Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81287
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างความยืดหยุ่นของหลอดเลือด การทำงานของเซลล์เอนโดทีเลียม และตัวชี้วัดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองขาดเลือดเฉียบพลัน |
Authors: | ปาจรีย์ จริยวิลาศกุล กรรณิการ์ คงบุญเกียรติ ดวงนภา รุ่งพิบูลย์โสภิษฐ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Subjects: | ระบบหัวใจและหลอดเลือด -- โรค โรคหลอดเลือดสมอง สมอง -- หลอดเลือด |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ที่มา ปัจจัยเสี่ยงทางโรคหัวใจและหลอดเลือดอื่น ๆ ที่ค้นพบขึ้นใหม่ (emerging cardiovascular risk factors) ได้แก่การลดความยืดหยุ่นของหลอดเลือด (arterial stiffness) ความผิดปกติของการทำงานของเซลล์เอนโดทีเลียม (endothelial dysfunction) อาจมีส่วนสำคัญในการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบได้ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อศึกษาความแตกต่างในด้านค่าเฉลี่ยของความไม่ยืดหยุ่นของหลอดเลือดและความผิดปกติของการทำงานของเซลล์เอนโดทีเลียมในผู้ป่วยไทยที่มีหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม วิธีการศึกษา ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย และกลุ่มควบคุมที่มีอายุและเพศเข้ากันได้กับผู้ป่วย ได้รับการวัดความไม่ยืดหยุ่นของหลอดเลือดโดยใช้ SphygmoCor apparatus และวัดความผิดปกติของการทำงานของเซลล์เอนโดทีเลียมวัดโดยเครื่องมือ EndoPAT-2000 system ในระหว่างที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน และที่ 6 เดือนหลังจากการเกิดโรค ผลการศึกษา ผู้ป่วย 40 รายและกลุ่มควบคุม 36 ราย พบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันมีค่าความไม่ยืดหยุ่นของหลอดเลือดสูงกว่ากลุ่มควบคุม (CF-PWV 10.50±2.96 m/s และ 8.24±1.77 m/s ตามลำดับ p=0.000) ในทางตรงกันข้ามพบว่าผู้ป่วยมีความผิดปกติของการทำงานของเซลล์เอนโดทีเลียมน้อยกว่ากลุ่มควบคุม (RHI 2.30±0.65% และ 2.02±0.06% ตามลำดับ, p=0.056) เมื่อได้ทำการพิจารณาค่าความดันโลหิตร่วมด้วยพบว่าค่าความไม่ยืดหยุ่นของหลอดเลือดของผู้ป่วยนั้นสูงกว่ากลุ่มควบคุมจริง และเมื่อติดตามผู้ป่วยต่อไปอีกเป็นเวลา 6 เดือน พบว่าค่าความไม่ยืดหยุ่นของหลอดเลือดลดลง แต่ยังคงสูงกว่ากลุ่มควบคุม สรุปผลการศึกษา ค่าความไม่ยืดหยุ่นของหลอดเลือดของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบสูงกว่ากลุ่มควบคุม แต่ไม่พบความผิดปกติของการทำงานของเซลล์เอนโดทีเลียมในกลุ่มผู้ป่วย |
Other Abstract: | Introduction Emerging cardiovascular risk factors such as arterial stiffness and endothelial dysfunction may be important independent predictors of cerebrovascular disease. No study has evaluated arterial stiffness and endothelial dysfunction in Thai patients with acute ischemic stroke. Methods We enrolled patients diagnosed with acute ischemic stroke admitted to the Internal Medicine Department of the King Chulalongkorn Memorial Hospital. Aged-and gender-matched control subjects without cerebrovascular disease were also studied. Carotid-femoral pulse wave velocity (CF-PVW) was measured using SphygmoCor apparatus. Endothelial function was evaluated by reactive hyperemia of peripheral arterial tonometry (RH-PAT) using EndoPAT-2000 system. Results 40 patients and 36 aged-and gender-matched controls were enrolled. Stroke patients had significant increased in arterial stiffness compared to that of the controls (CF-PVW 10.50±2.96 mls vs 8.24±1.77 m/s, respectively, p = 0.000). In contrast, endothelial dysfunction was lower in stroke patients (RHI of the patients 2.30±0.6S% vs RHI of the control 2.02±0.60%, p = 0.056). After adjusted for systolic blood pressure, CF-PVW was significantly difference between the groups. The differences also presented at 6 months post stroke. Conclusion Our study shows that arterial stiffness increased in Thai patients with acute ischemic stroke compared to aged-and gender-matched controls while endothelial function was not altered. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81287 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Med - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pajaree C_Res_2556.pdf | รายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext) | 3.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.