Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83773
Title: การอนุรักษ์และเพิ่มจำนวนสัตว์ขาปล้องที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตร : รายงานผลการดำเนินงาน
Authors: ชัชวาล ใจซื่อกุล
ปุณฑริกา คงเรือง
ปาลีรัฐ นุชโพธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: แมลง
การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพ
สัตว์ขาปล้อง
Issue Date: 2561
Publisher: คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาสัตว์ขาปล้องที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตรเพื่อการอนุรักษ์และเพิ่มจำนวนได้ดำเนินการศึกษาโดยดำเนินการศึกษาโดยการใช้กรงในแปลงปลูกไม้วงศ์ยางนาในสถานีวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีไหล่น่าน อ.เวียงสา จ.น่าน และการศึกษาระบบการปลูกถั่วฝักยาว ซึ่งดำเนินการในแปลงสาธิตเกษตรอินทรีย์ ในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โดยใช้การจับด้วยมือ เครื่องดูดแมลงและการใช้ beating sheet สัตว์ขาปล้องที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตรที่มีบทบาทสำคัญในทั้งสองระบบการศึกษาคือผู้ล่าในกลุ่มแมงมุม โดยเฉพาะในวงศ์ Salticidae และ Oxyopidae ในแปลงปลูกไม้วงศ์ยางนามีแมลงศัตรูพืชหลักคือด้วงงวงม้วนใบ Apoderous notatus และผู้ล่าในกลุ่มตั๊กแตนตำข้าวและมวนเพชฌฆาตได้รับผลเชิงลบอย่างชัดเจนจากการล่าโดยนกและค้างคาว ในแปลงปลูกถั่วฝักยาวมีแมงมุมในวงศ์ Oxyopidae เป็นกลุ่มเด่นที่พบและมีแมลงศัตรูพืชหลักเป็นเพลี้ยอ่อนถั่ว Aphis craccivora การศึกษาด้านพลวัตรประชากรของกลุ่มสัตว์ขาปล้องผู้ล่าเหล่านี้กับปัจจัยทางกายภาพและชีวภาพจะช่วยในการเข้าในในการอนุรักษ์และเพิ่มจำนวนแมลงที่เป็นประโยชน์เหล่านี้ต่อไป
Other Abstract: Agriculturally beneficial arthropods for conservation and augmentation had been studied in dipterocarp reforested plots at Lainan Research and Technology Transfer station, Wiang Sa district, Nan Province, and in yard-long bean cultivation in organic demonstration plot at Chulalongkorn Land development project, Kaeng Khoi district, Saraburi province. Hand collection, vacuum, and beating sheet were used for arthropod sampling. The beneficial arthropods found in both studies were predatory spiders, particularly in families Salticidae and Oxyopidae. In dipterocarp reforested plots, leaf-rolling weevils, Apoderous notatus, were dominant pest, and praying mantis and assassin bugs were negatively affected from bird and bat predation. In yard-long bean plots, the main pests were bean aphid, Aphis craccivora, with oxyopid spiders as the major predetors of these aphids. The study of population dynamics of predatory arthropods will elucidate in conservation and augmentation of these beneficial arthropods.
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83773
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chatchawan_Ch_Res_2561.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)10.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.