Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82115
Title: การพัฒนากลไกและแนวทางเพื่อขับเคลื่อนเมืองจันทบุรีสู่เมืองท่องเที่ยวเชิงอาหารตามกรอบเมืองสร้างสรรค์ยูเนสโก : รายงานการวิจัย
Other Titles: Developing mechanisms and guidelines to drive Chanthaburi to be a food tourism city under the framework of UNESCO Creative Cities.
Authors: ธิป ศรีสกุลไชยรัก
ภัทร ยืนยง
บุณฑริกา บูลภักดิ์
ดวงกมล บางชวด
อารีรัตน์ ภาคพิธเจริญ
รพี ดอกไม้เทศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: การท่องเที่ยวเชิงอาหาร -- ไทย -- จันทบุรี
Issue Date: 2565
Publisher: หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสมผสานที่เน้นกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม เพื่อร่วมพัฒนากลไกในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงอาหารตามกรอบเมืองสร้างสรรค์ ร่วมค้นหาศักยภาพเชิงคุณค่าจากภูมิปัญญาและห่วงโซ่คุณค่าอาหารยั่งยืน ตลอดจนร่วมจัดและทดลองจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอาหาร เพื่อร่วมกำหนดประเด็นเชิงยุทธศาสตร์ การประเมินศักยภาพและจัดทำข้อเสนอแนวทางการขับเคลื่อนเมืองจันทบุรีสู่เมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหารตามกรอบยูเนสโก ผลการศึกษา พบว่า การขับเคลื่อนจันทบุรีสู่เมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหาร มีองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรีเป็นเจ้าภาพและให้การสนับสนุน โดยมีกลไกขับเคลื่อน 3 ระดับ ได้แก่ 1) คณะกรรมการบริหารการท่องเที่ยวในระดับจังหวัด (DMO) เป็นกลไกเชื่อมโยงในระดับจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนแนวทางเชิงยุทธศาสตร์ 2) คณะทำงานการขับเคลื่อนจังหวัดจันทบุรีสู่เมืองสร้างสรรค์วิทยาการอาหาร (DMC) เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเชิงกิจกรรม และประสานความร่วมมือกับกลไกต่างๆ และ 3) “เสน่ห์จันท์” เป็นกลไกในการขับเคลื่อนเชิงประเด็นในรูปแบบบริษัทวิสาหกิจเพื่อสังคม ผลการศึกษาศักยภาพเชิงคุณค่าและทดลองจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอาหารชี้ให้เห็นว่าจันทบุรีมีความมั่นคงทางอาหารจากการมีภูมินิเวศการผลิตที่ดี (ภูผา - มหานที) และมีอาหารพื้นถิ่นที่มีเอกลักษณ์หลากหลายที่เกิดจากรากทางวัฒนธรรมอันยาวนาน (ประเพณี - วิถีจันท์) สู่การเสนอประเด็นเชิงยุทธศาสตร์ “อาหารสมุนไพรป่าฝนเขตร้อนจันทบูร” ที่สร้างสรรค์อย่างสมดุลและยั่งยืน สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาจันทบุรีให้เป็น “เมืองแห่งความมั่นคงและยั่งยืนทางอาหาร” ในอนาคต การประเมินศักยภาพตามเกณฑ์เมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก พบว่า จันทบุรีมีวัตถุดิบเมนูอาหารพื้นถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์และมีความหลากหลาย ที่ยังคงรักษาถ่ายทอดและมีการปรับตัวอาหารพื้นถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวจนเป็นอัตลักษณ์และมีชื่อเสียง มีแนวทางและต้นแบบในการพัฒนาอาหารและกิจกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังปรากฏการจัดเทศกาลอาหารเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและกระตุ้นเศรษฐกิจเมืองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในการขับเคลื่อนเมืองจันทบุรีสู่เมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหาร มีแนวทางเชิงยุทธศาสตร์ 6 แนวทางหลัก ดังนี้ 1) การสร้างการรับรู้ให้กับคนภายในและภายนอกจันทบุรี 2) การส่งเสริม วิจัย การเรียนรู้ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อการท่องเที่ยว 3) การเสริมสร้างสมรรถนะ ความพร้อมด้านแรงงานและบุคลากรเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงอาหารยั่งยืน 4) การสร้างพื้นที่หรือกิจกรรมเมืองการท่องเที่ยวเชิงอาหารยั่งยืน 5) การส่งเสริมและพัฒนาการตลาดสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอาหารยั่งยืน และ6) สร้างความร่วมมือและสนับสนุนธุรกิจ-การศึกษา-ชุมชน เพื่อหนุนเสริมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอาหารสร้างสรรค์
Other Abstract: This mixed methods research, focusing on participatory research processes, is to develop a mechanism for gastronomy tourism management under creative city scheme, discover valuable potential from local wisdom and sustainable food value chains, as well as organize and pilot food tourism activities for strategic formulation, potential assessment and Chanthaburi driven proposal making to be the gastronomy creative city in UNESCO framework. The research results figure that Chanthaburi driving to the creative city of gastronomy, has Chanthaburi Provincial Administrative Organization be host and support which three driven mechanisms: 1) Destination Management Organization (DMO) as a linkage mechanism at the provincial level for strategic driven; 2) Destination Management Committee (DMC) as the key mechanism for activity driven and coordinate with several mechanisms, and 3) “Sane Chan” is the mechanism for issues driven in form of social enterprise company. The result of the valuable potential and the gastronomy tourism activities trial indicates that Chanthaburi had food security which is various agriculture geographical ecology (mountainous– oceanic) and unique local cuisine originated with from the long cultural roots (traditional–Chan folk way) to present a holistically issued strategic like "Chanthaboon tropical rain forest herbal food" that creatively balance and sustainability along with the developing goal of Chanthaburi to be “The City of food security and sustainability” in the future. The potential evaluation under creative cities criteria (UNESCO), finds that Chanthaburi has the unique and diverse local food ingredients which maintains the local food inheritance and adaptation to be the unique and famous for tourism promoting, also has the guidelines and models in food and tourism sustainable development, as well as provide continually the events and food festivals for cultural exchange and motivate the provincial economic. In which, Chanthaburi driven to be the creative city of gastronomy, has mainly six strategic approaches as: 1) awareness creating among internal and external Chanthaburi people, 2) promoting the research and learning to enhance tourism food products, 3) improving the readiness of labor and personnel capacity to serve the sustainable food tourism, 4) building the areas or activities of sustainable food tourism cities 5) promoting and developing the creative marketing for sustainable food tourism, and 6) generating the collaboration and supporting for business-education-community to launch the creatively food tourism activities.
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82115
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thip_Sr_Res_2565.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)201.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.