Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83230
Title: การให้ความหมายและแนวทางการยกระดับงานที่มีคุณค่าของลูกจ้างทำงานบ้านในยุคปกติใหม่: กรณีศึกษาลูกจ้างทำงานบ้านหญิงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
Other Titles: The definition and guidelines for decent work of domestic workers in the new next normal era: a case study of female domestic workers in Bangkok, Thailand
Authors: บุรสิทธิ์ เหมาะใจ
Advisors: กิ่งกาญจน์ จงสุขไกล
บวร ทรัพย์สิงห์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ชี้ให้เห็นถึงชีวิตและพลวัตการทำงานของลูกจ้างทำงานบ้านหญิงก่อนและระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 2) ค้นหาความหมายของงานที่มีคุณค่าในยุคปกติใหม่ และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนางานที่มีคุณค่าของลูกจ้างทำงานบ้านหญิง ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ลูกจ้างทำงานบ้านหญิงในกรุงเทพมหานคร จำนวน 8 ราย นายจ้าง 3 ราย และนักวิชาการและเจ้าหน้าที่รัฐ 3 ราย ผลการศึกษาพบว่า 1) ชีวิตและพลวัตการทำงานของลูกจ้างทำงานบ้านก่อนสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ลูกจ้างทำงานบ้านหลายรายเริ่มเข้ามาประกอบอาชีพลูกจ้างทำงานบ้านตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นตอนต้นซึ่งมีระดับการศึกษาที่ไม่สูงมากนัก อีกทั้งมีปัญหาสะสมจากการทำงานในอาชีพดังกล่าว เช่น  ไม่มีสัญญาการจ้างงาน ค่าตอบแทนที่ไม่สอดคล้องกับภาระงานและชั่วโมงการทำงาน และการขาดสวัสดิการในการทำงาน ด้านรูปแบบการทำงานจำแนกได้ 2 รูปแบบ คือ ทำงานประจำกับนายจ้างเพียงคนเดียว ทำงานแบบครั้งคราวโดยมีนายจ้างหลายคน เมื่อมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ลูกจ้างทำงานบ้านประสบกับสภาวะความยากลำบากที่มากยิ่งขึ้น ทั้งจากการทำงานที่หนักกว่าปกติ การถูกลดค่าจ้าง/เงินเดือน ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการเดินทางและอุปกรณ์ป้องกันโรค รวมทั้งต้องบริหารจัดการเพื่อดูแลค่าใช้จ่ายให้สมาชิกในครอบครัวที่สูญเสียรายได้หรือถูกเลิกจ้างในช่วงเวลาดังกล่าว จนส่งผลให้ขาดสภาพคล่องทางการเงิน ในขณะที่ความช่วยเหลือจากภาครัฐที่ลูกจ้างทำงานบ้านได้รับ เช่น โครงการเราชนะ โครงการคนละครึ่ง เป็นเพียงแค่การช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้บ้างในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น แต่ไม่มีมาตรการที่ให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบอาชีพนี้โดยตรงในการทำงาน 2) การให้ความหมายต่องานที่มีคุณค่า พบว่า ลูกจ้างทำงานบ้าน นายจ้าง ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ให้ความหมายไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ เป็นงานที่สามารถตอบสนองต่อการดำรงชีวิตหรือความต้องการในชีวิตของแรงงานได้ 3) แนวทางการพัฒนางานที่มีคุณค่าของลูกจ้างทำงานบ้านหญิง พบว่า ความต้องการสูงสุดของลูกจ้างทำงานบ้าน คือ การหลักประกันทางสังคมที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับแรงงานที่มีนายจ้างอื่น ๆ รวมถึงการได้รับการคุ้มครองแรงงานตาม อนุสัญญาฉบับที่ 189 และข้อแนะฉบับที่ 201 เพื่อให้เกิดความมั่นคงในการทำงาน
Other Abstract: The purposes of this study are 1) to study the life and work dynamics of female domestic workers before and during the COVID-19 pandemic. 2) to study definition of decent work in the new normal era 3) to study guidelines for decent work of domestic workers. This study is a qualitative research. The in-depth interview method was used with 8 Thai domestic workers in Bangkok, 3 employees and 3 academics and government officials. The study found that the life and work dynamics of female domestic workers before the COVID-19 pandemic, many domestic workers began to work as domestic workers since their early teens whose level of education is not very high. In addition, there are cumulative problems from working in such occupations, such as not having an employment contract, inconsistent compensation with workload and working hours and lack of welfare at work. There are forms of employment that unfairly affect income and welfare. The study found that working styles of domestic workers can be classified into 2 types: working regularly with only one employer and working part-time with multiple employers. The main impacts of COVID-19 pandemic on the domestic workers are as follow: domestic workers faced even more difficult conditions both from working harder than usual, wage/salary reduction as well as increased expenses from travel and prophylactic equipment Including having to manage to take care of expenses for family members who have lost income or have been laid off during that time. These impacts resulted in a lack of financial liquidity. Meanwhile government assistance received by domestic workers, such as the RAO Chana project, the 50:50 co-payment scheme, was to help alleviate some daily expenses in a short period of time. However, there are no measures to directly assist this group of workers in their work. 2) the definition of decent work in the new normal era was defined by domestic workers, employers, representatives of government agencies as the meaning in the same direction, that is, it is a job that can respond to the livelihood or the needs of the labor life 3) Guidelines for decent work of female domestic workers revealed that the highest demand of female domestic workers was social security for equivalent to workers with other employees, including the protection from the ILO Convention No. 189 and Recommendation No. 201 concerning decent work for domestic workers to ensure their job security.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พัฒนามนุษย์และสังคม
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83230
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.699
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.699
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380042720.pdf2.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.