Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83708
Title: การสังเคราะห์ทรายแมวจากซีโอไลต์
Other Titles: Synthesis of Cat Litter From Zeolite
Authors: เจษบดินทร์ ทวีทรัพย์เพิ่มพูน
พีรกานต์ มงคลสินธุ์
Advisors: ธนากร วาสนาเพียรพงศ์
วันทนีย์ พุกกะคุปต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ผลิตภัณฑ์รีไซเคิล
ซีโอไลต์
ทรายแมว
Recycled products
Zeolites
Cat litter
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาพบว่าผู้วิจัยสามารถใช้ pitcher ที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานเซรามิค ทำปฏิกิริยากับโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ซึ่งเป็นเบสแก่ สังเคราะห์ Zeolite ได้ด้วยวิธีการ Hydrothermal ที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส โดยการแช่ในน้ำอุ่น และจากผลการวิเคราะห์ด้วย X-ray diffraction เพื่อยืนยันผลการสงเคราะห์ Zeolite พบว่า ผู้วิจัยสามารถสังเคราะห์ Zeolite ได้ 2 ชนิด ได้แก่ Hydroxy Sodalite และ Faujasite Na-X โดยทั้ง 2 ชนิด มีค่าพื้นที่ผิวจำเพาะที่สูง การศึกษาวิธีการสังเคราะห์ทรายแมว ผู้วิจัยเลือกใช้ส่วนผสมของ Zeolite และ ดินเหนียว (Bentonite) ตามสัดส่วน 85 : 15 ตามลำดับ โดยเป็นสูตรทั่วไปของทรายแมวปกติ และในช่วงต้นผู้วิจัยใช้วิธีการขึ้นรูปโดยการใช้เครื่อง Rotary Pan แต่มีข้อเสีย คือต้องมีการคัดขนาดและชิ้นงานที่มีขนาดไม่เหมาะสมกับการใช้งานจะถูกนำไปขึ้นรูปใหม่ซ้ำไปมาทำให้เสียเวลาและเปลืองทรัพยากร จึงมีการเปลี่ยนมาใช้วิธีการขึ้นรูปด้วยวิธีการ Extrusion โดยจำลองด้วยการใช้หลอดฉีดยา ซึ่งวิธีนี้จะให้ประสิทธิภาพการขึ้นรูปได้ดีกว่า โดยขึ้นรูปได้ทั้งหมดไม่ต้องนำไปขึ้นรูปซ้ำ
Other Abstract: The purpose of this study is to utilize ceramic pitcher (waste materials from ceramic factory) by react with sodium hydroxide. Synthesis of zeolites at 80 °C in walm water for 24 h and confirm phases by X-ray diffraction analysis. In order to determine the synthesized zeolites, there are two types of zeolites, namely hydroxysodalite and faujasite Na-X. Both types have high specific surface area. The study on the synthetic method of cat litter is based on the mixture of zeolite and bentonite clay. In this study, there was a problem, that is, the selection and reuse of specimens of inappropriate size resulted in a waste of time and evidence. Therefore, it has been replaced by extrusion forming method. The results show that this method has better forming efficiency and does not need to be repeated.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพอลิเมอร์และสิ่งทอ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83708
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-MATSCI-003 - Jasbadin Thawee.pdf31.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.