Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81093
Title: Association between factors related and stress, depression and suicidal risk among health care personnel during covid-19 second outbreak in Thailand
Other Titles: ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียด ซึมเศร้า และความเสี่ยงฆ่าตัวตายของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 รอบที่ 2 ในประเทศไทย
Authors: Aphichaya Polrak
Advisors: Nuchanad Hounnaklang
Other author: Chulalongkorn University. College of Public Health Sciences
Issue Date: 2020
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Health care personnel are one of most affected by COVID-19 situation. The aim of this study was to identify the prevalence of stress, depression and suicidal risk and associated factors among health care personnel during COVID-19 second outbreak in Thailand. This study was cross-sectional study, which used secondary data collected during December 17, 2020 to February 23, 2021. Total of 4,970 health care personnel participated in this research. The instruments of this research were ST-5, 9Q and 8Q. Multivariable logistic regression analysis was performed to identify factors associated with stress, depression and suicidal risk outcomes. The prevalence of stress, depression and suicidal risk in this study was 6.2%, 9.1% and 2.5% respectively. In multivariable logistic regression analysis showed that stress were significantly associated with participants who live in zone 5 (Bangkok Province) [AdjOR=2.00, 95%CI(1.30-3.07)],  who was risk group of burnout [AdjOR=22.34, 95%CI(16.52-30.22)] and who had low-moderate resilient quotient [AdjOR=14.28, 95%CI(8.56-23.81) and AdjOR=3.96, 95%CI(2.76-5.68)]. Depression was significantly associated with participants who live in zone 5 (Bangkok Province) [AdjOR=1.80, 95%CI(1.25-2.59)],  who were risk group of burnout [AdjOR=10.86, 95%CI(8.53-13.83)] and who had low-moderate resilient quotient [AdjOR=22.41, 95%CI(14.54-34.53) and AdjOR=4.95, 95%CI(3.74-6.54)]. Suiciadal risk was significantly associated with participants who live in zone 5 (Bangkok Province) [AdjOR=2.80, 95%CI(1.43-5.50)],  who were risk group of burnout [AdjOR=7.14, 95%CI(4.66-10.92)] and who had low-moderate resilient quotient[AdjOR=34.07, 95%CI(16.66-69.68) and AdjOR=5.74, 95%CI(3.01-10.95)]. That showed implication of this study reveals  that in addition to internal factors and external factors as well.    
Other Abstract: บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อระบุความชุกของความเครียด ภาวะซึมเศร้า และความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะทางสุขภาพจิตดังกล่าว ของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 รอบที่ 2 ในประเทศไทย การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง ซึ่งใช้ข้อมูลทุติยภูมิที่รวบรวมระหว่างวันที่ 17 ธันวาคม 2563 ถึง 23 กุมภาพันธ์ 2564 มีบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขเข้าร่วมทั้งหมด 4,970 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยนี้คือ ST-5 9Q และ 8Q ใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบพหุ เพื่อระบุความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียด ภาวะซึมเศร้า และความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย ความชุกของความเครียด ภาวะซึมเศร้า และความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในการศึกษานี้คือ 6.2%, 9.1% และ 2.5% ตามลำดับ ในการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบพหุ ความเครียด มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับบุคลากรที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร [AdjOR=2.00, 95%CI(1.30-3.07)] กลุ่มเสี่ยงที่มีความเหนื่อยล้าจากการทำงาน [AdjOR=22.34, 95%CI(16.52-30.22)] และกลุ่มที่มีความเข้มแข็งทางจิตใจน้อยถึงปานกลาง [AdjOR=14.28, 95%CI(8.56-23.81) และ AdjOR=3.96, 95%CI(2.76-5.68)] ภาวะซึมเศร้า มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับบุคลากรที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร [AdjOR=1.80, 95%CI(1.25-2.59)] กลุ่มเสี่ยงที่มีความเหนื่อยล้าจากการทำงาน [AdjOR=10.86, 95%CI(8.53-13.83)] และกลุ่มที่มีความเข้มแข็งทางจิตใจน้อยถึงปานกลาง [AdjOR=22.41, 95%CI(14.54-34.53) and AdjOR=4.95, 95%CI(3.74-6.54)] ความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับบุคลากรที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร [AdjOR=2.80, 95%CI(1.43-5.50)] กลุ่มเสี่ยงที่มีความเหนื่อยล้าจากการทำงาน [AdjOR=7.14, 95%CI(4.66-10.92)] และกลุ่มที่มีความเข้มแข็งทางจิตใจน้อยถึงปานกลาง [AdjOR=34.07, 95%CI(16.66-69.68) and AdjOR=5.74, 95%CI(3.01-10.95)] นัยสำคัญของการศึกษาครั้งนี้พบว่า นอกจากปัจจัยภายในที่มีความสำคัญต่อภาวะสุขภาพจิตแล้ว ปัจจัยภายนอกก็มีความสำคัญที่อาจส่งผลต่อภาวะสุขภาพจิตด้วยเช่นกัน   
Description: Thesis (M.P.H.)--Chulalongkorn University, 2020
Degree Name: Master of Public Health
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Public Health
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81093
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.406
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.406
Type: Thesis
Appears in Collections:Pub Health - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6374032253.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.