Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81437
Title: การชุบเคลือบผิวนาโนคอมพอสิต Zn-Ni-Tio₂ ด้วยไฟฟ้า (ปีที่ 2)
Other Titles: Electrodeposition of Zn-Ni-Tio₂ nanocomposite coatings (Year II)
Authors: กนกวรรณ แสงเกียรติยุทธ
ปราณี รัตนวลีดิโรจน์
ยุทธนันท์ บุญยงมณีรัตน์
อดิศักดิ์ ถือพลอย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ
Subjects: การชุบเคลือบผิวด้วยไฟฟ้า
นาโนคอมพอสิต
Issue Date: 2562
Publisher: สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ทำการชุบเคลือบ Zn-Ni-TiO₂ บนแผ่นเหล็กด้วยไฟฟ้าเพื่อปรับปรุงสมบัติด้านความต้านทานการกัดกร่อนและความแข็งของผิวชุบ โดยนำ TiO₂ Sol ที่ผ่านการสังเคราะห์ด้วยเทคนิคโซลเจลมาเติมในสารละลายชุบเคลือบ Zn-Ni จากนั้นได้ศึกษาสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางเคมีของผิวเคลือบโดยทำการปรับเปลี่ยนตัวแปรในการชุบเคลือบ ซึ่งได้แก่ ความเข้มข้นของนิกเกิลไอออนและสังกะสีไอออน ค่า pH ปริมาณ TiO₂ Sol รวมถึงศึกษาผลของการชุบด้วยกระแสตรงและกระแสพัลส์ จากการศึกษาพบว่า สามารถทำการเตรียมผิวเคลือบ Zn-Ni-TiO₂ ที่ประกอบด้วย 81.31%Zn-17.09%Ni-0.59%Ti ได้จากสารละลายชุบเคลือบที่ประกอบด้วย ZnCl₂ ความเข้มข้น 10 g/l NiCl₂ ความเข้มข้น 20 g/l TiO₂ Sol 10 ml/l ที่ pH 3 โดยชุบด้วยไฟฟ้ากระแสตรงความหนาแน่นกระแส 3 A/dm² ซึ่งลักษณะสัณฐานวิทยาของผิวเคลือบ ZnNi-TiO₂ ที่ได้จาก SEM แสดงให้เห็นว่า การชุบด้วยกระแสพัลส์ให้เกรนที่มีความละเอียดกว่าการชุบด้วยกระแสตรง อย่างไรก็ตามยังคงตรวจไม่พบการเคลือบติดของ TiO₂ Sol บนผิวเคลือบ ผลการวิเคราะห์ด้วย XRD พบว่า ผิวเคลือบดังกล่าวประกอบด้วยเฟส γ–Ni₅Zn₂₁ เพียงเฟสเดียวโดยมีการจัดเรียงโครงสร้างผลึกในระนาบ 330 และ 600 สำหรับการตรวจสอบสมบัติของผิวเคลือบพบว่า ผิวเคลือบ 81.31%Zn-17.09%Ni-0.59%Ti ที่เตรียมได้จากงานวิจัยนี้มีสมบัติต้านทานการกัดกร่อนได้ดีที่สุด ซึ่งผลการวัดด้วยเทคนิคโพเทนชิโอไดนามิกโพลาไรเซชันให้ค่าอัตราการกัดกร่อนอยู่ที่ 0.051 mmpy และการทดสอบด้วยเทคนิคอิมพีแดนซ์สเปคโทรสโคปีได้ให้ผลที่สอดคล้องกัน การมีสมบัติสะท้อนน้ำได้ดีขึ้นของผิวเคลือบ Zn-Ni-TiO₂ ยังเป็นการบ่งชี้ว่าผิวเคลือบดังกล่าวมีแนวโน้มต้านทานการกัดกร่อนในสภาวะแวดล้อมที่มีความชื้นได้ดี นอกจากนี้ยังพบว่าผิวเคลือบ Zn-Ni-TiO₂ ให้ค่าความแข็งที่สูงกว่าผิวเคลือบ Zn-Ni อีกด้วย
Other Abstract: Zn-Ni-TiO₂ coated steel was prepared by electrodeposition process in order to improve corrosion resistance and hardness properties. TiO₂ sol synthesized by sol-gel technique was added in the Zn-Ni plating solution. The physical and chemical properties of the coating were studied by investigation of the plating parameters including nickel ion and zinc ion concentrations, pH, the amount of TiO₂ sol and the effect of direct and pulse currents. From this work, it was found that Zn-Ni-TiO₂ coating with 81.31%Zn-17.09%Ni-0.59%Ti was successfully prepared from the solution bath composed of 10 g/L ZnCl₂, 20 g/L NiCl₂ and 10 ml/L TiO2 sol at a pH of 3 plated using direct current at 3 A/dm². The surface morphology of Zn-Ni-TiO₂ coated steel obtained from SEM revealed that the pulse current provided the finer grains of coatings compared with the direct current; however, the existence of TiO₂ sol could not be identified. Moreover, the XRD characterization showed that only γ–Ni₅Zn₂₁ phase was found with the orientation of 330 and 600. As for the coating properties, 81.31%Zn-17.09%Ni-0.59%Ti coating prepared in this work showed the highest corrosion resistance with a corrosion rate of 0.051 mm/year measured by potentiodynamic polarization. Moreover, the electrochemical impedance spectroscopy was investigated and the corresponded results were obtained. Furthermore, the increased hydrophobicity of Zn-Ni-TiO₂ coating indicating that this coating potentially has high corrosion resistance in the moist environment. Eventually, higher hardness of Zn-Ni-TiO₂ coating was obtained compared with the Zn-Ni coating.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81437
Type: Technical Report
Appears in Collections:Metal - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Material_Kanokwan Saengkiet_2019.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)2.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.