Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83934
Title: ผลของการฝึกออกกำลังกายแบบช่วงหนักสลับเบาที่มีต่อการทำงานของระบบหายใจและอาการในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
Other Titles: Effects of high intensity interval training on respiratory function and rhinitis symptoms in patients with allergic rhinitis
Authors: เบญจ์ ป้องกันภัย
Advisors: วรรณพร ทองตะโก
เจตทะนง แกล้วสงคราม
Timothy D. Mickleborough
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Issue Date: 2566
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการฝึกระหว่างการออกกำลังกายแบบช่วงหนักสลับเบากับการฝึกการออกกำลังกายที่ระดับปานกลางแบบต่อเนื่องต่อการทำงานของระบบหายใจ อาการในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ไซโตไคน์ และภาวะเครียดออกซิเดชันในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ จำนวน 36 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 12 คน ได้แก่ กลุ่มควบคุม (CON) กลุ่มฝึกออกกำลังกายแบบช่วงหนักสลับเบาด้วยอัตราส่วนความหนักต่อเบา 1:2 (HIIT) และกลุ่มฝึกออกกำลังกายระดับปานกลางแบบต่อเนื่อง (MCT) ทำการฝึก 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ก่อนและหลังการทดลองทำการวัดตัวแปรด้านสรีรวิทยา สมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ อาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ การไหลของเลือดในโพรงจมูก ปริมาตรการไหลผ่านของอากาศสูงสุดในโพรงจมูกขณะหายใจเข้า ไนตริกออกไซด์ขณะหายใจออก ความสามารถทางแอโรบิก และคุณภาพชีวิต นำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบผสม และการทดสอบวิลคอกซันและครัสคาลวัลลิส ที่ระดับความมีนัยสําคัญทางสถิติที่.05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการฝึกออกกำลังกายเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ กลุ่ม HIIT และกลุ่ม MCT มีค่าเฉลี่ยตัวแปรปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ ค่าปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า-ออกเต็มที่ในเวลา 1 นาที ค่าแรงดันการหายใจเข้าสูงสุดและแรงดันการหายใจออกสูงสุด เพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยคะแนนอาการทั้งหมดในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ลดลงแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยไซโตไคน์อินเตอร์ลิวคินทูเพิ่มขึ้น และอินเตอร์ลิวคินซิกส์ลดลงแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนั้น กลุ่ม HIIT ที่พบว่า ค่าไซโตไคน์ทีเอ็นเอฟ-อัลฟา อินเตอร์ลิวคินไฟฟ์และค่าเฉลี่ยไนตริกออกไซด์ขณะหายใจออกลดลงแพ้แตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 สรุปผลได้ว่า กลุ่มฝึกออกกำลังกายแบบช่วงหนักสลับเบาสามารถช่วยเพิ่มความสามารถของสมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ ลดอาการในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ อีกทั้งยังลดค่าเฉลี่ยไซโตไคน์ทีเอ็นเอฟ-อัลฟา อินเตอร์ลิวคินไฟฟ์และค่าเฉลี่ยไนตริกออกไซด์ขณะหายใจออก แสดงถึงการลดลงของการอักเสบของผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ได้ ซึ่งส่งผลดีและช่วยลดอาการในผู้ป่วยจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ได้
Other Abstract: The objective of this study was to compare the effects of training between high-intensity interval training and moderate continuous exercise training on the pulmonary function, respiratory muscle strength, symptoms of patients with allergic rhinitis, cytokines, and oxidative stress in patients with allergic rhinitis. 36 patients with allergic rhinitis were divided into 3 groups, 12 people per group: the control group (CON), the group with high-intensity interval training at a ratio of 1:2 (HIIT) and the group with moderate continuous training (MCT), 3 days per week, over a total period of 12 weeks. Before and after the experiment, lung function, respiratory muscle strength, allergic rhinitis symptoms, nasal blood flow rate, peak nasal inspiratory flow, nitric oxide levels, cytokines and quality of life were measured and used for statistical analysis. After 12 weeks of HIIT and MCT was found FVC and MVV, MIP, and MEP difference from pre-test (p<.05). All symptoms of patients with allergic rhinitis decreased significantly different from before the pre-test (p<.05). IL-2 was increased significantly different from before the pre-test (p<.05) and IL-6 was decreased significantly different from before the pre-test (p<.05) However, only the HIIT group showed a significant difference in TNF-alpha, IL-5 and mean exhaled nitric oxide after the 12-week experiment compared to the pre-test. In summary, this study shows that a HIIT can improve pulmonary function and respiratory muscle strength, reduce the symptoms of patients with allergic rhinitis, increase IL-2, reduce TNF-alpha, IL-5, IL-6 and exhaled nitric oxide, suggesting a reduction in inflammation in patients with allergic rhinitis.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83934
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6371010239.pdf7.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.