Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83631
Title: ผลของพิโนสโทรบินจากกระชายเหลืองที่มีต่อการต้านการเพิ่มจำนวนของเซลล์ไลน์มะเร็งบางชนิดและการใช้ไลโปโซม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ของพิโนสโทรบิน
Authors: ชุลี ยมภักดี
บุญเอก ยิ่งยงณรงค์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: กระชายเหลือง
เซลล์มะเร็ง -- การเจริญเติบโต -- การควบคุม
ไลโปโซม
Boesenbergia pandurata
Cancer cells -- Growth -- Regulation
Liposomes
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พิโนสโทรบิน เป็นฟลาวาโนนชนิดหนึ่งที่พบในกระชายเหลือง (Boesenbergia pandurata) ถูกค้นพบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งวิถีการส่งสัญญาณของแคลเซียมที่มีผลต่อการควบคุมการเจริญของยีสต์ Saccharomyces cerevisiae ในการศึกษานี้มุ่งหมายที่จะศึกษาฤทธิ์ต้านการเจริญของพิโนสโทรบินและพิโนสโทรบินที่บรรจุในไลโปโซม (LipoPino) ในเซลล์ไลน์มะเร็งบางชนิด รวมทั้งศึกษาผลของพิโนสโทรบินที่มีต่อวัฎจักรการแบ่งเซลล์ของเซลล์ไลน์มะเร็งที่ไวต่อพิโนสโทรบิน โดยได้ศึกษาฤทธิ์ของพิโนสโทรบินที่มีต่อการต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว Jurkat เซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร KATOIII เซลล์มะเร็งลำไส้ SW620 เซลล์มะเร็งตับ HepG2 เซลล์มะเร็งปากมดลูก Ca-Ski และเซลล์มะเร็งเต้านม BT474 พบว่าเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร KATOIII มีความไวต่อพิโนสโทรบินที่สุด ที่ค่า IC₅₀ 24.7±4.5 ไมโครโมลาร์ การใช้ LipoPino สามารถเพิ่มฤทธิ์ต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งของพิโนสโทรบินโดยมีค่า IC50 อยู่ในช่วง 2.6-9.3 ไมโครโมลาร์ (ยกเว้นในเซลล์มะเร็ง BT474 and SW620 ที่พบว่าไลโปโซมมีความเป็นพิษที่สูงในเซลล์ไลน์ทั้งสองชนิด) โดยไลโปโซมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของพิโนสโทรบินได้ 2.7->20.9 เท่าเมื่อเทียบกับฤทธิ์ของการใช้พิโนสโทรบินอย่างเดียว ในการศึกษาผลของพิโนสโทรบินที่มีต่อวัฎจักรการแบ่งเซลล์โดยวิธี Flow cytometry พบว่าโดยการใช้พิโนสโทรบินที่ความเข้มข้น 2 เท่าของค่า IC₅₀ ณ วันที่ 4 พบว่าเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว Jurkat และเซลล์มะเร็งเต้านม BT474 มีประชากรเซลล์ในระยะ sub G1 สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญจากกลุ่มควบคุมที่ไม่มีพิโนสโทรบิน และพบว่าประชากรของเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร KATOIII หยุดอยู่ที่ระยะ G2/M อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ผลจากการศึกษานี้แนะนำว่าพิโนสโทรบิน สามารถถูกใช้เป็นสารต้านการเจริญในเซลล์มะเร็งหลายๆชนิดได้ และไลโปโซมสามารถนำมาใช้เป็นสิ่งนำส่งพิโนสโทรบินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ในเซลล์มะเร็งบางชนิดได้
Other Abstract: Pinostrobin, a flavanone from Boesenbergia pandurata, was previously identified as an inhibitor of Ca²⁺-signal mediated growth regulation in Saccharomyces cerevisiae. This study aimed to investigate the anti-proliferative activity of pinostrobin and the liposome-encapsulated pinostrobin (LipoPino) in some human cancer cell lines, as well as determine the effect of pinostrobin on cell cycle progression. Cytotoxicity of free- and liposome encapsulatedpinostrobin against Jurkat, KATOIII, SW620, HepG2, Ca-Ski and BT474 cell lines was assessed. Among the tested cell lines, KATOIII cells were the most sensitive to pinostrobin. The use of liposomal pinostrobin showed significantly enhance the cytotoxic effect of pinostrobin in all cell lines studied (except for BT474 and SW620 which showed highly toxic to liposome) with IC₅₀ values ranging from 2.6 - 9.3 μM exhibited 2.7 - >20.9 times higher cytotoxic effect than those of the free form. A flow cytometric analysis revealed that 2x IC₅₀ concentration of pinotrobin treated cells caused significantly increase in sub G1 population at 96 h of Jurkat T cells and BT474 while caused G2/M cell cycle arrest in KATO Ill cells. The results suggested that pinostrobin should be a potential candidate for various cancer therapies and liposome could be a vehicle of choice to improve the efficacy of pinostrobin.
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83631
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chulee Yom_Res_2558.pdf29.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.