Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83846
Title: โครงการ การศึกษาผลของอายุและเพศต่อเมทาบอลิซึมของแคลเซียมและกระดูกในหนูแรทความดันโลหิตสูง : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
Other Titles: Effect of age and gender differences on calcium and bone metabolisms in spontaneously hypertensive rats (SHR)
Authors: วัชราภรณ์ ติยะสัตย์กุลโกวิท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ความดันเลือดสูง
แคลเซียม -- การเผาผลาญ
Issue Date: 2562
Publisher: คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โรคความดันโลหิตสูง เป็นหนึ่งในโรคที่มีความสำคัญทางสาธารณสุขในกลุ่มผู้สูงอายุในปัจจุบัน จากรายงานในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงพบว่านอกจากความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือดแล้วยังพบความเสี่ยงของการหักของกระดูกเพิ่มขึ้นแต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการอธิบายถึงกลไกและการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการลดลงของมวลกระดูกและการเปลี่ยนแปลงของเมทาบอลิซึมของแคลเซียมในผู้ป่วยยังมีข้อมูลไม่ชัดเจนและมีข้อจำกัดมาก งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างกระดูก ความหนาแน่นของกระดูก และการเปลี่ยนแปลงเมทาบอลึซึมของแคลเซียม ในหนูแรทเพศผู้และเพศเมียที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงชนิด spontananeously hypertensive rat (SHR) สายพันธ์ SHR/KyoMlac และหนูกลุ่มควบคุมที่มีความดันโลหิตปกติ (wild type: WT) สายพันธ์ WMN/NrsMlac ที่อายุ 12, 18, 24 สัปดาห์ ตรวจวัดคุณภาพโครงสร้างกระดูกและความหนาแน่นของมวลกระดูก โดยใช้เครื่อง Micro-Computed Tomography (µCT) ตรวจวัดความแข็งแรงของกระดูกโดย three-point bending test ผลพบว่าในหนู SHR ทั้งสองเพศมีความหนาแน่นของกระดูกและความแข็งแรงของกระดูกลดลงทุกช่วงอายุเมื่อเปรียบเทียบกับหนูกลุ่มควบคุม เมื่อทำการศึกษากลไกการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการสร้างและสลายกระดูกในเซลล์สร้างกระดูกปฐมภูมิของหนู SHR พบการลดลงของการแสดงออกของเอ็มอาร์เอ็นเอของตัวชี้วัดการสร้างกระดูกและการเพิ่มขึ้นของการสลายกระดูก แต่อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างของระดับแคลเซียมในกระแสเลือด จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าภาวะความดันโลหิตสูงส่งผลให้โครงสร้างและความเข้มแรงของกระดูกลดลง ซึ่งส่งผลต่อกลไกการรักษาสมดุลของมวลกระดูกโดยเพิ่มการสลายกระดูกโดยการทำงานของเซลล์ออสทีโอคลาสต์และลดการสร้างกระดูกโดยเซลล์ออสทีโอลาสต์
Other Abstract: Hypertension and osteoporosis are the major public health problem in the elderly worldwide. Interestingly, clinical studies have shown that hypertensive patients suffered from significant bone loss. However, the underlying mechanisms between hypertension and bone metabolisms in hypertensive patients are limited and remain controversial. Therefore, the bone phenotype and the mechanisms of bone remodeling in spontaneously hypertensive rats (SHR), the well-defined hypertensive animal model, were in vivo and in vitro investigated. Female SHR rat at the age of 18 weeks were determined the volumetric bone mineral density (vBMD) and the bone strength using microcomputed tomography (µCT) and three point bending test, respectively. We found that cortical and trabecular BMD as well as the cortical thickness and area were significantly decreased as compared to the age-matched controls. In addition. SHR exhibited the impairment of bone strength. Next the primary osteoblast culture of wild type and SHR were conducted and determined the mRNA expression of bone formation and resorption marker genes were determined. The decreasing of bone formation markers, ALP, but not runx2 and osterix were found. In contrast, the increasing of bone resorption markers including RANKL, MCSF and IL6 were observed. These finding suggesting that the bone microstructure as well as bone strength are impaired in SHR. The underlying mechanisms might be due to the disturbance in bone remodeling process which increased in bone resorption by osteoclast function and decreased in bone formation by osteoblast function.
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83846
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wacharaporn_Ti_Res_2562.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)26.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.