Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81815
Title: การออกแบบเรขศิลป์ในสิ่งแวดล้อมพื้นที่สำนักงานร่วมแบ่งปัน จากแนวคิดไบโอฟิลเลีย สำหรับเจเนอเรชั่นวาย
Other Titles: Environmental graphic design in co-working space using the Biophilia concept for generation y
Authors: ศศิกาญจน์ นารถโคษา
Advisors: เพิ่มศักดิ์ สุวรรณทัต
ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การออกแบบเรขศิลป์ในสิ่งแวดล้อมพื้นที่สำนักงานร่วมแบ่งปันจาก แนวคิดไบโอฟิลเลีย สำหรับเจเนอเรชั่นวาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวคิดไบโอฟิลเลียและพฤติกรรมของเจเนอเรชั่นวาย พัฒนาสู่องค์ประกอบทางการออกแบบเรขศิลป์สำหรับพื้นที่สำนักงานร่วมแบ่งปัน ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Methods Research) ระหว่างวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  มีการศึกษาแนวคิดไบโอฟิลเลีย ในเชิงการออกแบบเรียกว่า การออกแบบไบโอฟิลลิค เป็นการเอาธรรมชาติมาเป็นศูนย์กลางของการออกแบบ หลังจากนั้นผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างเจเนอเรชั่นวาย จำนวน 411 ชุด และแบบสัมภาษณ์กลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ที่เป็นสมาชิกของสำนักงานร่วมแบ่งปัน ในขอบเขตของโครงการจำนวน 10 คน เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมและความต้องการของกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่สำนักงานร่วมแบ่งปันในแต่ละโซน สรุปได้ว่า 1) ส่วนต้อนรับ ต้องการกระตือรือร้น จากบรรยากาศน้ำตกมากที่สุด ร้อยละ 56.84 2) สำนักงานร่วมแบ่งปัน ต้องการให้เป็นพื้นที่กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ จากบรรยากาศชายหาดมากที่สุด ร้อยละ 62.77 3) สำนักงานส่วนตัว ต้องการความเป็นส่วนตัว จากบรรยากาศภูเขามากที่สุด ร้อยละ 70.75 4) ห้องประชุม ต้องการให้เป็นพื้นที่กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ จากบรรยากาศชายหาดมากที่สุด ร้อยละ 64.57 5) พื้นที่ทานอาหาร ต้องการการกระตุ้นความอยากอาหาร จากบรรยากาศชายหาดมากที่สุด  ร้อยละ 68.52 6) คาเฟ่ ต้องการความผ่อนคลาย จากบรรยากาศชายหาดมากที่สุด  ร้อยละ 70.12 7) ส่วนพักผ่อน ต้องการความผ่อนคลาย จากบรรยากาศชายหาดมากที่สุด  ร้อยละ 65.21 8) ห้องสมุด ต้องการความสงบ จากบรรยากาศภูเขามากที่สุด ร้อยละ 72.90 9) ห้องปริ้นเตอร์และห้องโทรศัพท์ ต้องการบรรยากาศสะดวกสบายจากภูเขามากที่สุด ร้อยละ 76.59 สรุปผลการวิจัยด้าน การพัฒนาแนวคิดไบฟิลเลียสู่องค์ประกอบทางเรขศิลป์ สำหรับสำนักงานร่วมแบ่งปัน โดยองค์ประกอบทางเรขศิลป์ ดังนี้  1) ความกระตือรือร้น ใช้เส้นประแนวเฉียง รูปทรงธรรมชาติ และ พื้นผิวขรุขระไม่สม่ำเสมอ  2) ความกระฉับกระเฉง ใช้เส้นนำสายตา จุดหลายขนาด และรูปร่างอิสระ 3) ความสะดวกสบาย ใช้เส้นคลื่นรูปร่างโค้งวงกว้าง และจุดค่อยๆกระจายตัว  4) ความสงบ ใช้พื้นที่สร้างบริเวณว่าง เส้นตรงแนวนอน และรูปร่างโค้งของภูเขา 5) ความเป็นส่วนตัว ใช้รูปร่างที่ปิดล้อม เส้นที่ถูกควบคุมการเคลื่อนไหว วางบนเส้นระนาบ และ ใช้ที่ว่างที่เกิดจากการซ้อนกันของภูเขา 6) กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ใช้จุดอิสระไร้ทิศทาง เส้นลื่นไหลมีขนาดแปรปรวน และพื้นผิวลักษณะหยาบเล็กน้อย มีร่องรอยไม่สม่ำเสมอ  7) ความผ่อนคลาย ใช้เส้นคลื่นต่ำที่เคลื่อนไหวช้าๆ รูปร่างอิสระ พื้นผิวบางเบาไหลลื่น  8) มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ใช้รูปร่างของคลื่นกระจายตัวและรวมกลุ่ม เส้นแบบเกลียว และใช้จุดหลากหลายขนาดโดยค่อยๆรวมตัวกันในทิศใดทิศทางหนึ่ง 9) กระตุ้นความอยากอาหาร ใช้เส้นประเรียงต่อกันเป็นคลื่น รูปร่างและรูปทรงที่ไม่สมบูรณ์รอการเติมเต็ม  10) สร้างสมาธิ  ใช้ที่ว่างวางวัตถุขนาดเล็กลงบนพื้นที่โล่งกว้าง รูปร่างที่มีฐานกว้างและแคบขึ้นไปคล้ายพีระมิด และใช้เส้นตรงแนวนอน  
Other Abstract: The objectives of graphic design in a shared office space environment from the Biophilia concept for Generation Y are to study the concept of Biophilia and the behaviour of Generation Y and to develop them into graphic design elements for shared office spaces. The researcher used mixed methods research between quantitative and qualitative research. The Biophilia concept has been studied in terms of design, known as the biophilic design that adapts nature at the centre of the design. The researcher used a questionnaire with 411 samples of Generation Y and an interview form for 10 Generation Y members of the shared office in the project scope to analyze the behaviour and needs of the samples in the shared office space in each zone. It can be concluded that 1) the reception needs enthusiasm from the waterfall atmosphere the most, 56.84 percent; 2) the shared office needs space from the beach atmosphere to stimulate creativity the most, 62.77 percent; 3) the private office needs privacy from the mountain atmosphere the most; 70.75 percent; 4) conference room needs space from the beach atmosphere to stimulate creativity the most, 64.5 percent; 5) the dining area needs the beach atmosphere to stimulate an appetite the most, 68.52; 6) the café needs relaxation from the beach atmosphere the most, 70.12 percent; 7) the resting area needs relaxation from the beach atmosphere the most, 65.21 percent; 8) the library needs the calmness from the mountain atmosphere the most, 72.90 percent; and 9) the printer and telephone room needs the comfort atmosphere from the mountain the most, 76.59 percent. Summary of research on the development of Biophilia concept to graphic elements for shared offices, the graphic elements are as follows: 1) enthusiasm by using diagonal dotted lines, natural shapes and uneven rough surface; 2) energetic by using leading lines, dots of various sizes, and free shape; 3) convenience by using wavy wide lines and the dot that gradually dispersed; 4) calmness by using the area to create space, horizontal straight lines and curved shapes of mountains; 5) privacy by using enclosed shapes and movement control lines placed on a plane line, and using the space arising from the stacking of mountains; 6) stimulating creativity by using free-flowing dots, flowing lines with variance sizes, and slightly rough surfaces with uneven traces; 7) relaxation by using slow moving wavy lines, free shapes, thin, light, and smooth surfaces; 8) social interactions by using dispersed and clustered wave shapes, spiral lines, and dots of various sizes by slowly converge in either direction; 9) stimulating appetite by using dotted lines to form wavy shapes and imperfect shapes to be filled; 10) building concentration by using the spaces for placing small objects on wide open spaces, a shape with a wide base and narrow ascending pyramid-like shape, and horizontal straight lines.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ศิลปกรรมศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81815
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.920
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.920
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6281039035.pdf22.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.