Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81362
Title: | กลไกการกระตุ้น ERα โดย PPT ต่อพฤติกรรมการกินอาหารและระดับคอติโค โทรปิน รีลิสซิ่งฮอร์โมนในสมองของหนูแรทเพศเมียที่ถูกตัดรังไข่ : รายงานวิจัย |
Other Titles: | The mechanism of ERα activation by PPT on eating behavior in ovariecmtomized rat |
Authors: | สัมพันธ์ ธรรมเจริญ ปรมัตถ์ กิจจานุกิจวัฒนา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
Subjects: | โพรพิลไพราโซลไตรออย ตัวรับเอสโตรเจน ฮอร์โมนคอร์ติโคโทรปินรีลีสซิ่ง หนู -- อาหาร Propyl-pyrazole-triol Estrogen -- Receptors Corticotropin releasing hormone Rats -- Food |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | โพรพิลไพราโซลไตรออย (Propyl-pyrazole-triol, PPT) ยับยั้งการกินอาหารอย่างรวดเร็วโดยการกระตุ้นตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดแอลฟ่า (estrogen receptor alpha, ERα) ภายในสมอง กลุ่มผู้วิจัยได้เคยรายงานเกี่ยวกับผลการยับยั้งการกินอาหารที่รวดเร็วซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นเซลล์ประสาทที่สามารถสร้าง คอร์ติโคโทรปิน รีลิ่สซิ่ง ฮอร์โมน (Corticotropin releasing hormone, CRH) ที่สมองส่วนพาราเวนตริคูล่านิวเคลียสของไฮโปทาลามัส (paraventricular nucleus of hypothalamus, PVN) โครงการวิจัยฉบับนี้ดำเนินการเพื่อศึกษาความเชื่อมโยงของ CRH ซึ่งเป็นสารสื่อประสาท (neuromediator) และฤทธิ์ยับยั้งการกินอาหารของ PPT ในการทดลองแรกผู้วิจัยแสดงให้เห็นว่าภายใต้สภาวะการทดลองที่ทำการทดลองนี้ PPT ยับยั้งการกินอาหารในหนูพันธุ์วิสต้าเพศเมียที่ถูกตัดรังไข่ดังเช่นที่เคยถูกรายงานโดยมีระยะเวลาการออกฤทธิ์ราว 3 ชั่วโมง หลังการให้สาร และเนื่องจากผู้วิจัยได้เคยรายงานแล้วว่า PPT สามารถกระตุ้นการแสดงออกของโปรตีน ซี ฟอส (c-Fos) ที่บริเวณสมองหลายนิวเคลียส แต่ผลการทดลอง ดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับการได้รับอาหาร การทดลองในลำดับต่อมา ผู้วิจัยทำการศึกษาผลของ PPT ต่อการกระตุ้นการแสดงออกของ c-Fos โดยที่ไม่มีการให้อาหาร ผลการทดลองพบว่าจำนวนสัญญาณ c-Fos ที่นับได้จากสมองกลุ่มที่ได้รับ PPT ไม่ต่างจากกลุ่มควบคุมในทุกบริเวณ อย่างไรก็ตามเนื่องจากการให้ PPT ด้วยวิธีการดังกล่าวสามารถลดระดับของ อะดรีโนคอร์ติโคโทรปิน ฮอร์โมน (adrenocorticotropin hormone) ผู้วิจัยจึงให้เห็นผลว่าการกระตุ้น ERα โดย PPT เพียงอย่างเดียวไม่สามารถกระตุ้นการแสดงออกของ c-Fos ในสมองได้ ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยในลำดับต่อไปโดยศึกษาระดับของ CRH จากตัวอย่างสมองส่วนนิวเคลียนสต่าง ๆ ที่สนใจทั้งจากสมองส่วนหน้าและส่วนหลังในช่วงเวลาเดียวกับที่ PPT ยับยั้งการกินอาหาร ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า PPT มิได้มีผลกระทบต่อระดับของ CRH ในทุกนิวเคลียสจากสมองส่วนไฮโปทาลามัส แต่ระดับของ CRH ที่สมองส่วนท้ายบริเวณ นิวเคลียส แทรกทัสโซลิทาเรียส (nucleus tractus solitaries, NTS) จากกลุ่มที่ได้รับ PPT สูงกว่ากลุ่มควบคุม ในลำดับสุดท้าย ผู้วิจัยดำเนินการทดลองโดยใช้สารต้านตัวรับ CRH (CRH receptor antagonist, α-Helical CRF (9-41)) ปล่อยเข้าสู่สมองส่วนท้ายโดยวิธีการปล่อยสารผ่านสู่ช่องของสมองลำดับที่ 4 (the 4th cererebroventricular infusion, 4th icv) วัตถุประสงค์ของการทดลองนี้เพื่อประเมินกรณีที่ PPT ทำให้ระดับ CRH ที่สมองส่วนท้ายเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับฤทธิ์ที่ทำให้การกินอาหารลดลง เป็นที่น่าเสียใจที่ผลการทดลองพบว่าการให้ α-Helical CRF (9-41) โดยวิธีการ 4th icv อย่างต่อเนื่องเข้าสู่สมองส่วนท้ายไม่สามารถต้านฤทธิ์ของ PPT ที่มีต่อการกินอาหารได้ จากผลการทดลองทั้งหมดผู้วิจัยสรุปว่า PPT สามารถกระตุ้นเซลล์ประสาทส่วน PVN ได้ การกระตุ้นเซลล์ประสาทดังกล่าวนี้อาจทำให้ระดับของ CRH เพิ่มขึ้นที่สมองส่วนท้ายบริเวณ NTS ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการกินอาหาร |
Other Abstract: | Propyl-pyrazole-triol (PPT) inhibits food intake acutely by specifically activating estrogen receptor alpha (ERα) within the brain. We showed previously that the effect of PPT to inhibit eating was rapid and mediated in part by activate corticotropin releasing hormone (CRH) neuron at paraventricular nucleus of hypothalamus (PVN). The current experiments were performed to investigate that CRH is neuromediator participate in eating inhibitory effect of PPT. First, we demonstrated that in our condition PPT decreased eating in ovariectomized female Wistar rat rapidly similar to previous reports. The onset of PPT action was 3 h after treatment. Previously, PPT could activate c-Fos expression in several brain areas. However, the result was in part related with eating paradigm. In the current report, we investigated the expression of c-Fos after PPT treatment without eating. Interestingly, c-Fos immunoreactivity from PPT treated group was not different from control group at any brain nuclei especially at PVN. Because PPT could decrease adrenocorticotorpin hormone in the same experimental paradigm, we argued that an activation ERα by PPT per se couldn’t activate neuronal c-Fos expression. We further investigated the concentration of CRH at interested forebrain and hindbrain nuclei during the time that PPT decreased eating. It was surprising that PPT didn’t affect CRH level at any hypothalamic nuclei. However, CRH level at hindbrain nucleus tractus solitaries (NTS) from PPT treatment group was significant higher than from vehicle treatment group. Final, we performed an experiment using CRH receptor antagonist, α-Helical CRF (9-41), infused directly to hindbrain by the 4th intracerebroventricular infusion (4th icv). The aim of this experiment was to determine if PPT induced hindbrain CRH involved to eating inhibitory effect. Unfortunately, continuous 4th icv of α-Helical CRF (9-41) failed to eating inhibitory effect of PPT. Taken together, we concluded that as well as the rapid effect of eating behavior, PPT could activate PVN neuron. This activation apparently increased CRH level at hindbrain NTS at the period when PPT eating inhibitory occurred. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81362 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Vet - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sumpun T_Res_2557.pdf | รายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext) | 3.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.