Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82375
Title: การนำมาตรการปรับมาใช้ในการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครอง 
Other Titles: The implementation of coercive fine as an enforcement measure for the execution of a judgment or order of the administrative court
Authors: ณัฐธิดา เทพรักษ์
Advisors: มานิตย์ จุมปา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงหลักเกณฑ์การนำมาตรการปรับมาใช้ในการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครอง เป็นบทบัญญัติตามมาตรา 75/4 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2559 ประกอบระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการปรับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มิได้ปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครองให้ถูกต้องครบถ้วนหรือปฏิบัติล่าช้าเกินสมควร พ.ศ. 2560 โดยได้นำบทบัญญัติเรื่องมาตรการปรับที่ปรากฏในกฎหมายต่างประเทศมาศึกษาเปรียบเทียบ วิเคราะห์ และนำมาพัฒนาบทบัญญัติต่างๆ เพื่อให้การใช้มาตรการปรับมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการศึกษาพบว่า บทบัญญัติเรื่องผู้มีสิทธิร้องขอใช้มาตรการปรับตามข้อ 4 แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการปรับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐที่มิได้ปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครองให้ถูกต้องครบถ้วนหรือปฏิบัติล่าช้าเกินสมควร พ.ศ. 2560 กำหนดไว้ว่า ผู้มีสิทธิร้องขอใช้มาตรการปรับได้มีเพียงคู่กรณี แต่ไม่ได้บัญญัติเพื่อให้คำนิยามว่า คู่กรณีหมายถึงผู้ใดบ้าง อีกทั้งไม่ได้มีบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลในการเรียกค่าปรับซ้ำได้ หากยังไม่มีการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครอง ผู้เขียนจึงขอเสนอแนวทางการเพิ่มเติมบทบัญญัติบางประการในระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการ ในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการปรับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มิได้ปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครองให้ถูกต้องครบถ้วนหรือปฏิบัติล่าช้าเกินสมควร พ.ศ. 2560 โดยเพิ่มเติมนิยามคำว่า คู่กรณี และเพิ่มเติมบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลในการเรียกค่าปรับซ้ำได้ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐชำระค่าปรับต่อศาล แต่ความปรากฏต่อศาลว่า ยังมิได้ปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครองให้ถูกต้องครบถ้วน ให้ศาลมีอำนาจสั่งปรับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวทุกหกสิบวันนับแต่วันที่ได้มีการชำระค่าปรับ จนกว่าจะมีการปฏิบัติตามคำบังคับ ทั้งนี้ เพื่อให้บทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการนำมาตรการปรับมาใช้ในการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองไทยมีความชัดเจนและเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อให้การบังคับคดีเป็นไปตามวัตถุประสงค์และอำนวยความยุติธรรมโดยแท้จริง
Other Abstract: This thesis aims to study the criteria of the implementation of coercive fine as an enforcement measure for the execution of a judgment or order of the Administrative Court, which is a provision under section 75/4 of the Act on Establishment of Administrative Courts and Administrative Court Procedure, B.E. 2542 (1999), is added by section 7 of the Act on Establishment of Administrative Courts and Administrative Court Procedure (No.8), B.E. 2559 (2016) and the Rule of the General Assembly of Judges of the Supreme Administrative Court on the rules, procedure and conditions for the implementation of coercive fine as an administrative agency or state official fails to comply with the decree of the Administrative Courts correctly and completely, or performs thereof with unreasonable delay, B.E. 2560 (2017) by applying the provisions on regulations concerning implementation the coercive fine appearing in foreign laws to study, compare, analyze and develop various provisions to make the use of coercive fine more effective. According to the study, in clause 4 of the aforementioned rule, it stipulates that there are only party who have files an application that an administrative agency or state official fails to comply with the decree of the Administrative Courts correctly and completely,  or performs thereof with unreasonable delay but does not provide a definition of term "party" In addition, no provision authorizes the court to claim a coercive fine may be repeatedly if the judgment or order of the Administrative Court has not been complied with. As a result, the author proposes amendments to certain provisions in of the aforementioned rule, should include a definition of the term "party" and added a provision that gives the court the power to claim repeated fines, If the judgment or order of the court has not been complied with by the time limit, an administrative agency or state official shall pay coercive fine every sixty days, until the judgment or order of the court has been complied with. These amendment to certain provisions of the implementation of coercive fine as an enforcement measure for the execution of a judgment or order of the Administrative Court would become clearer and more effective, becoming an essential measure to ensure the execution of judgment or order of the Administrative Court and fostering justice within our society.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82375
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.650
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.650
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6185991734.pdf3.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.