Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83723
Title: | โครงการทำหมันชายโดยใช้ไฟฟ้าจี้เปรียบเทียบกับวิธีตัดและผูกด้วยไหมดำ : รายงานฉบับสมบูรณ์ |
Other Titles: | Vasectomy by electric fulguration as compared with the conventional ligature procedure |
Authors: | นิกร ดุสิตสิน ปรีดา ทัศนประดิษฐ์ ศรีริน สินธุภัค สมภพ ลิ้มพงษานุรักษ์ พูลพงศ์ อิทธิพงศ์ ยุพา อ่อนท้วม เอื้อมพร คชการ จงกล ตั้งอุสาหะ บุญเทียม เทพพิทักษ์ศักดิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
Subjects: | การทำหมัน การตัดหลอดนำอสุจิ |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพ และภาวะแทรกซ้อนของการทำหมันชายด้วยวิธีไฟฟ้าจี้กับการทำหมันชายด้วยวิธีผูกด้วยไหมดำ รูปแบบของการศึกษาผู้มารับบริการทำหมันชายที่ศูนย์วิจัยอนามัยวัดธาตุทองทั้งหมด 267 คน เป็นผู้ที่ทำหมันโดยใช้ไฟฟ้าจี้ 134 คน และใช้ไหมดำผูก 133 คน ด้วยวิธี opne-randomized clinical trial หลังผ่าตัด จะติดตามผล 7 วัน 3 เดือน 6 เดือน และ 12 เดือน ตามลำดับ ผลการศึกษาผู้รับบริการกลับมาตรวจแผลเมือครบ 7 วัน ในกลุ่มจี้ด้วยไฟฟ้าร้อยละ 77 และร้อยละ 76 ในกลุ่มใช้ไหมดำ พบว่าในกลุ่มที่ใช้ไฟฟ้าจี้มีอาการแทรกซ้อนน้อยกว่าการผู้กด้วยไหมดำ อาการแทรกซ้อน ได้แก่ มีเลือดแทรกใต้ผิวหนัง (ecchymosis) มีเลือดคั่ง (hematoma) และแผลบวมมีการอักเสบ เมื่อครบ 3 เดือน ร้อยละ 80 ของผู้กลับมาตรวจ ไม่พบเชื้ออสุจิ แต่เมื่อครบ 12 เดือน ทั้ง 2 กลุ่ม ตรวจไม่พบเชื้ออสุจิทั้งหมด การเกิด sperm granuloma มีได้ทั้งสองแบบ โดยที่ผู้บริการไม่รู้สึกเจ็บ หรือรำคาญแต่อย่างใด สรุปการทำหมันชายโดยใช้ไฟฟ้าจี้ พบว่ามีอาการแทรกซ้อนหลังผ่าตัด 7 วัน น้อยกว่าแบบใช้ผูกด้วยไหมดำ ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อครบ 1 ปีแล้ว ไม่พบว่ามีความแตกต่างกันที่เป็นนัยสำคัญสำหรับ sperm granuloma จากวิธีทำทั้งสองแบบนั้น ไม่มีความสำคัญทางคลินิก |
Other Abstract: | ObjectiveThe study aimed to compare the outcomes of vasectomy by electric fulguration versus the conventional ligature procedure Research designOpen randomized clinical trial was employed to study 267 acceptors who had visited weekend Vasectomy Clinic at Wat Thart Tong Research Center. They were block of four sampling randomized into 2 groups, the first group. 234 cases were assigned to electric fulguration and the second group : 133 cases were received conventional ligature procedure. All acceptors were requested to return to the Clinic after vasectomy 7 days, 3 months, 6 months and 12 months respectively for post vasectomy check-up. ResultsAt day 7 after vasectomy, seventy-seven percent in electric fulguration and seventy-six percent in conventional ligation procedure returned to the Clinic. It was noted that the first group had less complications than the second group. The complications were ecchymosis, hematoma and minimal inflammation. Eighty percent of clients visiting Vasectomy Clinic three month Postoperatively for sperm count. 80.3 percent of them had azoospermia less than in electric fulquration but no significant differences. Only 14 percent of client of both groups of them had come back to the Clinic at month 12 and all were azoospermic. Incidence of sperm granuloma appeared in both groups but they did not feel any pain or any irritation. ConclusionVasectomy by electric fulguration caused fewer complications than the conventional ligature procedure at day 7 post vasectomy but not statistically different. After 1 year of vasectomy, there was no significant difference in the prevalence of sperm granuloma. |
Description: | ศูนย์วิจัยอนามัยวัดธาตุทอง -- การลดปัญหาสภาะแทรกซ้อนจากการทำหมันชาย -- วิธีการทำผ่าตัด: แบบผูกตัด ; แบบจี้ไฟฟ้า -- การติดตามผลเพื่อตรวจหาอสุจิ และ sperm granuloma |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83723 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Health - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nikorn_Du_Res_2541.pdf | รายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext) | 9.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.