Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81945
Title: การใช้งาน ความเสี่ยง การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล และแนวทางการสอนเพื่อการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล สำหรับนักเรียนมัธยมในประเทศไทย ระยะที่ 2 : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
Other Titles: Access, Risk, Digital Literacy and Conceptual Frame of Digital Media Education for Thai Secondary School Students
Authors: พนม คลี่ฉายา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: นักเรียนมัธยมศึกษา -- ไทย
การรู้เท่าทันสื่อ -- ไทย
สื่อมวลชน
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยระยะที่ 2 มุ่งบรรลุวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการสอนการรู้เท่าทันสื่อ ดิจิทัล ในด้านเนื้อหาและวิธีการสอนการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลสาหรับนักเรียนมัธยม ดาเนินการวิจัย ตามลาดับขั้นคือ ขั้นที่ 1) วิเคราะห์รายวิชาเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อ ขั้นที่ 2) จัดประชุมระดมความคิด ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อจัดทาแนวทางการสอนการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล ขั้นที่ 3) พัฒนาแนวทางการสอนการ รู้เท่าทันสื่อดิจิทัล และจัดทาตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ ขั้นที่ 4) ทดสอบสอนโดยนาแผนการ เรียนรู้ที่ออกแบบขึ้นในโรงเรียน 4 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ อุบลราชธานี กาญจนบุรี และกรุงเทพมหานคร ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีที่ 3 ปีที่ 5 และปีที่ 6 ผลการวิจัยระยะที่ 2 ได้พัฒนาเป็นแนวทางการสอนการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล สาหรับ นักเรียนมัธยมขึ้น มีโครงสร้างเนื้อหาประกอบด้วย 5 กลุ่มสาระ และในแต่ละกลุ่มสาระวิธีการสอน ดังต่อไปนี้ สาระที่ 1 : การเข้าถึง การใช้งาน และการอ่านสื่อดิจิทัล โดยวิธีการสอนเน้นการ อภิปรายระหว่างครูกับนักเรียนโดยใช้กรณีศึกษา สาระที่ 2 : ความรู้พื้นฐานสู่การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล ด้านองค์กรสื่อดิจิทัล กฎหมาย การ แยกแยะประเภทเนื้อหา พฤติกรรมการเสพติดสื่อดิจิทัล โอกาสที่นาไปสู่ความเสี่ยงอันตราย โดย วิธีการสอนเน้นการความคิด ประเมิน และวิพากษ์ความถูกต้อง ใช้เหตุการณ์ที่ใกล้ชิดกับนักเรียนมา วิเคราะห์ โดยมีครูเป็นผู้ช่วยในการเรียนรู้ ให้คาแนะนา หรือโค้ช (Coach) สาระที่ 3 : รู้เท่าทันชีวิตดิจิทัล และใช้อย่างปลอดภัย ได้ประโยชน์ เน้นการเรียนรู้โดยใช้ ปัญ ห าเป็นฐาน (Problem–based Learning) การสอนแบ บ ป ระเด็นศึกษา (Issue-based Learning) สาระที่ 4 : สร้างสรรค์สื่อดิจิทัลเพื่อชีวิตและสังคมที่ดี เป็นการออกแบบ ผลิตสร้างสรรค์ สื่อดิจิทัล รวมทั้งเทคนิควิธีการแทรกแซงของธุรกิจและเจ้าของสื่อในขั้นตอนการผลิต ใช้วิธีการสอน แบบโครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) สาระที่ 5 : เรียนรู้อยู่เสมอเพื่อการรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เป็นการ คาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสื่อดิจิทัลในอนาคต และการเตรียมตนเองให้พร้อมเพื่อดาเนินชีวิตอย่าง รู้ทันสื่อสื่อดิจิทัล ใช้วิธีการสอนแบบการสืบค้นข้อมูล การวาดภาพ บทบาทสมมติ ผลการทดสอบสอนบทเรียนตัวอย่างพบว่า บทเรียนมีผลสัมฤทธิ์ในด้านความรู้ ครูผู้สอน มีความเห็นว่า เนื้อหาและวิธีการสอนเหมาะสมและนาไปสอนได้จริง นักเรียนมีความเห็นว่าเนื้อหา เข้าใจง่าย น่าสนใจ ทันสมัย มีประโยชน์ ใช้ได้จริงในชีวิตประจาวัน กิจกรรมในชั้นเรียนสนุก นักเรียน ได้แสดงความคิดเห็น อภิปราย และได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน
Other Abstract: The second phase was aim to develop media literacy education for Thai secondary school students. The research carry on 4 steps; Step 1) documentary analysis. Step 2) brainstorming among experts for digital media education framework. Step. 3) Development of conceptual framework for digital media education. Step 4) Testing teaching plan using 4 designed teaching plan to test from each class of grade 8, 9, 11 and 12 from 4 schools in 4 provinces including Chiang Mai Province, Ubon Ratchathani Province, Kanchanaburi Province and Bangkok Metropolitan Administration. The result from the second phase is the conceptual frame of digital media education for secondary school students which comprised of 5 key area of learning. Learning area 1: Accessibility, Using and Decoding Digital Media. This learning area focuses on skills of digital media use. The teaching method focusing on case studies to discuss and exchange ideas between teachers and students. Learning area 2: Fundamental Knowledge on Digital Media. This learning area concerning basic knowledge on digital media organization, laws, ability to differentiate content, skills to refuse and examine risk content by learning critical thinking skills, evaluation and criticizing digital media content from real life situation. The teaching approach focusing on teacher coaching. Learning area 3: Digital Media Literacy in Digital Life & Utility. This learning area focuses on ability to use digital media effectively for learning, citizenship and solving social problems by using problem–based learning, issue-based learning. Learning area 4: Digital Media Creativity for Life and Society. This learning area concerning the process of digital media production and realizing the intervention of media owner by using project-based learning approach. Learning area 5: Active learning on Digital Media Literacy for Future. This learning area focuses on preparing for digital media literacy by learning through surfing the Internet, imagine the future drawing and role play. The result from the teaching test indicated that designed teaching plan has achievement in knowledge. Teachers explained that teaching plan was appropriate and practical for teaching. The students expressed that the lesson was practical, interesting, up to date and easily to understand. The activities in class are fascinating because it provide the opportunity for the students to express their ideas with each other.
Description: แนวทางการสอนการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลสำหรับนักเรียนมัธยม -- ความเสี่ยงจากการใช้งานสื่อดิจิทัล -- ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้เรื่องการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล -- เนื้อหา วิธีการสอน และการวัดผลการสอนการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล -- แนวทางการนำบทเรียนสู่การเรียนการสอนในโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81945
Type: Technical Report
Appears in Collections:Comm - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2559_Digital Literacy_Research Book_Period_2.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)171.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.