Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82127
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปานทิพย์ พฤกษาชลวิทย์-
dc.contributor.authorปพัชนก อัญชุลีประดิษฐ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-05-30T02:27:28Z-
dc.date.available2023-05-30T02:27:28Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82127-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565en_US
dc.description.abstractตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 - 2560 ประเทศไทยมีเหตุเพลิงไหม้บ้าน เกิดขึ้นมากกว่า 58,000 ครั้ง เฉลี่ยปีละ 2,000 ครั้ง และ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 – 2563 มีครัวเรือนที่ได้รับความเสียหายทั้งสิ้น 32,777 ครัวเรือน โดยมีมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้นโดยประมาณ 14,340,682,192 บาท และตัวเลขการเกิดอัคคีภัยยังคงมีมาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าสาเหตุของการเกิดอัคคีภัยนั้นจะสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย แต่เอกัตศึกษาเล่มนี้ได้ศึกษาหนึ่งในปัญหาของการเกิดอัคคีภัยที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร แต่อย่างไรก็ตามสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรก็สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยเอกัตศึกษาเล่มนี้ได้จึงได้ศึกษาลึกลงไปเพื่อเจาะจง และหนึ่งในนั้นก็คือการที่เกิดจากการติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน ถึงแม้ว่าพระราชบัญญัติส่งเสริมฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2557 มาตรา 26/3 ได้กำหนดให้ช่างไฟฟ้าต้องได้รับหนังสือรับรองความรู้ความสามารถ ที่จะมีการทดสอบมาตรฐานต่าง ๆ ที่ช่างควรจะปฏิบัติ ซึ่งก็แสดงให้เห็นถึงความสามารถพื้นฐานเพื่อบรรเทาการเกิดอัคคีภัยได้ แต่ข้อกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ยังไม่สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากมีการบังคับใช้เพียงแต่กับภาคพาณิชย์ แต่ไม่เกิดการนำไปใช้กับภาคประชาชนครัวเรือน เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศที่ผู้เขียนได้ทำการศึกษา ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย และ ประเทศสหราชอาณาจักร พบว่าการกำหนดมาตรฐานในการเข้าปฏิบัติงานด้านไฟฟ้าภายในบ้าน มีการกำหนดที่ชัดเจนกว่าประเทศไทย ในเรื่องว่างานไฟฟ้าภายในบ้านประการใดสามารถทำเองได้ ประการใดสามารถทำเองได้แต่ต้องทำเรื่องแจ้งต่อหน่ายงานที่รับผิดชอบให้ทราบ หรือ ประการใดต้องใช้ช่างที่ได้รับใบอนุญาตเท่านั้น อีกทั้งยังมีการกำหนดหน้าที่และโทษของเจ้าของบ้านที่ต้องรับผิดชอบในการตรวจสอบเอกสารใบอนุญาตของช่างที่จะเข้ามาปฏิบัติงานในบ้านตนเอง ซึ่งประเทศไทยสามารถที่จะศึกษามาตรการบังคับใช้ของกลุ่มประเทศดังกล่าวเพื่อนำมาปรับใช้ให้มีความเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยได้ จากการศึกษาพบว่าควรมีการแก้ไขพระราชบัญญัติส่งเสริมฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2557 มาตรา 53/2 ให้เจ้าของบ้านมีหน้าที่และโทษในการจ้างช่างมาทำงานให้กับอาคารที่ไม่ใช่สถานประกอบการด้วยen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.153-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectระบบไฟฟ้ากำลัง -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen_US
dc.subjectอาคาร -- อัคคีภัยและการป้องกันอัคคีภัยen_US
dc.titleมาตรการทางกฎหมายสำหรับงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสาธารณะภายใต้ พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2557 : ศึกษากรณีช่างไฟฟ้าในอาคารen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subject.keywordช่างไฟฟ้าen_US
dc.subject.keywordไฟฟ้าลัดวงจรen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2022.153-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6480218734.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.