Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8193
Title: ผลของการเรียนการสอนแบบเน้นวิจัยผ่านเว็บที่มีต่อความใฝ่รู้ของนิสิตชั้น ปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: The effect of web research based learning on an inquiring mind of freshmen in teacher education program at Chulalongkorn University
Authors: ใจทิพย์ ณ สงขลา
Email: Jaitip.N@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ -- นักศึกษา
การเรียนการสอนผ่านเว็บ
วิจัย -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนผ่านเว็บโดยใช้วิธีวิจัย และเพื่อศึกษาผลของการเรียนการสอนแบบเน้นวิจัยผ่านเว็บที่มีต่อความใฝ่รู้ของนิสิต กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตชั้นปีที่ 1 ในวิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐานฯ ปีการศึกษา 2544 เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ เว็บไซต์เพื่อการเรียนการสอนแบบเน้นวิจัย และแบบสอบถามเจตคติเกี่ยวกับความใฝ่รู้ การดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างปฏิบัติการกิจกรรมการเรียนในเว็บไซต์ซึ่งออกแบบเพื่อสนับสนุนวิธีการเรียนด้วยวิธีวิจัย ประกอบด้วยหลักการสำคัญคือ การตีความปัญหา การตั้งสมมติฐาน การค้นคว้า การวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ ข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถามก่อนและหลังการเรียนวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติ t-test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์จากผลงานและการปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มตัวอย่างที่บันทึกในเซิร์ฟเวอร์ ผลจากวิจัยพบว่าความใฝ่รู้ของกลุ่มตัวอย่างหลังจากการเรียนแบบเน้นวิจัยผ่านเว็บไม่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The purposes of the research were to develop a web-based instruction using research method, and to study the effect of the web-research-based learning to students’ inquiring mind. Samplings were freshmen in Foundations of Computer in Education year 2001. Research instruments were the web site for research-based learning and self evaluate questions about inquiring mind. The sampling group followed learning-steps appeared in the web site designed to support learning using research process, consisting of five major principles: defining problems, set hypothesis, gathering information, analysis and synthesis. Quantitative data, from before and after self-evaluate inquiring mind questionnaires, were analyzed using t-test. Qualitative data from students’ products and students’ learning interaction archive collected in server, were analyzed by their contents. The result showed that student’s inquiring mind after web-research-based learning was not significantly higher than before learning.
Description: โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8193
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jaithip_na.pdf6.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.