Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81817
Title: การสร้างสรรค์บทเพลงเทิดพระเกียรติชุด พระแม่อยู่หัวของแผ่นดิน
Other Titles: Royal honouring music composition : Phra Mae Yoo Hau Khong Phan Din
Authors: อนันท์สิทธิ์ การหนองใหญ่
Advisors: ขำคม พรประสิทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่องการสร้างสรรค์บทเพลงเทิดพระเกียรติชุด พระแม่อยู่หัวของแผ่นดิน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการประพันธ์เพลงชุดพระแม่อยู่หัวของแผ่นดินและเพื่อสร้างสรรค์ผลงานด้านดุริยางคศิลป์ไทยในบทเพลงชุด พระแม่อยู่หัวของแผ่นดิน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาข้อมูลเอกสารและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านดุริยางศิลป์ ผลการวิจัยพบว่า พระราชประวัติของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ จำแนก 6 ด้านได้แก่ ด้านความมั่นคงของชาติ ด้านการอนามัยและสังคมสงเคราะห์ ด้านสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ด้านศิลปาชีพ ด้านการศึกษา และด้านศิลปวัฒนธรรม วิธีการประพันธ์ยึดหลักการประพันธ์เพลงไทยอันสื่อถึงบทเพลงแห่งความมงคล สื่อพระราชประวัติช่วงต่าง ๆ ใช้กลวิธีบรรเลงลักษณะบรรยายเรื่องราว แบ่งทำนองออกเป็น 4 ช่วง รวม 9 บทเพลง ได้แก่ เพลงแรกแย้ม เพลงพระราชประวัติ 3 ท่อน (ท่อน 1 เสียงของแม่ ท่อน 2 แผ่ไทยผอง ท่อน 3 ชนซาบซึ้ง) เพลงพระราชกรณียกิจ 6 เพลงได้แก่ เพลงแดนดิน เพลงแพทย์หลวง เพลงอนุรักษ์ เพลงสืบศิลป์ เพลงดินสอ เพลงมรดก และส่วนสุดท้ายเป็นช่วงเพลงสรรเสริญ ได้แก่ เพลงพระแม่อยู่หัวของแผ่นดิน โดยมีวิธีการประพันธ์ทำนองเพลง 3 รูปแบบ รูปแบบแรก การนำทำนองต้นรากส่วนหนึ่งของบางเพลง นำมาเป็นทำนองสัญลักษณ์ในการประพันธ์เพลงใหม่ ได้แก่ เพลงกราวรำ สองชั้น เพลงลาวดวงเดือน เพลงเต่ากินผักบุ้ง เพลงเต่าเห่ ประพันธ์ทำนองเพลงใหม่ได้แก่ เพลงแรกแย้ม (เพลงกราวรำ สองชั้น) เพลงพระราชประวัติ ท่อน 1 เพลงเสียงของแม่ (เพลงใกล้รุ่ง) เพลงพระราชประวัติ ท่อน 2 เพลงชนซาบซึ้ง (เพลงเต่าเห่) เพลงขับไม้บัณเฑาะว์ (เพลงดินแดน) เพลงมรดก (เพลงลาวดวงเดือน) และเพลงพระแม่อยู่หัวของแผ่นดิน (เพลงเต่ากินผักบุ้งและเพลงเต่าเห่) รูปแบบที่สอง การอัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 9 ได้แก่ เพลงใกล้รุ่งและเพลงสายฝน มาเป็นต้นรากในการประพันธ์ ได้แก่ เพลงพระราชประวัติ เพลงที่ 1 คือเพลงเสียงของแม่ (เพลงใกล้รุ่ง) และเพลงแพทย์หลวง (เพลงสายฝน) และรูปแบบสุดท้ายประพันธ์ขึ้นโดยอัตโนมัติจากจินตนาการตามพระราชกรณียกิจ ได้แก่ เพลงพระราชประวัติ เพลงที่ 2 เพลงแผ่ไทยผอง เพลงแพทย์หลวง เพลงอนุรักษ์  เพลงสืบศิลป์ และเพลงดินสอ วงดนตรีที่ใช้บรรเลงได้แก่ วงปี่พาทย์ไม้นวมและวงดนตรีประยุกต์ร่วมสมัย โดยประสมวงด้วยเครื่องสีของไทยเป็นหลัก มีเครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมตกแต่งทำนองเพลง พร้อมด้วยเครื่องกำกับจังหวะหน้าทับและเครื่องประกอบจังหวะของไทย ได้แก่ ซอด้วง ซออู้ ระนาดเอก  ขลุ่ยเพียงออ ตะโพน โทนรำมะนา ฉิ่ง เชลโล ดับเบิลเบส เปียโน และ ฮอร์น
Other Abstract: This research study on royal honouring music composition: Phra Mae Yoo Hua Khong Phan Din, aims to create knowledge about the composition of Phra Mae Yoo Hua Khong Phan Din and to create works on Thai musical instruments in the Phra Mae Yoo Hua Khong Phan Din. A qualitative research methodology was used for studying documentary data and interviewing experts in the field of music. The results showed that the royal biography of Her Majesty Queen Sirikit, Queen Mother, performed royal duties classified into six areas, namely national security, health and social work, environment and natural resource conservation, arts and crafts, education, and cultural arts. The composing methods are based on the principles of Thai composing that convey the song of auspiciousness and various periods of royal history using musical tactics to describe the story. The melody is divided into four parts, totalling nine songs, namely Raek Yaem; 3 verses of the royal history songs (verse 1: the voice of the mother, verse 2: Phae Thai Phong, verse 3: Chon Saab Sueng); 6 songs of royal duty including Dan Din, Peat Luang, A Nu Rak, Sueb Silp, Din Sor, Mo Ra Dok; and the last part is the hymn, such as Phra Mae Yoo Hua Khong Phan Din song. There are three styles of composing methods: the first style, bringing some of the roots of some songs as a symbolic melody in a new composition; the second style, the invocation of royal songs in the reign of King Rama IX; and the final style is automatically composed of the imagination according to the royal duties. The band used to play these Pipad Mai Uuam said songs is a contemporary applied ensemble composed mainly of a traditional Thai string instrument. There are universal musical instruments to decorate the melody, along with Thai rhythmic instruments and Thai percussion instruments. These include Soprano fiddle, Alto fiddle, Alto xylophone, Klui Pieng Or, Tapone, Thon Rammana, Small cymbals, cello, double bass, piano, and horn.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ศิลปกรรมศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81817
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.923
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.923
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6281042835.pdf5.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.