Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81991
Title: อาบัติลักทรัพย์ในทุติยปาราชิก : การตีความแบบหนึ่ง
Other Titles: Theft, the Second Defeat of Monastic Rule: An Interpretation
Authors: สมพรนุช ตันศรีสุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Subjects: สงฆ์ -- ประเพณีและธรรมเนียมปฏิบัติ
พระวินัย
Issue Date: Jan-2565
Publisher: วัดพระธรรมกาย
Citation: ธรรมธารา วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา 8,1 (ม.ค.-มิ.ย. 2565) หน้า 81-121
Abstract: บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความหมายของอาบัติทุติยปาราชิก จากเดิมตามประเพณีที่พิจารณาอาบัติจากมูลค่าของทรัพย์สินที่มากกว่า 5 มาสก เป็นการลักทรัพย์ในระดับที่มีความผิดตามกฎหมายซึ่งเจ้าหน้าที่บ้านเมืองสามารถลงโทษทางอาญาได้ เหตุผลของเรื่องนี้คือพระพุทธเจ้าทรงปรับอาบัติปาราชิกแก่ผู้ลักทรัพย์หรือทำให้ทรัพย์ของผู้อื่นเสียหายซึ่งมีมูลค่าเกินกว่า 5 มาสกอันเป็นความผิดอาญาตามกฎหมายของแคว้นมคธในสมัยพุทธกาล และต่อมานำมาใช้ในการพิจารณาปรับอาบัติลักทรัพย์ที่เกิดขึ้นในสถานที่อื่น ๆ ที่กฎหมายของแคว้นมคธเข้าไม่ถึงด้วย เจตนารมณ์ของการบัญญัติสิกขาบทนี้คือ เพื่อให้พระภิกษุผู้ลักทรัพย์ซึ่งทำผิดตามกฎหมายพ้นจากสภาพความเป็นพระภิกษุแล้วไปรับโทษตามกฎหมายบ้านเมือง ไม่ให้ความเป็นพระภิกษุคุ้มครองบุคคลผู้กระทำความผิด และใช้อัตราโทษเดียวกันนี้ในพื้นที่อื่น ๆ ด้วยเพื่อให้การปรับอาบัติลักทรัพย์ในสมัยนั้นเป็นมาตรฐานเดียวกัน ผู้เขียนเห็นว่าไม่ควรยึดมูลค่า 5 มาสกเป็นองค์ประกอบในการพิจารณาอาบัติทุติยปาราชิกเพราะค่าเงินในแต่ละสังคมและยุคสมัยไม่เท่ากัน มีผลทำให้การปรับอาบัติไม่เป็นธรรม ดังนั้น เพื่อคงเจตนารมณ์ของสิกขาบท การพิจารณาอาบัติทุติยปาราชิกจึงควรพิจารณาว่าการลักทรัพย์หรือการทำให้เสียทรัพย์นั้นอยู่ในระดับที่เป็นความผิดทางอาญาในสังคมที่พระภิกษุนั้นสังกัดหรือจำพรรษาอยู่หรือไม่ ตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย การลักทรัพย์ของผู้อื่นไม่ว่าจะมีมูลค่ามากหรือน้อยเพียงใดย่อมเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ยอมความไม่ได้ หากมีการร้องทุกข์กล่าวโทษเพื่อเอาผิดตามกฎหมาย อาบัติทุติยปาราชิกในสังคมไทยจึงต้องพิจารณาที่การร้องทุกข์กล่าวโทษเป็นสำคัญ
Other Abstract: The article aims to propose that in the interpretation of theft, the second Defeat of the monastic rules, theft among monks must be considered from the standpoint of criminal wrongdoing according to present laws as opposed to strict rules from ancient tradition. According to Pāli tradition, the second Defeat rule measures theft by the cost of the stolen or damaged property. At the time, stealing anything worth more than 5 Māsaka, the currency in the Buddha’s time, was considered theft. The tradition has it that the Buddha legislated the rule based on the theft law of Magadha country, where the first theft occurred, and this was subsequently applied to thefts in other places. His intention to legislate the rule was to expel the wrongdoer from the monkhood so that he was punished by the state law and that the monkhood would not protect him from punishment. In my view, the Defeat rule should not be based on an ancient value of currency, because the value associated with theft changes over time, resulting in inequitable justice. To obey the spirit of the monastic rule, it is important to consider that monastic rule should be based on present law and whether the theft or the wrongful interference with goods is a crime or not. According to the Thai criminal code, a theft or a wrongful interference with goods of any cost, is regarded as a public offense in the case that the victim, or a person other than them, alleges to authorities that the wrongdoer has committed an offense according to the provisions of the code. In this way the Defeat rule, as a monastic rule in Thai society, should be reconsidered based on the modern Thai theft laws.
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81991
URI: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/247772
https://doi.org/10.14456/djbs.2022.3
ISSN: 2651-2262
Type: Article
Appears in Collections:Thai Journal Article

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
html_submission_84902.htmlบทความวารสารฉบับเต็ม (Fulltext)2.89 kBHTMLView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.