Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84147
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เพ็ญวรา ชูประวัติ | - |
dc.contributor.author | ลัดดาพร สิมะรักษ์อำไพ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2024-02-05T09:54:16Z | - |
dc.date.available | 2024-02-05T09:54:16Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84147 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามแนวคิดผู้มีสุขภาวะทางจิตและ เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามแนวคิดผู้มีสุขภาวะทางจิต โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 58 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ดูแลงานวิชาการหรือคณะกรรมการวิชาการ และครูหรือจิตอาสาสอน ผู้ให้ข้อมูลมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 174 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามแนวคิดผู้มีสุขภาวะทางจิต ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน สภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนผู้สูงอายุตามแนวคิดสุขภาวะทางจิต คือ ด้านการวัดประเมินผล (PNImodified = 0.1111) มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงที่สุด และด้านการจัดการเรียนการสอน มีลำดับความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด (PNImodified = 0.0851) เมื่อพิจารณารายด้านของสุขภาวะทางจิต พบว่า ด้านความเป็นตัวของตัวเองหรือการมีอิสระแห่งตน (PNImodified = 0.1267) มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด และด้านที่มีค่าความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ ด้านการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น (PNImodified = 0.0802) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนผู้สูงอายุตามแนวคิดสุขภาวะทางจิต ประกอบด้วย 3 แนวทางหลัก 6 แนวทางย่อย และ 24 วิธีดำเนินการ ได้แก่ แนวทางที่ 1)พัฒนาการวัดและประเมินผล เพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุทางด้านความเป็นตัวของตัวเองหรือการมีอิสระแห่งตน การยอมรับในตนเองและการมีความงอกงามในตน ประกอบด้วย 2 แนวทางย่อย คือ 1) กำหนดแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุด้านความเป็นตัวของตัวเองหรือการมีอิสระแห่งตน และการยอมรับในตนเองและการมีความงอกงามในตนและ2) จัดทำเครื่องมือในการวัดและประเมินผล เพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุด้านความเป็นตัวของตัวเองหรือการมีอิสระแห่งตน การยอมรับในตนเองและการมีความงอกงามในตน แนวทางที่ 2) พัฒนาหลักสูตรที่เน้นสุขภาวะทางจิตด้านการมีเป้าหมายในชีวิต การมีความสามารถจัดการกับสิ่งแวดล้อมและการยอมรับในตัวเอง ประกอบด้วย 2 แนวทางย่อย คือ 1) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุด้านการมีเป้าหมายในชีวิต การมีความสามารถจัดการกับสิ่งแวดล้อมและการยอมรับในตัวเองและ2) กำหนดจุดมุ่งหมายหรือโครงสร้างของหลักสูตร สถานศึกษาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุด้านการมีเป้าหมายในชีวิต การมีความสามารถจัดการกับสิ่งแวดล้อมและการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น แนวทางที่ 3) ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนด้านความเป็นตัวของตัวเองหรือการมีอิสระแห่งตน การมีเป้าหมายในชีวิตและการยอมรับในตนเอง ประกอบด้วย 2 แนวทางย่อย คือ 1) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุด้านความเป็นตัวของตัวเองหรือการมีอิสระแห่งตน การมีเป้าหมายในชีวิตและการยอมรับในตนเอง และ2) จัดบรรยากาศการเรียยรู้ ที่เอื้อต่อการพัฒนาสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุด้านความเป็นตัวของตัวเองหรือการมีอิสระแห่งตน การมีเป้าหมายในชีวิตและการยอมรับในตัวเอง | - |
dc.description.abstractalternative | This research aimed to study the current state, desirable state and needs developing academic management of elderly schools and approaches for developing academic management of elderly schools in Bangkok and peripheries based on the concept of psychological well-being. The samples were 174 people including school directors, heads of academic department and elderly school teachers or teaching volunteer. Data were collected using an evaluation forms and questionnaire then analyzed by finding frequency, percentage, mean, standard deviation, priority needs index and content analysis. The results showed that learning process was at a high level in the current state and learning process was the highest level in desirable state. The first priority need of academic management of elderly schools in Bangkok and peripheries based on the concept of psychological well-being was measurement and evaluation(PNImodified=.1111), and the lowest priority is learning process(PNImodified=.0851). And the highest priority of psychological well-being was Autonomy(PNImodified=.1267) and the lowest priority was positive relations (PNImodified=.0802) with others. Approaches for developing academic management of elderly schools in Bangkok and peripheries based on the concept of psychological well-being consisted of 3 approaches consisted 6 sub approaches and 24 procedures as follows; 1) Develop measurement and evaluation to psychological well-being in Autonomy, Self-Acceptance and Personal growth and First sub-approach was determined the guideline for measuring and evaluating results to promoted psychological well-being of the elderly in autonomy, self-acceptance and Personal growth and another sub-approach was making the tools for measurement and evaluation that focuses on psychological well-being in autonomy, self-acceptance and Personal growth 2) Develop school curriculum to psychological well-being in Purpose in life, Environmental -mastery and Positive relations with others. First sub-approach was analysis of needs in curriculum development to improve psychological well-being in elderly and another sub-approach was develop a curriculum that focuses on psychological well-being in Purpose in life, Environmental -mastery and Positive relations with others. 3) Adjust learning process to psychological well-being in Autonomy, Purpose in life and Self-Acceptance. Sub-approach was organized learning activities to improve psychological well-being in elderly in Autonomy, Purpose in life and Self-Acceptance another sub-approach was provided learning atmosphere to improve psychological well-being in elderly in Autonomy, Purpose in life and Self-Acceptance. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.classification | Social Sciences | - |
dc.subject.classification | Education | - |
dc.subject.classification | Education science | - |
dc.title | แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามแนวคิดสุขภาวะทางจิต | - |
dc.title.alternative | Approaches for developing academic management of elderly schools in Bangkok and peripheries based on the concept of psychological well- being | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | บริหารการศึกษา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6480063927.pdf | 3.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.