Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83990
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รัชนีกร อุปเสน | - |
dc.contributor.author | อริสมันต์ ศิริลาภ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2024-02-05T03:05:00Z | - |
dc.date.available | 2024-02-05T03:05:00Z | - |
dc.date.issued | 2566 | - |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83990 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566 | - |
dc.description.abstract | การเป็นผู้ดูแลหลักผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรง ส่งผลกระทบต่อผู้ดูแลหลักผู้ป่วยจิตเภทในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างมาก พยาบาลจิตเวชต้องเข้าใจถึงเรื่องราวและผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงกับผู้ดูแลหลักเหล่านั้น เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในช่วยเหลือผู้ดูแลหลักเหล่านั้น ดังนั้นจึงได้ทำการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ เพื่อศึกษาประสบการณ์ชีวิตของผู้ดูแลหลักผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรง ในผู้ดูแลหลักที่มีประสบการณ์อยู่ร่วมในเหตุการณ์ขณะผู้ป่วยจิตเภทมีพฤติกรรมรุนแรง และก่อเหตุซ้ำ 3 ครั้งขึ้นไปภายใน 1 ปี จำนวน 16 คน คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) การสังเกต การบันทึกภาคสนาม และการบันทึกเทป นำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำ (Verbatim) นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ วงเวียนการตีความของ Van Manen (1990) ผลการศึกษา พบว่า ประสบการณ์ชีวิตของผู้ดูแลหลักผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรง ประกอบด้วย 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) มีชีวิตอยู่ได้ด้วยความอดทน 2) ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยต่อชีวิตของผู้ดูแลหลัก 3) ปรับตัวให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ และ 4) การจัดการต่อพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วย ผลการศึกษาดังกล่าว ทำให้เข้าใจในประสบการณ์ชีวิตของผู้ดูแลหลักผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรงอย่างลึกซึ้งมากขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสนับสนุนผู้ดูแลหลักในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรงตามสภาพบริบทของสังคมไทย | - |
dc.description.abstractalternative | Being the primary caregiver in violent schizophrenic persons would be affected all part of their lives. The psychiatric nurses must understand primary caregivers' lived experiences as databases before helping them. Therefore, this research aims to study lived experiences of primary caregivers in schizophrenic persons having violent behaviors using qualitative interpretive phenomenological method. The data were collected through an in-depth interview, observation, field notes, and tape recording in 16 samples of primary caregivers of schizophrenic persons, who had violences recorded at least 3 times/year. Then, the data were transcribed through verbatim transcription and analyzed by Hermeneutic circle (Van Manen, 1990). The results of this study could lead understanding of this objective study through 4 main themes: 1) Lived with endurance. 2) The impacts of schizophrenic persons’ violent behaviors on primary care givers' lives. 3) Adjusting for living together. 4) Schizophrenic persons’ violent behaviors managements. The results guide nurses and multidisciplinary teams to provide care to primary caregivers of violent schizophrenic persons. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.classification | Nursing | - |
dc.subject.classification | Human health and social work activities | - |
dc.subject.classification | Nursing and caring | - |
dc.title | ประสบการณ์ชีวิตของผู้ดูแลหลักผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรง | - |
dc.title.alternative | Lived experiences of primary caregivers in violent schizophrenic persons | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6470058536.pdf | 4.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.