Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/815
Title: ผลกระทบทางกฎหมายของอนุสัญญาการกักเรือ ค.ศ. 1999 ต่อกฎหมายไทย
Other Titles: Legal impact of the international convention on arrest of ships,1999 on Thai laws
Authors: เอกพจน์ ถิรวณิชย์, 2518-
Advisors: ชยันติ ไกรกาญจน์
จุฬา สุขมานพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Chayanti.G@chula.ac.th
Subjects: การกักเรือ--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
กฎหมายทะเล--ไทย
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสาระสำคัญและผลกระทบของหลักเกณฑ์ของอนุสัญญาการกักเรือ ค.ศ. 1999 ที่มีต่อหลักกฎหมายและข้อขัดข้องทางกฎหมายของพระราชบัญญัติการกักเรือ พ.ศ. 2534 และศึกษาถึงความเหมาะสมในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฉบับนี้ของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า หลักเกณฑ์ของอนุสัญญาการกักเรือ ค.ศ. 1999 จะเกี่ยวข้องเฉพาะส่วนที่เป็นกฎหมายสารบัญญัติและได้มีการแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์ของอนุสัญญาการกักเรือ ค.ศ. 1952 หลายส่วนให้มีความชัดเจน ครอบคลุมมากขึ้นโดยมีการเพิ่มเติมสิทธิเรียกร้องทางทะเลที่จะขอกักเรือได้อีก 6 ประเภทคือ สิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม ค่าใช้จ่ายในการกู้เคลื่อนย้ายซากเรือ ค่าธรรมเนียมหรือค่าภาระท่าเรือหรือร่องน้ำเดินเรือ เบี้ยประกันภัย ค่าคอมมิสชั่นหรือค่าธรรมเนียมตัวแทนนายหน้าเรือ สัญญาซื้อขายเรือ และได้กำหนดว่าหลักประกันที่ลูกหนี้จะต้องนำมาวางศาลเพื่อขอปล่อยเรือจะต้องไม่เกินมูลค่าเรือ และการยอมรับคำพิพากษาของศาลต่างประเทศในประเด็นแห่งคดีเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือ จากการศึกษายังพบว่าหลักเกณฑ์ส่วนใหญ่ของอนุสัญญาฉบับนี้มีความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติการกักเรือ พ.ศ. 2534 จึงเสนอแนะให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาการกักเรือ ค.ศ. 1999 เนื่องจากมีหลักเกณฑ์ใหม่ๆที่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพระราชบัญญัติการกักเรือ พ.ศ. 2534 ได้ และจะทำให้ประเทศไทยพัฒนากฎหมายพาณิชยนาวีไปอีกระดับหนึ่งอันเป็นผลต่อการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
Other Abstract: The purpose of this thesis is to explore the materiality and the impact of the International Convention on Arrest of Ships, 1999 on the current principles of and the practical problems arising from the application of the Arrest of ships Act of B.E. 2534 as well as to explore the suitability for Thailand to be a party to this convention. The study has revealed that the International Convention on Arrest of Ships, 1999 deals only with the substantive matters. It improves various aspects of the International Convention on the Arrest of Ships, 1952. The 1999 Convention improves the clarity of the 1952 Convention and extend the scope of the maritime claim to cover six more categories : (i) claim relating to damage to the environment, (ii) expense for raising and removal of wrecked ship, (iii) fees and charges for the port or waterway, (iv) insurance premiums, (v) commission or fees for the broker or agent, (vi) contract for the sale of ship. In addition, its also requires that the security the debtor has to deposit to the court for the release of the arrested ship must not exceed the value of the ship. There is also provision on the recognition of the foreign judgment on the merits of the case related to the maritime claim. The study also shows that most principles of this convention conform with the provision of the Arrest of ships Act of B.E. 2534. Thailand should become a party to the International Convention on Arrest of Ships, 1999, because the new principles of the convention provide solutions to the problems arising from the Arrest of ships Act of B.E. 2534.In consequence, it would enhance the position of the Thai maritime law to facilitate more international trade.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/815
ISBN: 9740310028
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ekapote.pdf11.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.