Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82754
Title: ผลกระทบของ COVID-19 ต่อการใช้พื้นที่ทำงาน: กรณีศึกษา พนักงาน 3 กลุ่มที่ทำงานอยู่ในสำนักงานใหญ่ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 3 แห่งในกรุงเทพมหานคร    
Other Titles: COVID-19 impact on workplace : a case study of 3 groups of employees working in commercial bank head offices in Bangkok
Authors: ศิริพร เลิศอภิรังษี
Advisors: เสริชย์ โชติพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: COVID-19 ถูกประกาศให้เป็นโรคติดต่ออันตราย มีภาวะรุนแรงและเกิดการแพร่ระบาดของโรคทำให้เกิดวิธีปฏิบัติการเพิ่มระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ส่งผลกระทบต่อการใช้สถานที่ทำงานในหลายด้าน และเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคและความต่อเนื่องทางธุรกิจ องค์กรต่าง ๆ มีนโยบายให้พนักงานทำงานจากบ้าน รวมถึงมีการปรับพื้นที่ทำงานในรูปแบบที่ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อให้ได้มากที่สุด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการทำงานของพนักงานในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้พนักงานเข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่สำนักงานในช่วงเวลาแพร่ระบาด และปัญหาของการทำงานจากบ้าน โดยรวบรวมข้อมูลจากการใช้แบบสอบถามพนักงานของธนาคารพาณิชย์สังกัดสำนักงานใหญ่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร 3 กรณีศึกษา นำข้อมูลมาแจกแจง วิเคราะห์ข้อมูล สรุปและอภิปรายผลการศึกษา ผลการศึกษาจะช่วยให้ฝ่ายบริหารทรัพยากรอาคารได้นำไปใช้เพื่อการวางแผนการจัดสรรพื้นที่ทำงานหากมีสถานการณ์โรคระบาดขึ้นอีกครั้ง ผลการศึกษาพบว่าในช่วงสถานการณ์ COVID-19 มีการทำงาน 3 รูปแบบคือ เข้ามาทำงานที่สำนักงาน ทำงานจากบ้าน และทำงานจากนอกสถานที่ ๆ ไม่ใช่สำนักงานและบ้าน จากการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่สำนักงานในช่วงสถานการณ์ COVID-19 พบว่ามี 3 ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่สำนักงานในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ได้แก่ 1) ปัจจัยจากลักษณะการทำงานที่เน้นการพบปะบุคคลภายนอกองค์กร 2) ปัจจัยจากลักษณะการทำงานที่เน้นไปทางการทดลอง ทดสอบระบบและอุปกรณ์ และ 3) ปัจจัยจากปัญหาการทำงานจากบ้านในเรื่องการเชื่อมต่อระบบขององค์กรส่งผลกระทบต่อการเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่สำนักงานในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ทั้ง 3 กรณีศึกษา โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง ส่วนปัญหาของการทำงานจากบ้านนั้นจากผลการศึกษาพบว่าปัญหาและอุปสรรคการทำงานจากบ้านในเรื่องเฟอร์นิเจอร์ไม่รองรับและบรรยากาศไม่เหมาะสมสำหรับการทำงาน รวมถึงมีความไม่สมดุลระหว่างระยะเวลาการทำงานและเวลาส่วนตัว มีระดับความจำเป็นในระดับสูงทั้ง 3 กรณีศึกษา ถึงแม้ว่าค่าความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนวันที่เข้าปฏิบัติงานและปัญหาดังกล่าวไม่ได้อยู่ในระดับสูง แต่ก็เป็นปัญหาที่ผู้บริหารควรให้ความสำคัญ ซึ่งหากละเลยการแก้ไขดูแลปัญหาดังกล่าวอาจก่อให้เกิดผลเสียกับองค์กรในระยะยาวได้ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงรูปแบบการทำงานที่เกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์การระบาดและปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการใช้พื้นที่สำนักงาน โดยปัจจัยเหล่านี้สัมพันธ์กับจำนวนวันที่เข้าใช้พื้นที่สำนักงาน หากปัจจัยดังกล่าวมีระดับที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง ความต้องการใช้พื้นที่สำนักงานในสถานการณ์โรคระบาดก็จะแปรเปลี่ยนไปในทิศทางเดียวกัน อย่างไรก็ตามการจัดสรรพื้นที่ให้พนักงานเข้าปฏิบัติงานในช่วงการระบาดนั้นยังคงต้องคำนึงถึงการจัดสรรขนาดพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นเพื่อรักษาระยะห่างทางสังคมเพื่อป้องกันการติดเชื้อด้วย
Other Abstract: Since COVID-19 has been announced as a global pandemic and its outbreak has been caused to social distancing methodology, there has been a growing concern about how to prevent the spread of the virus while considering new approaches to workplace utilization. To ensure business continuity and reduce the risk of COVID-19 transmission, most organizations have released the work-from-home policy, including the changes in office space. This study aims to understand work patterns and the challenges faced when working from home that impact office utilization during the COVID-19 situation. The questionnaire served as an instrumental tool for data collection, facilitating the acquisition of responses from a sample of employees in three commercial banks located in Bangkok. Subsequently, employing the technique of descriptive statistics, the collected data underwent meticulous analysis and were summarized. The study's results will provide valuable insights for facility management to efficiently allocate office space in the event of future severe illness outbreaks. The study has revealed three work patterns during the COVID-19 situation, employees work in an office, employees work from home, and employees work in an alternative work environment that is neither the office nor the home. Across all banks, three factors had a high impact on office utilization: hosting pattern, technical equipment pattern, and problems with organizational system connectivity. All case studies had a high level of positive correlation coefficient for these factors. Additionally, the study identified three primary problems related to working from home that significantly affected office utilization in all banks: non-ergonomic office chairs, improper working environment, and lack of work-life balance. Although the correlation between these problems and the number of working days was not high, they still require management-level attention and improvement to avoid long-term disadvantages. Furthermore, the study demonstrated the relationship between work patterns during the pandemic and their impact on office utilization. These factors were found to be closely related to the number of days employees used the office area. Any changes in these factors would accordingly affect the required office area usage. Ultimately, the most crucial consideration is effectively managing the office space to maintain social distancing and prevent the spread of infectious diseases.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82754
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.948
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.948
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6272020925.pdf5.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.