Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81958
Title: การสำรวจและจำลองการเคลื่อนตัวของตะกอนแม่น้ำในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบนฝั่งตะวันออก
Other Titles: River survey and sediment transport modeling of the eastern portion of the Upper Chao Phraya River Basin
โครงการ การสำรวจและจำลองแม่น้ำในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบนและตอนล่าง เพื่อประเมินอัตราการ เคลื่อนที่ของตะกอนแม่น้ำและการสะสมตัวของตะกอนบริเวณชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน (ปีที่ 1)
Authors: บุศวรรณ บิดร
เสรี จันทรโยธา
อนุรักษ์ ศรีอริยวัฒน์
ฤทัยทิพย์ มะมา
ศุภกร ศิรพจนกุล
เมธาฤทธิ์ แนมสัย
ณฐมน พนมพงศ์ไพศาล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: ตะกอนแม่น้ำ
ตะกอนแม่น้ำ -- ไทย (ภาคเหนือ)
ตะกอน (ธรณีวิทยา) -- การไหลซึมผ่าน
แบบจำลองทางชลศาสตร์
Issue Date: 2562
Publisher: คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของตะกอนและกระบวนการเคลื่อนที่ของตะกอนใน แม่น้ำยมและน่าน ซึ่งเป็นแม่นํ้าสายหลักของประเทศ โดยการศึกษาลักษณะของตะกอนและการเคลื่อนที่ของ ตะกอนใช้การสำรวจและเก็บตัวอย่างข้อมูลในแม่นํ้า อันประกอบด้วย ข้อมูลความเร็วการไหล ความลึกการ ไหล หน้าตัดทางนํ้า อัตราการไหลของน้ำ ตัวอย่างตะกอนแขวนลอย ตัวอย่างตะกอนที่เคลื่อนที่ตามท้องนํ้า และวัสดุท้องน้ำ เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ลักษณะของตะกอนแขวนลอย ตะกอนท้องน้ำ และปริมาณการ เคลื่อนที่ของตะกอนแขวนลอย ตะกอนท้องน้ำและตะกอนทั้งหมด ตามแนวลำน้ำยมและน่าน ส่วน กระบวนการเคลื่อนที่ของตะกอนในแต่ละแม่น้ำศึกษาด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์HEC-RAS เวอร์ชั่น 5.2.2 โดยใช้ข้อมูลสำรวจภาคสนามและข้อมูลการไหลของน้ำและตะกอนแขวนลอยในอดีตที่รวบรวมจากกรม ชลประทาน อัตราการเคลื่อนที่ของตะกอนจากข้อมูลภาคสนามและข้อมูลตะกอนจากแบบจำลองทาง คณิตศาสตร์ที่ด้านเหนือนํ้าของโครงสร้างชลศาสตร์ขนาดใหญ่ที่ตั้ง ในแต่ละลำนํ้าถูกนำมาเปรียบเทียบกับอัตรา การเคลื่อนที่ของตะกอนด้านท้ายน้ำของโครงสร้าง เพื่อศึกษาถึงผลกระทบของโครงสร้างต่อลักษณะตะกอน และอัตราการเคลื่อนที่ของตะกอนในแม่น้ำยมและน่าน ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ตะกอนที่เคลื่อนที่ ตามแนวลำน้ำของแม่นํ้ายมมากกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ของตะกอนทั้งหมดเป็นตะกอนแขวนลอย ส่วนตะกอนท้อง น้ำจะมีเพียง 0-1 เปอร์เซ็นต์ของตะกอนแขวนลอยเท่านั้น และตะกอนมีลักษณะเป็นทรายละเอียดถึงจนถึง ทรายหยาบมาก มีขนาดเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.19-1.65 มิลลิเมตร ส่วนในแม่น้ำน่าน มากกว่า 72 เปอร์เซ็นต์ของ ตะกอนทั้งหมดเคลื่อนที่อยู่ในรูปของตะกอนแขวนลอย การเคลื่อนที่ของตะกอนท้องนํ้าผันแปรอยู่ระหว่าง 0- 38 เปอร์เซ็นต์ของตะกอนแขวนลอย มีลักษณะเป็นทรายละเอียดมากจนถึงทรายหยาบ และมีขนาดเฉลี่ยของ ตะกอนอยู่ในช่วง 0.10-0.57 มิลลิเมตร ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าปริมาณการเคลื่อนที่ของตะกอนใน แม่น้ำยมและน่านไม่ได้เพิ่มขึ้นตามระยะทางจากเหนือน้ำสู่ท้ายน้ำตามปริมาณน้ำท่าเพิ่มที่สูงขึ้น แม่น้ำยม ตอนบน ตอนกลาง และตอนล่างมีปริมาณตะกอนทั้งหมดรายปีเฉลี่ย 0.71, 1.37 และ 0.82 ล้านตัน และมี ปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ย 1,510, 4,250 และ 5,970 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ส่วนแม่น้ำน่านตอนบน ตอนกลาง และตอนล่างมีปริมาณตะกอนทั้งหมดรายปีเฉลี่ย 1.65, 0.52 และ 0.40 ล้านตัน และมีปริมาณ น้ำท่ารายปีเฉลี่ย 6,670, 5,980 และ 17,660 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ สำหรับผลกระทบของโครงสร้าง ทางชลศาสตร์ต่อกระบวนการเคลื่อนที่ของตะกอนในแม่นํ้ายมและน่าน ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าเขื่อนสิริกิติ์ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราการเคลื่อนที่ของตะกอนบริเวณท้ายเขื่อนอย่างชัดเจน โดยในช่วงฤดูแล้งเขื่อน ส่งผลให้อัตราการเคลื่อนที่ของตะกอนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราการเคลื่อนที่ของตะกอนลดลงในช่วงฤดูฝน เนื่องจากการควบคุมการไหลของน้ำด้านท้ายเขื่อนโดยเขื่อน ส่วนในแม่น้ำน่านเขื่อนนเรศวรส่งผลต่อการลดลง ของอัตราการเคลื่อนที่ของตะกอนบริเวณท้ายเขื่อนเฉพาะในช่วงลำน้ำที่ไกลจากตัวเขื่อน ในขณะที่ฝายแม่ยม ส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของตะกอนในแม่น้ำยมเฉพาะในฤดูฝน
Other Abstract: This research project aims to study sediment characteristics and sediment transport processes in the Yom and Nan rivers, which is the main river of the Thailand. The characteristics of sediment and sediment transport rates were studied using the data from river surveys including flow speed data, flow depth, river cross-section, river discharge, suspended sediment samples, bedload samples along the Yom and Nan Rivers. Mathematical model, HEC-RAS version 5.2.2, was used to simulate deposition and erosion processes of sediment in each river based on field survey data and historical water flow and suspended sediment collected by the Royal Irrigation Department. Regarding the sediment transport data from field surveys and from the mathematical model, the changes in sediment transport rates between upstream and downstream of the large hydraulic structures were used to evaluate the effect of human activities on sediment processes in the Yom and Nan Rivers. The results of this study show that more than 99% of total sediment transport in the Yom River were suspended sediment. The bed load in the Yom River accounted for only 0-1% of suspended sediment, and the bed load was characterized by fine sand to very coarse sand with the median of grain size of 0.19-1.65 mm. In the Nan River, more than 72% of the total sediment transported as suspended sediment. Meanwhile, bed load varied between 0-38% of suspended sediment. The bed load along the Nan River was characterized by very fine sand to rough sand, and the median of sediment size ranged between 0.10 and 0.57 mm. The amount of sediment transport in the Yom and Nan rivers did not increase towards downstream as the river runoff did. The average annual sediment transport rate of the upper, middle and lower portions of the Yom River was 0.71, 1.37 and 0.82 million metric tons, respectively. While the corresponding average river runoff was 1,510, 4,250 and 5,970 MCM. For the Nan River, the average annual sediment transport rate was 1.65, 0.52 and 0.40 million metric tons with the average river runoff of each portion of 6,670, 5,980 and 17,660 MCM, respectively. For the impact of hydraulic structures on sediment processes along the Yom and Nan rivers, the results indicate that Sirikit Dam had a significant effect on the sedimentation rate downstream the dam in different way. In the dry season, the sediment transport rate downstream was higher than the upstream of the dam. In contrast, the rate of sediment transport downstream was lower the upstream of the dam during the wet season due to water regulation by the dam. For the effects of Naresuan Dam on the sediment transport in the Nan River, it was found that the Naresuan Dam had a significant impact on the sedimentation rate only at the downstream near the dam. While the Mae Yom dam affected the sediment transport rate in the Yom River only in the rainy season.
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81958
Type: Technical Report
Appears in Collections:Eng - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Butsawan_Bi_Res_2562.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)104.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.