรงด้วยท่ายืนแบบเท้านำเท้าตามและแบบเท้าขนานกันในนักมวย วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ นักกีฬามวยไทยและมวยสากลจากค่ายมวยในสังกัดกรุงเทพมหานคร อายุ 17 – 25 ปี น้ำหนัก 52 – 64 กิโลกรัม ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ผู้เข้าร่วมการวิจัยจะทำการทดสอบการชกหมักตรงด้วยแรงชกสูงสุด ในรูปแบบการชกทั้ง 4 รูปแบบ ประกอบด้วย 1. การชกด้วยท่ายืนแบบเท้าขนานกันไม่บิดลำตัว 2. การชกด้วยท่ายืนแบบเท้านำเท้าตามไม่บิดลำตัว 3. การชกด้วยท่ายืนแบบเท้าขนานกันบิดลำตัว และ 4. การชกด้วยท่ายืนแบบเท้านำเท้าตามบิดลำตัว โดยเรียงลำดับการชกด้วยวิธีการสุ่ม ซึ่งผู้เข้าร่วมวิจัยจะต้องทำการชกรูปแบบละ 5 ครั้ง ข้อมูลจากการวิจัยจะถูกนำมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way repeated measures ANOVA with post-hoc Bonferroni) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ .05 ผลการวิจัย แรงชกหมัดตรงที่ได้จากการชกทั้ง 4 รูปแบบ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<.05) โดยสามารถเรียงลำดับของแรงชกได้ดังนี้ 1. การชกด้วยท่ายืนแบบเท้านำเท้าตามบิดลำตัว 2. การชกด้วยท่ายืนแบบเท้าขนานกันบิดลำตัว 3. การชกด้วยท่ายืนแบบเท้านำเท้าตามไม่บิดลำตัว และ 4. การชกด้วยท่ายืนแบบเท้าขนานกันไม่บิดลำตัว จากผลการวิจัยพบว่าการบิดลำตัวมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างแรงชกหมัดตรง สรุปผลการวิจัย การชกหมัดตรงที่ทรงประสิทธิภาพ มีกลไกการส่งแรงเป็นไปตามหลักการห่วงโซ่คิเนติกส์ ที่กล่าวว่าแรงชกจะเกิดจากการส่งแรงจากข้อเท้าก่อนที่จะถูกส่งผ่านข้อเข่า สะโพก ไหล่ ศอก มือ และส่งไปเป็นแรงชกหมัดตรง โดยมีการหมุนของกระดูกเชิงกรานและการบิดลำตัวเป็นกลไกที่สำคัญในการแรงชกจากรยางค์ส่วนล่างไปยังรยางค์ส่วนบน |
Other Abstract: | Methods: Boxers and/or Muay Thai boxers from a boxing camp in Bangkok who were between 17-25 years of age and whose body weight was between 52-64 kg were purposively selected. The participants were asked to throw straight punches with their maximum effort in four different straight punch styles, i.e., 1. Parallel foot stance without trunk rotation, 2. Lead and rear foot stance without trunk rotation, 3. Parallel foot stance with trunk rotation, and 4. Lead and rear foot stance with trunk rotation. The punching style were randomly assigned. The participants were asked to perform 5 punches in each punching style. The obtained data were analyzed in terms of mean, standard deviation, and one-way repeated measures ANOVA with post-hoc Bonferroni at the statistically significant level of p<05. Results: Punching forces were statistically different among the four punching styles (p<.05). The order of the punching forces were 1. Lead and rear foot stance with trunk rotation, 2. Parallel foot stance with trunk rotation, 3. Lead and rear foot stance without trunk rotation, and 4. Parallel foot stance without trunk rotation. As a result, trunk rotation played critical role in creating punching force in straight punch. Conclusion: Throwing a powerful straight punch follows the concept of kinetic chain where punching force is first developed from the ankle before transferring through joints, knee, hip, shoulder, elbow, hands, and finally to punching forces. To transfer force from the lower extremity to the upper extremity, pelvic and trunk rotations are critical mechanisms. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81082 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.840 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2021.840 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6178407539.pdf | 6.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.