Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8376
Title: | การพัฒนาแบบจำลองพฤติกรรมการเลือกใช้ระบบขนส่งมวลชนรองสำหรับระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร |
Authors: | ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์ |
Email: | saksith.c@chula.ac.th |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Subjects: | การขนส่งมวลชน -- ไทย -- กรุงเทพฯ รถไฟฟ้า -- ไทย -- กรุงเทพฯ |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Series/Report no.: | โครงการวิจัยเลขที่ 78G-CE-2548 |
Abstract: | ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่มีมูลค่าการลงทุนมหาศาล การที่จะดึงดูดผู้เดินทางให้เข้ามาใช้บริการได้เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งการส่งเสริมให้เกิดการเดินทางในระบบรางจะต้องมีระบบป้อนผู้โดยสารเข้ามาถึงสถานีที่มีประสิทธิภาพ การวิจัยจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความพึงพอใจในรูปแบบการเดินทางที่ใช้ในการเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในปัจจุบันของผู้เดินทางที่ใช้รถไฟฟ้า พร้อมทั้งหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน และศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกรูปแบบการเดินเท้าและวิธีอื่นๆ เข้าสู่สถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนโดยการพัฒนาแบบจำลองพฤติกรรมการเลือกรูปแบบการเดินทาง (Mode Choice Model) การวิจัยได้ใช้แบบสอบถามเพื่อช่วยในการเก็บข้อมูล โดยการสัมภาษณ์ผู้เดินทางที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส 13 สถานี จำนวน 1,013 คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติด้วยโปรแกรม STATA จากผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า รูปแบบที่มีใช้เดินทางเข้ามายังสถานีรถไฟฟ้ามากที่สุดร้อยละ 21 ของกลุ่มตัวอย่าง เดินทางด้วยรถโดยสารประจำทาง รองลงมาคือ การเดินคิดเป็นร้อยละ 17 ของกลุ่มตัวอย่าง ใช้เวลาในการเดินทางเฉลี่ย 42.68 นาที และ 8.24 นาที ตามลำดับ และระดับความพึงพอใจในแต่ละรูปแบบการเดินทางส่วนใหญ่อยู่ในระดับพึงพอใจปานกลาง ยกเว้น การเดิน รถบริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส รถยนต์ และการมีคนส่ง ที่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก จากผลจากวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ พบว่า ตัวแปรที่มีผลต่อความสามารถในการเข้าถึงเป็นตัวแปรจากคุณลักษณะการเดินทาง และการใช้พื้นที่ ได้แก่ จำนวนการเปลี่ยนต่อ เวลาในการเดินทางจากสถานีถึงจุดหมายปลายทาง เวลาในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า และความหนาแน่นของที่พักอาศัย นอกจากนี้ผลที่ได้จากศึกษาพฤติกรรมการเลือกรูปแบบการเดินทางระหว่างรูปแบบการเดินเท้าและรูปแบบการเดินทางโดยระบบขนส่งมวลชนรองอื่นๆ อื่น ด้วยการพัฒนาแบบจำลองประเภทโลจิตทวินาม พบว่า ตัวแปรที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ระดับความสะดวกสบาย ระยะทางการเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้า สถานภาพการแต่งงาน การมีรถยนต์ในครอบครอง และตัวแปรหุ่นของแต่ละสถานีซึ่งอาจสามารถสะท้อนถึงความเหมาะสมของโครงสร้างพื้นฐานของชุมชนที่อยู่ในรัศมี 2 กิโลเมตรจากสถานีรถไฟฟ้า |
Other Abstract: | Major rail transit systems require substantial amount of investment, and hence it is important to attract as many users of the systems as possible. To encourage rail transit travel, there must exist effective feeder services to transit stations. The objectives of this research are to examine transit users’ satisfaction of station access modes, to investigate factors affecting transit station accessibility, and to determine factors influencing mode choice of travel, particularly walking, by developing discrete mode choice model. The data collection tool in this project is primarily questionnaire. Passenger interviews were conducted at 13 BTS stations, yielding 1,013 observations. The data were analyzed using STATA, and the statistical results show that the most popular access mode is bus (21% of the sample), followed by walking (17%). The average access times by bus and walking are 42.64 and 8.24 minutes, respectively. The level of satisfaction of each mode of travel is moderate, except for those of walking, BTS shuttle, car, and kiss-and-ride, which are high. The linear regression results show that factors affecting transit station accessibility are trip characteristics and land use variable, including number of transfers, travel time, departure time, and residential density. Additionally, logit models for binary mode choice between walking and motorized modes were estimated. The results reveal that factors influencing mode choice include level of comfort, distance to transit station, marital status, car ownership, and station specific dummy variables, which might reflect the conditions of walking facility and infrastructure within two kilometers of transit stations. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8376 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Eng - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
saksit.pdf | 11.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.